Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เออีซีกับตัวชี้วัดความสาเร็จ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)) (โพสต์ทูเดย์)

พิมพ์ PDF

หลังจากผู้นาอาเซียน 10 ประเทศ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นภายในปี 2558 โดยประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ตัวชี้วัดความสาเร็จของเออีซีนั้น การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมุ่งไปที่การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกันนั้น เออีซีจาเป็นที่จะต้องมีตัวชี้วัดด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุนเงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี รวมถึงตัวชี้วัดในเรื่องของการขนส่งไอซีที และด้านพลังงานอีกด้วย

ทีมวิจัยของทีดีอาร์ไอได้สารวจและเก็บข้อมูลจากบริษัทเอกชน 30 แห่ง เพื่อสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการสร้างตลาดและฐานผลิตร่วมกันในอาเซียน โดยตัวชี้วัดที่บริษัทเอกชนเห็นว่ามีสาคัญและควรทาให้สาเร็จภายในปี 2558 คือ การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและการจัดการภาษีนาเข้าให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส การพัฒนากระบวนการนาเข้าสินค้าและระบบจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น การประสานงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างองค์กรในการออกสิทธิบัตรต่างๆ และทาให้กฎแหล่งกาเนิดสินค้ายืดหยุ่นและง่ายต่อการทาธุรกิจมากขึ้น

นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังระบุตัวชี้วัดสาคัญอื่นๆที่มีผลสาคัญต่อความสาเร็จของเออีซี อาทิ ตัวชี้วัดในภาคบริการ โดยพบว่าธุรกิจภาคบริการในแถบประเทศอาเซียนยังถูกควบคุมโดยกฎหมายภายในประเทศเป็นจานวนมาก ซึ่งประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการเปิดเสรีภาคบริการได้ สาหรับประเทศไทยรัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจในการเปิดเสรีภาคบริการโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเงินทุน รวมทั้งรัฐต้องพิจารณากฎหมายและข้อจากัดภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีภาคบริการอีกด้วย

สาหรับตัวชี้วัดในข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนและการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี รัฐบาลต้องมีความชัดเจนในการสนับสนุนนักวิชาชีพ มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีและส่งเสริมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียนให้เป็นวาระแห่งชาติ

ตัวชี้วัดในมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณในการประสานงาน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนามาตรฐานเหล่านี้ไปปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งอาเซียนควรเร่งลดความไม่เท่าเทียมกันของมาตรฐานทางเทคนิคและการบังคับใช้ของแต่ละประเทศสมาชิก

ตัวชี้วัดในการอานวยความสะดวกในการลงทุนจากงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่าบีโอไอยังมีข้อจากัดในการส่งเสริมวัฒนธรรมการลงทุนจากมุมมองของภาคเอกชน การพัฒนาส่งเสริมความรู้ทางธุรกิจเชิงลึกและการพัฒนางานวิจัยภายในองค์กร ดังนั้นบีโอไอควรศึกษาช่องว่างของภาคธุรกิจภายในประเทศ และมุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนที่เพิ่มมูลค่ารวมทั้งสร้างการเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งพัฒนาศักยภาพการพัฒนาภายในประเทศ

อีกประการสาคัญ คือ ตัวชี้วัดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่องค์ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ควรได้รับการเผยแพร่และเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายควรเป็นไปอย่างเข้มงวด โปร่งใสเพื่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามมากขึ้น

 

มิติทางสังคมและการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (มูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)) (โพสต์ทูเดย์)

พิมพ์ PDF

การเปิดเสรีอาเซียนไม่เพียงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเฉพาะในมิติทางเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น แต่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมาด้วย การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงไม่ควรจากัดอยู่แต่เพียงเรื่องการค้าเพียงอย่างเดียวแต่ต้องให้ความสาคัญกับการเตรียมการและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเช่นกัน

งานวิจัย "Moving Towards ASEAN Single Community : Human Face Nexus of Regional Economic Development" โดยดร.สมชัย จิตสุชน นาเสนอมิติทางสังคมของประชาคมอาเซียน ที่จาเป็นต่อการวางแผนเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายของสังคมอาเซียนในอนาคต งานวิจัยนาเสนอ 4 มิติสาคัญ ดังนี้

1. มิติด้านสถิติประชากร (Population Demographic)

