Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ผมได้รับเกียรติจากสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ให้บรรยายเรื่องภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ ในหลักสูตรพัฒนานักบริหารการศึกษาระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (นศส.ศธ.)

สาระสำคัญ คือ

1. การคิดคือพลังของผู้นำ

2.การพัฒนาการคิดนอกกรอบและการคิดสร้างสรรค์

3.การใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า

4. บทบาทของผู้นำในการคิดสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จขององค์การ

5. การคิดนอกกรอบที่สะท้อนภาวะผู้นำ

6. การพัฒนาความคิดเพื่อการบริหารจัดการศึกษาของประเทศให้ทันสมัย

7. อื่นๆ เช่น ประสบการณ์ หรือแนวคิดของวิทยากร
ที่เป็นประโยชน์ต่อนักบริหาร

วัตถุประสงค์ของการเรียนวันนี้

1. เรียนรู้ความสำคัญของภาวะผู้นำ

2. เรียนรู้บทบาทของผู้นำในการคิดสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จขององค์การ
3. จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านเกิดพลังในการที่จะเป็นผู้นำความสำเร็จขององค์การด้วยการมีวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์คิดนอกกรอบได้

4. สร้างความเข้าใจวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำและวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ

5. สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน

6. สร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกัน

ผมจึงอยากให้ใช้ Blog นี้ในการแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันครับ




· เลขที่บันทึก: 507684 
· สร้าง: 05 พฤศจิกายน 2555 14:12 · แก้ไข: 05 พฤศจิกายน 2555 14:34
· ผู้อ่าน: 97 · ดอกไม้: 1 · ความเห็น: 5 · สร้าง: ประมาณ 19 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และคุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

 

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน  2555 เวลา 13.00 – 16.00 น.

ณ ห้องอาคมจันทสุนทร อาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ตำบลไร่ขิง      อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

 

การคิดนอกกรอบเป็นสิ่งที่สำคัญ บุคลากรของกระทรวงศึกษาต้องคิดนอกกรอบ ทำอะไรใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ไอนสไตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ของการคิดนอกกรอบ

สตีฟ จอฟส์  เป็นบุคคลที่สร้างการคิดนอกกรอบ และนวัตกรรม

 

วัตถุประสงค์ของการเรียนวันนี้

  1. เรียนรู้ความสำคัญของภาวะผู้นำ
  2. เรียนรู้บทบาทของผู้นำในการคิดสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จขององค์การ
  3. จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านเกิดพลังในการที่จะเป็นผู้นำความสำเร็จขององค์การด้วยการมีวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  4. สร้างความเข้าใจวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ และวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
  5. สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน
  6. สร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกัน

 

วิธีการเรียนรู้ของ ดร.จีระ

  • 4L’s
  • Learning Methodology  มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้
  • Learning Communities  สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
    • 2R’s
  • Reality - มองความจริง
  • Relevance - ตรงประเด็น

 

  • 2I’s
  • Inspiration – จุดประกาย
  • Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ
    • 3L’s
  • Learning from pain  เรียนรู้จากความเจ็บปวด หรือ ความล้มเหลว
  • Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์
  • Learning from listening  เรียนรู้จากการรับฟัง เช่น นางฮิลลารี คลินตัน เป็นคนทีรับฟังมาก
    • C – U – V
  • Copy
  • Understanding
  • Value Creation/Value added/ Value Diversity ในทางศึกษามีมากเพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่อาเซียน  ต้องเปลี่ยน Diversity ให้เป็น Harmony ให้ได้

 

วันนี้..เราเน้นเรื่องภาวะผู้นำ หรือ Leadership แต่จะเน้นเป็นพิเศษตามโจทย์ คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) กับ การคิดนอกกรอบ หรือ Thinking outside the box

 

Leadership ในมุมมองต่าง ๆ ตามแนวทางที่ผมใช้อยู่ ดังต่อไปนี้

1. Leaders / Managers

  • อย่าทำตัวเป็น Manager แต่ต้องทำตัวเป็น Leader
  • และต้องเป็นผู้นำ เน้นที่คน ต้องมองระยะยาว เน้นนวัตกรรม มองอนาคต

2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง  กรณีศึกษาจีน 5 รุ่น

รุ่นที่ 1 เมาเซอตุง

รุ่นที่ 2 เติ้ง เสี่ยว ผิง

รุ่นที่ 3 เจียง ซี มิน

รุ่นที่ 4 หู จิ่นเทา

รุ่นที่ 5 สิ จินผิง ต้องเก่งเรื่องเศรษฐกิจ+ ประชาธิปไตย ต้องมีการกระจายรายได้ ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

3 Leaders/Teachers ผู้นำต้องเป็นครูด้วย

4 Leaders ต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่  ขอแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ คือ Leaders at all Levels ของ Ram Charan

5 Leadership กับ Creativity การที่จะสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับลูกน้อง ลูกศิษย์เป็นสิ่งสำคัญ เป็นการสร้างประโยชน์ในทางศึกษาให้ดีขึ้น ซึงต้องกระตุ้นให้เด็กได้คิด วัฒนธรรมองค์กรต้องกล้าให้คนแสดงออก และต้องมีไอเดียใหม่ ได้มาจากการอ่านหนังสือมากขึ้น การมีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การออกนอกระบบ การออกไปเจอคนมากขึ้น  และประทะกับคนที่มีความสามารถ

จุดอ่อนของสังคมไทยในวันนี้
(1) เรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกันในองค์กร

(2) การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Top down อยู่ ซึ่งจะเน้น Command and Control หรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical
**Power มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับ

(3) ส่วนใหญ่ทำงานเยอะ Working แต่ Think Strategies (คิดเชิงยุทธศาสตร์มีไม่มาก)

(4) การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function  เพราะทำงานแบบ Silo มาก