ประเทศส่วนใหญ่ในแถบอาเซียนกาลังเผชิญกับอัตราขยายตัวของประชากรที่ต่าลงจากกราฟข้างล่างมีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่มีอัตราขยายตัวของประชากรเกิน 5% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการย้ายถิ่นฐานเป็นหลัก กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่มีอัตราขยายตัวของประชากรต่ากว่า 2% เท่านั้น

นอกจากนี้ ประชาคมอาเซียนกาลังเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งจะกระทบต่อการพัฒนาสังคมและมนุษย์ต่อไปในอนาคต จากงานวิจัยประเทศที่มีจานวนอัตราประชากรวัยทางานสูงเมื่อเทียบกับประชากรสูงวัยคือ บรูไน กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศเหล่านี้จะสามารถพัฒนาสมรรถภาพด้านการผลิตและเศรษฐกิจจากประชากรวัยทางานได้ในอนาคต

2. มิติด้านสุขภาพ การศึกษา และความสามารถในการอ่านเขียน (Health Education and Literacy)

งานวิจัยพิจารณาตัวบ่งชี้สาคัญสองประการ คือ 1) อัตราการเสียชีวิตของทารกซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับสุขภาพโดยรวมของประเทศในบริบทของประชาคมอาเซียน ประเทศที่ร่ารวยกว่า (เช่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์) มีอัตราการเสียชีวิตของทารกน้อยกว่าประเทศที่ยากจนกว่า (เช่น กัมพูชา ลาว พม่า เป็นต้น)และ 2) การจ่ายเงินของครัวเรือนเมื่อไปใช้บริการสุขภาพ ซึ่งวัดประสิทธิภาพและการครอบคลุมของประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายที่น้อยลงแสดงให้เห็นถึงระบบประกันสุขภาพที่ดีกว่าซึ่งข้อมูลจากกราฟข้อมูลแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีฐานะปานกลางและสูง มักจะมีระบบประกันสุขภาพที่ดีกว่าประเทศที่ยากจน(กัมพูชา พม่า และเวียดนาม)

มิติด้านการศึกษา

ประเทศในแถบอาเซียนมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องการศึกษาประเทศที่มีรายได้สูงกว่า มีการสมัครเข้าเรียนในระดับอนุบาลและอุดมศึกษามากกว่า แต่เมื่อเราเปรียบเทียบดูแล้ว แถบประเทศอาเซียนยังมีนักศึกษาเรียนในระดับอุดมศึกษาน้อยกว่าประเทศอย่างญี่ปุุนเกาหลีใต้และสหรัฐอยู่มาก

3. มิติด้านการจ้างงาน ความยากจนและความเหลื่อมล้า(Employment, Poverty and Inequality)

มิติทางด้านการจ้างงานเป็นมิติที่น่าสนใจมากในประชาคมอาเซียน โดยรวมแล้วประเทศในแถบนี้มีอัตราการว่างงานต่า (ยกเว้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์) แต่อัตราการจ้างงานในวัยรุ่นมีต่ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่มาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการแรงงานอยู่สูงแต่วัยรุ่นในอาเซียนไม่สามารถสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานได้

ในขณะเดียวกันประชากรที่มีการศึกษาสูงในประเทศที่ยากจน (ลาว กัมพูชา เวียดนาม) จะเดินทางไปทางานนอกประเทศบ้านเกิดตนเอง แต่สถานการณ์นี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านี้ดีขึ้นมาก และทาให้ประชากรของประเทศเหล่านี้เลือกที่จะอยู่ทางานในประเทศบ้านเกิดมากขึ้น

ในเรื่องของมิติความยากจนและความเหลื่อมล้างานวิจัยได้วัดความเหลื่อมล้าจากอัตรารายได้ครอบครัวของผู้มีฐานะร่ารวยที่สุด 10% เทียบกับรายได้ของคนที่ยากจนที่สุด10% สิ่งนี้ทาให้เห็นว่า อาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่มีความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจสูงมาก(โดยเฉพาะในประเทศไทยและฟิลิปปินส์) ในขณะที่ความยากจนอาจจะลดระดับลงไปในภูมิภาคความเหลื่อมล้าอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้

4.มิติด้านสังคมอื่นๆ(สิ่งแวดล้อมและสถาบันทางการเมือง)

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

งานวิจัยใช้ตัวบ่งชี้สองประการเพื่อเปรียบเทียบมิติด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียนคือ 1) การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ2) สัดส่วนพื้นที่ปุาในประเทศ ซึ่งประเทศที่ร่ารวยกว่าในอาเซียนมีสถิติทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่สู้ดีนัก สิงคโปร์และบรูไนมีอัตราการปล่อยก๊าซ CO2 สูงกว่าประเทศอื่นๆและมีพื้นที่สัดส่วนของปุาในประเทศน้อยมาก

มิติด้านสถาบันการเมือง

งานวิจัยวิเคราะห์ตัวบ่งชี้สองประการ คือ1) สิทธิทางกฎหมาย และ 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงเป็นที่น่าสนใจที่ประเทศเวียดนาม ลาว และสิงคโปร์ มีอัตราส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีอยู่ถึงร้อยละ 25 ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าประเทศญี่ปุุนสหรัฐและเกาหลีใต้ แต่ในเรื่องของสิทธิทางกฎหมาย มีเพียงประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียที่ทาได้ดีกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศอื่นๆในอาเซียนยังทาได้ไม่ดีนัก

เมื่อเราพิจารณาตามมิติต่างๆทางสังคมของกลุ่มประเทศอาเซียน เราจะเห็นได้ว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจอาจจะส่งผลกระทบในทางบวกแก่มิติด้านสุขภาพ การศึกษา และความยากจน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คาตอบสุดท้ายของประชาคมอาเซียน เพราะเมื่อเทียบถึงการจ้างงานในวัยรุ่น ความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรี หรือมิติทางสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้ก่อให้เกิดผลในทางบวกต่อประเทศในกลุ่มอาเซียนเสมอไป และปัจจัยหลักสาคัญที่จะทาให้เกิดความแตกต่างสูงในประชาคมอาเซียน คือ อายุของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประชาคมอาเซียนในอนาคตต่อไป

ความแตกต่างของมิติที่หลากหลาย ควรได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของภูมิภาค ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่เท่าเทียมและเปิดโอกาสให้กับทุกคนได้เข้าถึงประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2. ติวเข้มบุคลากร รักษาแชมป์สหกรณ์อาเซียน (เดลินิวส์)

นายจิตรกร สามประดิษฐ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงความพร้อมของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทยก่อนจะก้าวสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในวันที่ 1 มกราคม 2558 ว่า ณ วันนี้ยังมีเวลาในการเตรียมความพร้อมอีกสองปีเศษ ซึ่งเมื่อมีการเปิด AEC จะส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีฐานการผลิตรวมกัน มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยทางการผลิตอย่างเสรี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงงาน มีเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี และประชากรแต่ละประเทศสามารถสมัครใจที่จะไปทางานในประเทศใดก็ได้ ด้านเงินทุน จะมีนักลงทุนจากประเทศอาเซียนนาเงินทุนมูลค่ามหาศาลไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ ภายในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย และด้านสินค้า จะมีการลดภาษีสินค้าต่างๆ ลงให้เป็น 0%

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลไปทั่วทุกภาคส่วนของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ในขบวนการสหกรณ์ ซึ่งจาเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กาลังจะเกิดขึ้น และหาทางปูองกันผลกระทบจากสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติต่อการดาเนินงานของสหกรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม AEC ยังเป็นโอกาสที่ดีสาหรับสหกรณ์นอกภาคการเกษตรในการขยายธุรกิจ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีเงินออมมากสามารถนาเงินไปลงทุนได้มากขึ้น สหกรณ์บริการ เช่น สหกรณ์เดินรถสามารถขยายบริการด้านการท่องเที่ยว เดินทางข้ามไปประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนและพัฒนาการให้บริการที่ครบวงจร แต่สาหรับสหกรณ์ภาคการเกษตร จะต้องเปลี่ยนแปลงการดาเนินการด้านการผลิตจากการดาเนินธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่มีแค่การรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกแล้วส่งขายให้บริษัทเอกชนหรือพ่อค้า ก็จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้สามารถดารงอยู่ได้เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน โดยเฉพาะสหกรณ์การเกษตรที่อยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดนระหว่างประเทศ จะต้องเตรียมรับมือกับผลผลิตทางการเกษตรที่จะทะลักเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า กัมพูชา หรือลาว ที่มีเปูาหมายเพื่อการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าเช่น จากข้าวเปลือกมาเข้าโรงสีให้เป็นข้าวสารหรือแปูง ส่วนข้าวที่คุณภาพไม่ดีทาเป็นข้าวนึ่ง ประเภทถั่วก็นามาแปรรูปเป็นน้ามันพืช ข้าวโพดนามาใส่ปลาปุนและราข้าว กลายเป็นอาหารสัตว์ แล้วบรรจุลงหีบห่อที่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับราคาให้กับสินค้า ก่อนจะส่งไปจาหน่ายได้ในทุกประเทศของอาเซียน