Mind mapping และBlue Oceans เป็นวิธีที่สร้างความคิดสร้างสรรค์ที่ดี

 

6. Leadership กับ Thinking outside the box

 

ผู้นำกับการคิดนอกกรอบได้เพราะอะไร และต้องทำอะไร  แต่เท่านี้ไม่พอ เพราะแค่คิดไม่ได้ ต้องเอาไปทำด้วย Creativity + Thinking outside the box + Get things done

Inside the box คือ วิธีการทำงานแบบเดิม ทำงานซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งมีประโยชน์ในอดีต แต่ในปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว หากกฎระเบียบทำให้ Performance ในการเรียนมีปัญหา จึงค่อยๆคิดให้ออกนอกกรอบ ขอแนะนำหนังสือ Break on the Rule และมีกฎ Paradigm Shift คล้ายกับการคิดนอกกรอบ การแหวกวงล้อมที่มองเห็น และมองไม่เห็น คือ intangible หรือ วัฒนธรรมองค์กร

การออกนอกกรอบ ต้องไม่ออกเร็วเกินไป ต้องมี Basic เป็นคนดี คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นเรื่อง  Inside the box ให้แน่นก่อน ศึกษาทุกอย่างก่อน ต้องเน้นทฤษฎี 2 R

Thinking outside the box คือ พยายามหลุดจากพันธนาการที่มีอยู่ แต่คิดอย่างเดียวไม่พอ ต้องคิดแล้วไปทำด้วย คือ ต้อง Realistic และ Practical

 

อุปสรรค คือ

  1. ไม่กล้าคิดนอกกรอบ กลัวจะถูกมองว่าผิด (Fear)
  2. วัฒนธรรมองค์กรไม่เอื้ออำนวย
  3. ตัวเองไม่รู้ตัวเอง ไม่ใฝ่รู้ ไม่เปิดกว้าง (Openness)
  4. ขาด Role Model ที่ดี
  5. ขาด Teamwork ที่ดี
  6. ขาด Incentives แรงจูงใจ ที่เหมาะสม

 

วิธีการทำให้เกิดขึ้น ก็คือ

  1. ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี และเป็น Gardener ที่ดี ต้องมีการพรวนดิน รดน้ำ เอาใจใส่
  2. สนับสนุนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เสมอ และยกย่องให้เกียรติ (respect)
  3. เน้นคุณค่า(Value) ของความคิดใหม่ ๆ ที่หลุดจากแนวเดิม ๆ และนำไปปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะเกิดในบรรยากาศที่เอื้ออำนวย บรรยากาศสะดวกสบาย
  4. มีแนวทางใหม่ ๆ หรือ New Perspective ที่ไม่ใช่งานประจำ หรือ day to day หรือทำงานแบบเสมียน
  5. พร้อมจะนำเอาความคิดไปทำให้เกิดมูลค่าแบบ 3 V

Value added การทำอะไรแล้วได้มูลค่าเพิ่มขึ้น

Value Creation ความคิดใหม่ๆ เชื่อมโยงกับ Thinking outside the box

Value Diversity ความหลากหลายในระบบการศึกษา เช่น คนในระบบการศึกษา บทบาทของหญิง และชาย ความคิดที่แตกต่าง  ความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม

 

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

1 where are we  สำรวจความเป็นผู้นำ ซึ่งหาได้จากทฤษฎี 8K 5K

  • ผู้นำต้องมีความฉลาดหลักแหลม
  • ผู้นำต้องมีความยุติธรรม และมีเหตุมีผล สั่งการได้
  • ผู้นำต้องมีความเสียสละ
  • ผู้นำต้องมีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว
  • ผู้นำต้องมีความคิดริเริ่ม
  • ผู้นำต้องมีความมานะ บากบั่น
  • ผู้นำต้องมีความสนใจและใส่ใจการศึกษา
  • ผู้นำต้องผู้นำต้อง ความซื่อตรง
  • ผู้นำต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

การคิดนอกกรอบ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากความรู้ที่เรามี และ จินตนาการ

2. Where we want to go  แต่ละท่านมีจุดอ่อน จุดแข็งต่างกันไป

- บุคลิกดี

- ลีลาการพูดดี

- มีสมาธิ

- มีความสามารถในการจดจำ

ความคิดสร้างสรรค์ มาจากความคิดริเริ่ม

กลยุทธ์ในการบริหารความเป็นผู้นำ  คือ Reality และ Practical ต้องดู SWOT จุดอ่อน จุดแข็ง ดูเรื่องที่เราเชี่ยวชาญก่อน เลือกศึกษาเรื่องทีเป็นจริง และ เรื่องที่ตรงกับงาน

การกระจายรายได้ และใช้อินเตอร์เน็ตในการศึกษา เรื่องนี้กระทรวงศึกษาควรนำมาคิดต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์

ผู้นำ หากไม่มีความใฝ่รู้ จะเป็นผู้นำลำบาก

 

ให้แต่ละกลุ่มวิจารณ์ 1 ประเด็นหลังจากฟังการบรรยาย

 

กลุ่ม 1 มองว่าในปัจจุบัน หน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งมีกฎระเบียบมากกมาย มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ซึ่งเป็นกรอบที่ทำให้ปฏิบัติตาม การทำให้ออกนอกกรอบ ผู้บริหารต้องรับฟัง

 

กลุ่ม 2 เห็นด้วยกับการคิดนอกกรอบ แต่ในราชการตอนนี้เป็นการคิดก้าวกระโดดเร็วไป เพราะในกรอบก็ยังไม่พร้อม

 

กลุ่ม 3 การคิดนอกกรอบเป็นเรื่องที่ดี ภาคของโรงเรียนทำได้เยอะ ไม่จำเป็นต้องทำในกระทรวงเท่านั้น อยากให้มีคำว่า ต้องทำได้จริง และลงมือทำ  และต้องแสวงหาโอกาสที่จะทำด้วย เพื่อให้มีประโยชน์กับสังคม ต้อง Outside in และ Inside out

 

กลุ่ม 4 การคิดนอกกรอบต้องดูความเหมาะสมกับบริบทของทั้งองค์กร มีความละเอียดอ่อน และผู้ที่ตัดสินความถูกต้องจะมีคุณธรรมเพียงพอหรือเปล่า

 

กลุ่ม 5 สนใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านยุคผู้นำของจีน แต่วัฒนธรรมการศึกษาของไทยมักจะอิงทางการเมือง คนคิดนอกกรอบมักจะโต แต่คนที่โตคือคนที่ทำตามคนอื่น

 

กลุ่ม 6 ทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งการคิดนอกกรอบมีทั้งบวกและลบ ทางบวกคือเกิดให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และสังคมยอมรับ

 

Workshop

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)
  2. ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ 1เรื่อง
  3. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

Workshop

กลุ่ม 1

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

ระดับ 5.8 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง)

และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

ปัญหา

1.นโยบายที่ไม่เอื้อต่อการคิดนอกกรอบ

2. ไม่มีแรงจูงใจ

3. ไม่กล้าที่ตะคิดนอกกรอบ

สาเหตุ

1. ภาวะที่ขาดองค์ความรู้

2. วัฒนธรรมที่ให้คิดนอกกรอบไม่มีการเอื้อ

3. ความตั้งใจในการกำหนดเป้าหมายไม่เพียงพอ

ตัวอย่างที่ล้มเหลว

1. การปฏิรูประบบราชการ เนื่องจากการทำงานทีซ้ำซ้อน

ตัวอย่างที่สำเร็จ

การจัดหลักสูตรที่เป็นไปตามบริบทของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ เช่น ชาวเขา มอร์แกน

 

3. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

โครงการจอมยุทธ์ไร้เทียมทาน ต้องการพัฒนาคนในองค์กรทังหมดเพื่อให้ทักษะ และความสามารถในการคิดนอกกรอบทั้งผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติ

ดร.กระจ่าง: ที่ท่านบอกว่าขาดแรงจูงใจ แต่แรงจูงใจเกิดจากภายใน

โครงการของท่านรกว้างเกิดไป ผิดธรรมชาติขิง Creativity

คนแรกจะจุดประกาย คนที่ 2 เป็นทำ คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่ 3 ประเทศไทยต้องเอาที่คิดแล้วและจึงนำมาต่อยอด

คุณพิชญ์ภูรี:  กลุ่มนี้มีความกล้าหาญเพราะดึงปัญหา และหาต้นเหตุเจอ ความซ้ำซ้อนทางภารกิจ ต้องบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ต้องทำการบริหารเครือข่าย ต้องอย่าเอาคนเก่งเรื่องเดียวกันมาไว้กลุ่มเดียวกัน และสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์

ศ.ดร.จีระ: ต้องสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานข้างนอกถึงจะดี

กลุ่ม 2

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

คะแนนเฉลี่ย 7 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

ปัญหา

1.กฎระเบียบจำกัด

2.ผลการประเมิน

3. เวลาเข้างาน

  1. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

พัฒนาความรู้ และดูว่าต้องมีความมุ่งมั่น

การคิดนอกกรอบเป็นรางวัลของความภาคภูมิใจ และประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน

ดร.กระจ่าง: กลุ่มนี้ไม่ได้คิดนอกกรอบเลย

คุณพิชญ์ภูรี: ปัญหาการเข้างานเลือนเวลาเข้างาน เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งใกล้กับการคิดนอกกรอบ  ต้องเริ่มที่ตนเอง ต้องทำให้สำเร็จ

ศ.ดร.จีระ: ขอให้กำลังใจในการพยายามเอาชนะอุปสรรค ขอให้มีความมุ่งมั่นต่อไป และทำงานเพื่อส่วนรวม  เรียกว่าทฤษฎี  3 ต  คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

กลุ่ม 3

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

ระดับ 6 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

ปัญหา

กฎระเบียบข้อบังคับ

ตัวผู้บริหารสั่งการแต่ไม่รับฟัง

สาเหตุ

วัฒนธรรมองค์กร

ล้มเหลว

การกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษาเพื่อให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล

สำเร็จ

การปฏิบัติงานของกศน. เพราะสามารถสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

การบรรจุพนักงาน 8000 อัตรา

  1. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

โครงการสรรหาครูผู้ช่วยเองได้  ต้องสอบที่ส่วนกลาง และให้อำนาจกับโรงเรียนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎระเบียบ  ยึดเป้าหมายเป็นหลัก อุปสรรคไม่มี

ดร.กระจ่าง: เป็นการริเริ่ม และควรต่อยอดวิธีการใหม่

คุณพิชญ์ภูรี: กลุ่มนี้ขอชื่นชมเรื่องกศน. เพราะเป็นการศึกษาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ เพราะเป็นการเรียนรู้นอกระบบ ต้องคิดนอกกรอบออกไป  จุดแรงบันดาลใจในการนำไปคิดต่อ

ศ.ดร.จีระ: แผนพัฒนาแห่งชาติ 11 เป็น Life- long learning society  ในอนาคต กศน.จะมีความสำคัญมาก และควรศึกษา  Educational Strategic Plan

ต้องมีความมุ่งมั่น และพึ่งตนเอง

ประเด็นที่สำคัญ Life- long learning เมื่อถึงอายุ 45 ปี จะประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ และจะ Survive ได้หรือไม่

กลุ่ม 4

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

ระดับ 6 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

ปัญหา

1. ระเบียบปฏิบัติ

2. วัฒนธรรมองค์กร

3, ความไม่กล้า ความกลัว

อุปสรรค

- การจัดสรรงบประมาณ การคิดและการได้มาต่างกัน

- การจัดสรรไม่สามารถคิดต่อเนื่องได้

  1. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

องค์กรต้นแบบคิดนอกกรอบ ต้องแสวงหาองค์ความรู้ของการคิดนอกกรอบ  อ่าน สังเคราะห์ หาข้อสรุป ศึกษาดูงาน  และสังเคราะห์ว่าเป็นอย่าวงไร และสร้างอาสาสมัคร

ดร.กระจ่าง: เป็นโครงการที่ดี แต่ความคิดสร้างสรรค์จะคิดจากคนที่กล้าทำ อย่ารอ

คุณพิชญ์ภูรี: ชอบกลุ่มนี้เพราะสามารถคิดได้ในระยะเวลาที่สั้น มีความรอบคอบในการนำเสนอโครงการ และยอมรับในการใฝ่หาองค์ความรู้ และสังเคราะห์ข้อมูล และเชิญชวนให้คนเข้ามาร่วม

ศ.ดร.จีระ: กลุ่มนี้แสดงให้เห็นถึงความคิดนอกกรอบ มีศักยภาพ แต่สภาพแวดล้อมมักจะไม่เอื้ออำนวย มักจะเกิดเป็นความเคยชิน อยากให้เกิดความหลากหลายของความคิด

 

กลุ่ม 5

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

ระดับ  5.5 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

ปัญหา

1. ผู้นำที่ขาดภาวะผู้นำ

สาเหตุ ตอนนี้มีปัญหาเรื่องการที่ครูที่จ้างเป็นครูชั่วคราวเงินกู้หมด ใช้เกินงบประมาณมาเป็นเงินจ้าง ตั้งหน่วยงานกลาง โดยทำสัญญาจ้างโดยสหวิทยาเขต

ล้มเหลว การที่มีครูอัตราจ้างมี คุณวุฒิต่ำกว่าเกณฑ์

  1. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

โครงการ อบรมครูผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำมาขึ้น

อ.กระจ่าง ท่านต้องรู้เก่าให้ทะลุก่อนถึงจะเริ่มใหม่ได้ และต้องกล้าทำ

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องบูรณาการกันเอง

อ.จีระ Creativity และ Think outside the box เป็นเรื่องเดียวกัน ต้องทีความคิดทางวิทยาศาสตร์ต้องมาก่อน ต้องคิดเป็นเหตุเป็นผลก่อน ถึงจะมองเห็นภาพทางความคิดสร้างสรรค์

ปัญหาเด็กไทยที่คิดไม่เป็นระบบมากกว่า 50% เพราะเข้าไปในระดับมหาวิทยาลัยแล้วมีปัญหา แต่เราสารถเรียนตลอดได้เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่เราขาด การที่กล่าวว่า Imagination Important

กลุ่ม 6

  1. ลองสำรวจระดับภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาในกลุ่มของท่านอยู่ในระดับใด (ให้คะแนน 0 – 10)

ระดับ   5.9 คะแนน

  1. ปัญหาที่พบจากการที่ขาดภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบคืออะไร (3 เรื่อง) และต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น คืออะไร? ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อย่างละ  1เรื่อง

1.สาเหตุที่เราขาดภาวะผู้นำเพราะเราไม่ได้ฝึกมา ได้แต่ทำตามตำรา เราไม่ได้ถูกฝึกเลย โดยมาเกิดจากการทำงานแล้วพัฒนาไปเอง

2. ขาดความรอบรู้ในเรื่องที่ทำงานไม่แตก กฎระเบียบยังรู้ไม่ทั่ว

3. กลัวความผิดพลาด

สาเหตุ ไม่ได้ฝึกเรื่องภาวะผู้นำตั้งแต่เด็ก แต่การมาทำงานกลับต้องมีภาวะผู้นำ

สำเร็จ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เป็นโรงเรียน Bi lingual

  1. เสนอโครงการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำกับการใช้ความคิดนอกกรอบที่เหมาะสมกับกลุ่มของท่าน 1 โครงการที่ปฏิบัติได้ พร้อม Action Plan

โครงการ วิธีการที่มีส่วนร่วมแบบใหม่โดยการที่ให้ทุกส่วนมาพัฒนาเยาวชนให้มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน

อ.กระจ่าง: ความคิดใหม่อยู่ใต้จิตสำนึก  และต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน เอาใจใส่ต่อคำพูด

คุณพิชญ์ภูรี: เรียนรู้ว่าต้องเสียสละ ในการที่จะให้คนพูดเก่งพูด และได้ใช้ความคิดริเริ่มในการใช้จิตใต้สำนึก จากองค์ความรู้ จากจินตนาการ ต้องสนใจในข้อมูลต่างๆ ใช้ความซื่อตรง ต่อตนเองและผู้อื่น ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ศ.ดร.จีระ: ทำอย่างไรให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศดีขึ้น

วันนี้มีบรรยากาศการเรียนรู้ทีดี สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ไปทำเป็นมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร  สิ่งที่เอาชนะอุปสรรคได้ ต้องทำให้คนกลุ่มนี้เกิดความร่วมมือกัน

อ.สมโภช:  เมื่อคิดนอกกรอบในระบบราชการ ต้องมีความกล้า และอาจจะมีความกลัว จึงไม่กล้าทำอะไร  ที่สำคัญใจของท่านต้องคำถึงกาทำงานให้ประสบความสำเร็จ และไม่ผิดระเบียบ เวลาทำงานอะไรต้องเริ่มที่ 1 2 3ทำแล้วได้อะไร และผลงานให้กลับใครแต่หลังจากฟังบรรยายแล้วความคิดก็เปลี่ยนไป ควรทำเป็น 3 2 1 ทำให้ทำงานประสบความสำเร็จ

 

 

บทความของ ผศ ทิพยวรรณ นิลทยา

พิมพ์ PDF

 

การเรียนจากประสบการณ์ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์

(ขอนำบทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา ใน www.gotoknow มาเผยแพร่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องต่อเนื่องของผู้นำ ที่ผมนำบทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเผยแพร่ก่อนหน้านี้)

 

ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง ภาวะผู้นำกับการพยาบาล

โดย ศาสตราจารย์ ดร นพ กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 (บทความของ ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา)

 

บรรยายให้กับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ได้ฝึกให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 เป็นพิธีกรแนะนำวิทยากร

นักศึกษาสามารถดำเนินการได้ดีจนเป็นที่ประทับใจวิทยากร

 

อาจารย์เล่าให้นักศึกษาฟังว่า สมัยเด็กอาจารย์ถูกครูลงโทษ ทำให้ไม่ไปโรงเรียน ต่อมาช่วยงานที่บ้าน เลี้ยงเป็ด

เมื่ออายุ9 ปีไป ทำงานขายของที่ร้านคนจีนทั้งปี 40 บาท

ปีที่ 2 ทำงานทั้งปี มีรายได้ 60 บาท

สรุแล้ว สองปีที่ทำงานมีรายได้ 100 บาท

ในระหว่างที่ฝึกงานเถ้าแก่มีถังน้ำ อาจารย์ต้องหิ้วน้ำไปขายบริเวณสถานีรถไฟ ขายขันละ 5 สตางค์  บางครั้งรถวิ่งออกไปแล้ว อาจารย์จะาจารย์ต้องมีการสิ่งตามรถเพื่อขอขันคืน อาจารย์จึงเล่าว่าอเก่งเรื่องวิ่งขึ้นลงรถไฟ

ต่อมาอาจารย์ย้ายไปอุดร ธานีขายกะปิ น้ำปลา

อาจารย์ว่าประสบการณ์ดังกล่าวอาจารย์โชคดี

เพราะการทำงานคือ การเรียนหนังสือ

 

ที่สำคัญ อาจารย์ส่งหนังสือพิมพ์ที่อินทรอำรุง ครูเจริญ ปราบณศักดิ์ ใช้อาจารย์ไปซื้อบุหรี่ อาจารย์ชอบรับใช้ อยู่มาวันหนึ่ง คุณครูถามอาจารย์เรื่องการเรียน เสนอให้อาจารย์เรียน เข้าเรียน ม 1 ครูใหญ่ช่วยให้ครูสอนกวดวิชาให้ คนรูที่สอนบอกครูใหญ่ว่า อาจารย์เรียนไม่ได้ อาจารย์กล่าวว่าครูเจริญเป็นครูที่มีความเมตตา อาจารย์ใหญ่เจริญจึงสอนให้เอง ทำให้อาจารย์ผ่าน ม 1 ได้

อาจารย์ได้ให้นักศึกษารำลึกถึงภาวะผู้นำของครูเจริญด้วยการปรบมือให้

การทำงานคือการศึกษา

 

เมื่ออยู่ ม 4 อาจารย์พบผู้แทนราษฎรมาหาเสียง ผู้แทนฯเลยชวนอาจารย์ไปอยู่กรุงเทพ ขึ้นรถไฟไปกรุงเทพด้วยกางเกงขาสั้น ไม่สวมรองเท้า อยู่กับ สส ท่านทำงานทุกอย่างในบ้าน สส ได้ฝากให้ท่านเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ ชั้น ม 5 ครูกวี พันธ์ปรีชา

สอบ ม 6 เข้าโรงเรียนเตรียมได้เลือกให้เป็นประธานนักศึกษาจบได้โล่พระเกี้ยวทองคำ จากนั้นเข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาสอบข้ามฟากเรียนที่ศิริราช ตอนกลางคืนสอนติวที่สี่พระยาจนจบแพทย์ศิริราช

อาจารย์เล่าว่าเมื่อจบแล้วกลับไป เริ่มต้นชีวิตทำงานที่เมืองพลบ้านเกิด ทำงานที่สุขศาลา บ้านไม้มีเจ้าหน้าที่เรียกว่าสารวัตรสุขาภิบาลฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาจารย์จึงได้รับรางวัลแมกไซไซ โนเบลของเอเชีย ได้รับเครื่องราชย์จากจักรพรรรดิญี่ปุ่น

 

อาจารย์เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย 3 แห่งดังนี้

1.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

2.มหาวิทยาลัยนเรศวร

3.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

ประสบการณ์สอนให้เกิดการเรียนและสร้างภาวะผู้นำของอาจารย์ ดังนี้

  1. เรื่องการทำงานให้ทุ่มเทกับการทำงาน การรู้เรื่องงานเป็นการเรียนที่ไม่เป็นทางการ
  2. ภาวะผู้นำไม่เกี่ยวกับขาว ดำ อายุมาก น้อย แต่เกี่ยวกับประสบการณ์

บันได 3 ขั้น ของภาวะผู้นำประกอบด้วย

1.  ภาวะผู้นำรุ้จักเพิ่มค่าความหมายให้คนอื่น ยกย่องให้เกียรติ เช่น การดูแลผู้ป่วยที่อายุมาก ด้วยการสวัสดี ขอโทษ เป็นสิ่งที่ต้องสะสมไว้

จากการเยี่ยมโรงพยาบาลของญี่ปุ่น มีการสร้างคุณค่าหลังจากการออกกำลงกาย สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอโทษค่ะ ขอให้โชคดีค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ

2.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับงานที่เราทำ จากการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

3.  เพิ่มค่าและความหมายให้กับตนเองเสมอๆช่วยเหลือผู้อื่นสังคม ด้วยการศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองตลอดเวลา

 

อาจารย์มีแนวทางพัฒนานักศึกษาให้เกิดภาวะผู้นำโดย F4

FOCUS FLEXIBLE FAIR FUN

ท้ายที่สุด อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษามาเล่าเรื่องสรุปที่อาจารย์บรรยาย และแสดงความคิดเห็นพร้อมมอบรางวัลเป็นหนังสือ

นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นสรุปบทเรียนและแสดงความคิดเห็น

สรุปว่า ตัวแทนนักศึกษาดังกล่าวสามารถแสดงบทบาทภาวะผู้นำทางการพยาบาลจากการรับฟังแนวคิดของอาจารย์ในวันนี้ ที่สำคัญคือ เห็นแรงจูงใจของนักศึกษาในการทำความดีเพื่อเป็นคนดีเหมือนวิทยากร

เช่่นนี้ ย่อมบรรลุวัตถุประสงค์ของการบรรยายพิเศษวันนี้อย่างเป็นธรรมชาติดีแท้

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2016 เวลา 16:05 น.
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

คำนิยม หนังสือ โคงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย บทความของ อาจารย์วิจารณ์ พานิช

รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ส่งต้นฉบับหนังสือมาขอให้เขียนคำนิยม  อ่านครั้งแรกหนักใจ ไม่รู้จะเขียนอย่างไร  พออ่านรอบสองก็ได้แนวยุทธศาสตร์การเขียน  กลายเป็นการเขียนคำนิยมที่สนุกที่สุดชิ้นหนึ่ง  โปรดอ่านเอาเอง ว่าผมสนุกอย่างไร

 

คำนิยม

หนังสือ โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย

โดย สุธีระ ประเสริฐสรรพ์

วิจารณ์ พานิช

……………

 

ผมอ่านต้นฉบับหนังสือ โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทยโดย รศ. ดร.  สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ แล้วสรุปกับตนเองว่า นี่คือคำอธิบายขั้นตอนของการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ ที่เรียกว่า constructivism นั่นเอง

ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือเป็นธรรมชาติที่สุด เป็นการเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนตั้งหน้าตั้งตาขวนขวายสร้างความรู้บรรจุลงในสมองของตนเองแบบไม่รู้ตัว จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

แตกต่างจากการเรียนรู้แบบมุ่งรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปจาก “ผู้รู้” ที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน

ผมแปลกใจที่ดร. สุธีระเขียนในตอนท้ายของหน้า ๒๕ ว่าตนเหนื่อยกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นผมกลับมองว่าดร.สุธีระสนุกสนานกับการกลั่นหรือตีความ “ปฏิเวธ” ของตนออกมาเป็น  “ปริยัติ” ใหม่คือหนังสือเล่มนี้

ผมมีความเชื่อว่าคนที่ไม่เคยเรียนรู้จาก “โครงงานฐานวิจัย” จะไม่กล้าเขียนหนังสือแบบนี้และมีความเชื่อต่อไปอีกว่าคนที่ไม่คุ้นกับการเรียนรู้แบบ “โครงงานฐานวิจัย” หรือเรียนรู้แบบสร้างความรู้จะอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่รู้เรื่องหรือรู้เรื่องก็รู้แบบไม่รู้จริงและผมเองก็ไม่กล้าอ้างว่าอ่านแล้วรู้เรื่องตามที่ดร.สุธีระอยากให้เข้าใจ

กล่าวใหม่การเรียนรู้แบบที่ดร.สุธีระพยายามอธิบาย (จนเหนื่อย) ในหนังสือเล่มนี้เป็นการเรียนรู้แบบยกกำลังสองคือเรียนรู้ทั้งสาระหรือทักษะเรื่องนั้นๆและเรียนรู้หรือฝึกทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันได้ทั้งทักษะด้านนั้นๆและทักษะการเรียนรู้

นี่คือการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑

การเขียนคำนิยมให้แก่หนังสือที่ดร. สุธีระเขียนนี้ผมสนุกมากและได้เรียนรู้มากเพราะต้องเขียนแบบ “ไม่กลัวผิด”  คืออ่านต้นฉบับแล้วก็ตีความเอาเองว่าผู้เขียนต้องการบอกอะไรแล้วเขียนเพื่อบอกผู้อ่านว่าเมื่ออ่านและตีความเช่นนี้แล้วผมอยากบอกอะไรแก่ผู้อ่าน

ผมหวังว่าท่านผู้อ่านจะสนุกและได้ความรู้ยกกำลังสองของที่ผมได้คือได้แนวความคิดว่าการเรียนรู้นั้นไม่ใช่การรับถ่ายทอดความรู้ของผู้อื่นมาใส่สมองของเราทั้งดุ้นเรายิ่งมีต้นทุนความรู้และมีทักษะในการเรียนรู้มากเพียงใดเราจะยิ่งตีความแตกต่างจากต้นฉบับมากเพียงนั้น

เมื่อไรก็ตามที่เรากล้าแตกต่างกล้าบอกว่าเราเข้าใจหรือตีความเรื่องนั้นๆเหตุการณ์นั้นๆว่าอย่างไรโดยไม่กังวลว่าที่เราเข้าใจจะแตกต่างจากที่คนอื่นเข้าใจนั่นคือเครื่องพิสูจน์ว่าเรามีวิทยายุทธว่าด้วยการเรียนรู้พอใช้ได้แล้ว

แต่จริงๆแล้วกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้หยุดอยู่ที่การสร้างความรู้แต่ต้องโยงไปสู่การใช้ความรู้ด้วยดังระบุไว้ในหนังสือหน้า๘ ที่รูปปิรามิดการเรียนรู้และที่หน้าสุดท้ายแม้ว่าความรู้เป็นสากล  แต่การใช้ความรู้มีบริบท

จึงน่าจะสรุปได้ว่าการเรียนรู้จากโครงงานฐานวิจัยเป็นการเรียนรู้สองฐานคือฐานสากลกับฐานบริบทไปในเวลาเดียวกัน

กล่าวใหม่ในสำนวนบู๊ลิ้มเคเอ็ม(การจัดการความรู้) ว่า  การเรียนรู้ที่แท้จริงต้องเรียนให้ได้ทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge ในเวลาเดียวกันหรือควบคู่กัน  และเมื่อทักษะแก่กล้า ก็จะสามารถเรียนรู้แบบใช้ให้ Tacit Knowledge กับ Explicit Knowledge มันยกระดับซึ่งกันและกัน  ในลักษณะของการหมุนเกลียวความรู้  เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด

ผมขอขอบคุณ รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ แทนประเทศไทย  ที่เขียนหนังสือโครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทยออกเผยแพร่  หนังสือเล่มนี้จะมีคุณูปการสูงยิ่งในการร่วมผลักดันการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย  นักการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ๓ จบ โดยแต่ละจบจับใจความแตกต่างกัน

 

 

วิจารณ์  พานิช

๘ กันยายน ๒๕๕๕

บนเครื่องบินกลับจากซิดนีย์

 

ปัญหาและอุปสรรคของคนทำความดี

พิมพ์ PDF

ทำความดีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและสังคมในประเทศไทยต้องมีความอดทนสูง ปัญหาที่คนดีๆมีกำลังช่วยสังคมและประเทศชาติต้องเลิกล้มความคิดเพราะข้าราชการที่มีความสำนึกต่ำเอาแต่ความชอบไม่ทำอะไร ไม่ใช่สมองทำงาน

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 4 ปี โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการ สร้างคนให้มีคุณค่า เพื่อรองรับภาคธุรกิจ หลังจาก 4 ปีในการสร้างเครือข่าย คณะกรรมการตกลงที่จะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลและดำเนินการต่างๆเป็นเวลา เกือบ 4 เดือนจึงสามารถยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิกับเขตหลักสี่ ก่อนที่จะผ่านด่านนี้ต้องใช้เวลาเกื่อบเดือนในการแก้ไขข้อบังคับ จัดเตรียมเอกสารต่างๆในการจดทะเบียน ทางเขตหลักสี่ไม่มีแบบฟอร์มหรือเอกสารใดๆที่จะส่งมอบให้ผู้แจ้งความจำนงในการขอจดทะเบียน เจ้าหน้าที่ บอกสิ่งที่ผู้ขอจดทะเบียนด้วยวาจา และถ่ายเอกสารตัวอย่างบางเรื่องให้ แต่ไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ จึงทำให้ต้องเสียเวลาไปพบเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 ครั้ง จนสามารถยื่นเอกสารได้ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เขตหลักสี่ได้ส่งเรื่องไปให้ สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง  (วังไชยา ) กระทรวงมหาดไทย

ประมาณเกือบ 2 อาทิตย์ ได้รับโทรศัพท์แจ้งจากเจ้าหน้าที่สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมปกครอง แจ้งให้ไปพบเพื่อชี้แจงเรื่องเอกสารที่ส่งไปขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อไปพบ ก็แจ้งว่าในข้อบังคับที่เขียนไว้ เรื่องกรรมการ ทำให้สับสน และให้ไปจัดทำใหม่ตามตัวอย่างที่ให้มา จึงได้นำมาพิมพ์ใหม่ให้เป็นไปตามตัวอย่าง และได้ส่งไปให้เจ้าหน้าที่พิจารณา ปรากฎว่ามีการพิมพ์ตกหล่น ต้องนำมาแก้ไขใหม่ ในที่สุดต้องใช้เวลา 3 วันก่อนที่จะแก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้อง และส่งให้เจ้าหน้าที่ได้ หลังจากนั้นได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นอีกว่า ที่อยู่ของสำนักงานมูลนิธิที่ระบุในข้อบังคับ ไม่ตรงกับสำเนาเอกสารใบทะเบียนบ้าน ( ที่อยู่ที่พิมพ์ไว้ในข้อบังคับเป็นที่อยู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าในสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งทางเขตเองได้มีการแก้ไขเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อการขยายตัวของบ้านเมือง แต่ไม่ได้เปลี่ยนสมุดทะเบียนบ้านให้ ใช้แค่หมึกเขียนเพิ่มในสมุดทะเบียนแต่ไม่มีรายละเอียดพอ เรื่องนี้เป็นเรื่องของทางการเอง แต่ก็โยนให้ประชาชนต้องเดือดร้อน โดยการต้องเสียเวลาในการนำไปแก้ไขให้ตรงกับเอกสารที่ไม่ทันกับปัจจุบัน) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้โทรแจ้งผมว่าเอกสารทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว จะทำเรื่องส่งให้วันนี้ (ศุกร์ที่ 2 พ.ย.2555)

วันเสาร์ที่ 3 ได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ท่านเดิมโทรมาหา และขอโทษว่าได้ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย เขาแจ้งว่า ตามหนังสือคำมั่นสัญญา ที่ผู้แจ้งความจำนงบริจาคเงินจำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เพื่อเป็นทุนจัดตั้งมูลนิธิ จำนวน 23 ท่าน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน)  พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ไม่เพียงพอเพราะไม่เชื่อว่าผู้ให้คำมั่นสัญญานั้นมีฐานะมั่นคงเพียงพอหรือไม่ จึงต้องให้ส่งหลักฐานการเงินของแต่ละท่านไปให้

ผมว่าเป็นความซื่อบื้อของนิติกรท่านนั้น เป็นการทำงานแบบไม่ใช้สมอง เอาแต่ความสบายของตัวเอง ไม่ให้บริการหรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มีความตั้งใจทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ  ผมกำลังขอ ชื่อ และ นามสกุลของท่านผู้นั้นอยู่ และคิดว่าจะโทรหานิติกรผู้นั้นหรือหัวหน้าเพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงว่า ปัญหาจริงๆอยู่ที่ไหน ควรจะแก้ไขอย่างไร หรือปล่อยให้เป็นแบบนี้

ไม่ใช่ว่าผมจะต่อต้านหรือไม่ยอมปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ ผมเป็นคนมีเหตุผล ไม่ต้องการให้สิ่งผิดๆผ่านไป และทำกันโดยความเคยชิน มักง่ายเอาแต่ความสบายของตัว โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนและวุ่นวายจากคนที่เขามีความตั้งใจทำความดี เพราะถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ คนดีๆพร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติก็จะหมดความอดทนเลยไม่อยากเปลืองตัวและเปลืองเวลากับสิ่งไร้สาระ

ข้าราชการต้องเป็นผู้ให้บริการประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ ไม่ใช้คอยแต่จะสร้างเงื่อนไข และความยุ่งยากเกินความจำเป็น

ขอให้พิจารณา ข้อบังคับด้านล่างที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับเอกสารคำมั่นในการบริจาคเงินทุนในการจัดตั้งมูลนิธิ เพราะถ้าผู้ที่ออกหนังสือคำมั่นบริจาคเงินไม่ทำตามหนังสือคำมั่น มูลนิธิที่ได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนก็ต้องสิ้นสุดการเป็นมูลนิธิ

ท่านนิติกรผู้นี้ดูหมิ่นประชาชนที่มีความตั้งใจบริจาคเงินเพื่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ผมคิดว่าผมทนไม่ได้ น่าจะฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาทให้เข็ด

ข้อความในกฎข้อบังคับมูลนิธิ

 

ข้อ 41 การสิ้นสุดของมูลนิธินั้นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้

41.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว ไม่ได้รับทรัพย์ตามคำมั่นเต็มจำนวน


 

 

แผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬา

พิมพ์ PDF

แผนพัฒนาทุนมนุษย์

•แผนเตรียมความพร้อมเร่งด่วน
•เน้นให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสร้างศักยภาพ
ในการแข่งขันแก่กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ ภาคธุรกิจ SMEs และภาคท้องถิ่น
•แผนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน
•เน้นการสร้างบุคลากร และการสร้างองค์ความรู้
ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา
แผนพัฒนาทุนมนุษย์เตรียมความพร้อมเร่งด่วน

หลักการและเหตุผล

เป็นแผนการพัฒนาอย่างเร่งด่วนสำหรับทุนมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวและ
มีกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาจะเป็นบุคลากรที่มาจากหน่วยงานทั้งฝ่าย
ที่ออกนโยบาย และฝ่ายที่รับนโยบายมาปฏิบัติ ซึ่งจำต้องมีความรู้ และความเข้าใจพื้นฐานถึงแนวทางการบริหารจัดการอย่างเป็นเลิศในด้านต่างๆ รวมถึงแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชน ผู้ประกอบการ ชุมชน และท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เพื่อนำสู่การสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ

1.เพื่อพัฒนาบุคลากรของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจถึงทิศทาง
ของการท่องเที่ยวและกีฬาตามทิศทาง AEC Blueprint
2.เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและการกีฬา สู่การสร้างความเป็นเลิศภายใต้มาตรฐานสากล
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทย

ผลที่คาดว่าจะได้รับตามแผนพัฒนาฯ

1.บุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงทิศทางของการท่องเที่ยวและกีฬา สู่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามแนวทาง AEC Blueprint
2.บุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีศักยภาพ และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ที่สามารถรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาที่เป็นมาตรฐาน
สู่กลุ่มผู้ประกอบการ ภาคเอกชน สมาคมฯ ชุมชน ท้องถิ่น และประชาชน
4.การสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวและกีฬา จากเครือข่ายในภูมิภาคต่างๆ
ของกลุ่มท่องเที่ยวและกีฬา

กลุ่มเป้าหมายในตามแผนพัฒนาฯ

1.กลุ่มบุคลากรภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา กรมการท่องเที่ยว การกีฬาแห่งประเทศไทย ฯลฯ
2.กลุ่มบุคลากรภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย สำนักส่งเสริมการจัดประชุม สภาอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา สมาคมมวยแห่งประเทศไทย หอการค้า ฯลฯ
3.กลุ่มสถาบันส่งเสริมวิชาชีพ ได้แก่ มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
4.กลุ่มบุคลากรท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าชุมชนในระดับท้องถิ่น ฯลฯ

ขอบเขตด้านพื้นที่ของแผนพัฒนาฯ โครงการนำร่องแยกเป็น 6 กลุ่มตาม Cluster  อันได้แก่

1.กลุ่มภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน
2.กลุ่มภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด
3.กลุ่มภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
4.กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ โคราช สุรินทร์
5.กลุ่มภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต สงขลา สุราษฎรธานี พัทลุง
6.กลุ่มภาคกลาง กรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล

โดยแต่ละกลุ่ม จะประกอบด้วยบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคนั้นๆ จำนวน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมายตามแผนพัฒนาทั้งสิ้น 240 คน

 

รูปแบบการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ

1.กิจกรรมการอบรมสัมมนา ความรู้ ความเข้าใจ และทิศทางการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านการบริหารจัดการ การสร้างสัมพันธภาพในกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2.กิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Workshop)
3.กิจกรรมการศึกษาดูงาน ประเทศเมียนมาร์ จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม
หรือมาเลเซีย
4.กิจกรรมการฝึกปฏิบัติเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้

กรอบเวลาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ

แผนพัฒนาทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ในระยะเร่งด่วน
เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2558 ดังนั้นการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว
กลุ่มละ 2 สัปดาห์ จำนวน 6 กลุ่ม รวมกรอบเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน

 


หน้า 519 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8627780

facebook

Twitter


บทความเก่า