ดังนั้น สหกรณ์ไทยต้องดาเนินการเพื่อการรองรับโอกาส ต้องทาความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในประเทศอาเซียน ต้องมองทุกประเทศอย่างเป็นมิตร ยึดหลักความร่วมมือที่มีความยุติธรรมและเกิดประโยชน์กับทุกฝุาย ส่วนการสร้างเครือข่ายสหกรณ์ในอาเซียนนั้นจะแบ่งเป็น 2 ด้านด้วยกันคือ ด้านวิชาการ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะให้ข้อมูลและความรู้ด้านสหกรณ์แก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ส่วนในด้านธุรกิจ ก็จะมีการนาผู้แทนสหกรณ์ของไทยเดินทางไปเรียนรู้ด้านการตลาดในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อให้ได้รับทราบว่าตลาดเหล่านั้นมีความต้องการสินค้าประเภทใด บรรจุภัณฑ์แบบไหน ปริมาณความต้องการจานวนเท่าใด เพื่อนามาปรับปรุงการผลิตสินค้าก่อนส่งไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน ด้านภาษาก็มีส่วนสาคัญ ปัจจุบันทางกรมฯ ได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ จีน เวียดนาม และพม่า ให้กับข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในช่วงวันหยุดราชการคือวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้รู้และเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของประเทศในอาเซียนได้มากยิ่งขึ้น เพื่อการสื่อสารที่มีคุณภาพ และสามารถนาไปปรับใช้กับการทางานติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ และในอนาคตจะมีการอบรมให้กับสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความรู้และความเข้าใจในด้านภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ทั้งนี้คาดหวังว่าสหกรณ์ไทยจะสามารถก้าวสู่การเป็นผู้นาและเป็นที่พึ่งของขบวนสหกรณ์ในประเทศอาเซียนได้ในที่สุด

 

จรรยาบรรณทางวิชาการ โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

จรรยาบรรณทางวิชาการเป็นเครื่องมือของพลังความดี พลังเชิงบวก ที่จะสร้างความวัฒนาถาวรให้แก่สังคม ดังนั้น พลังนี้จะเกิดผลจริง เมื่อสังคมยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรม เป็นคุณค่าของสังคม ยิ่งกว่าปฏิบัติเพราะเกรงกลัวโทษ

 

ในการประชุมประจำปี “นักวิจัยใหม่ ... พบ ... เมธีวิจัยอาวุโส สกว.”  ปี๒๕๕๕  ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๒ ต.ต. ๕๕ ที่ชะอำ  เช้าวันที่ ๑๒ มีการเสวนาเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยผมร่วมเสวนาด้วย  ทางผู้จัดขอเอกสารประกอบ ผมจึงเขียนให้ ดังต่อไปนี้



จรรยาบรรณทางวิชาการ[*]

วิจารณ์ พานิช

..................

 

จรรยาบรรณทางวิชาการ เป็นคำกว้างๆ หมายถึงระเบียบที่ต้องประพฤติทางวิชาการ  ที่ควรพิจารณาว่ามีได้หลายระดับ  ได้แก่ระดับประเทศ  ระดับสถาบัน  ระดับสาขาวิชาการ  และระดับบุคคล  ควรมีการส่งเสริมหรือมีมาตรการเชิงบวก เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  มีการประพฤติปฏิบัติ จนกลายเป็นวัฒนธรรมวิชาการ  ที่ก่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ  และได้รับการยอมรับนับถือจากสังคม

และในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีมาตรการเชิงลบ เพื่อป้องกันหรือป้องปรามการละเมิด  เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ  และเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ

นอกจากนั้น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาการ ที่ยึดถือร่วมกันในระดับสากล  ก็เป็นเกียรติภูมิและชื่อเสียงของประเทศ  ในทางตรงกันข้าม หากมีการประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง และไม่มีการลงโทษอย่างจริงจัง  ก็เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศได้

การจัดการจรรยาบรรณทางวิชาการ จึงน่าจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยง ของสถาบันวิชาการ  ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการจัดการเรื่องนี้บูรณาการอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ทางวิชาการทุกขั้นตอน  ดังนั้นนอกจากมีเอกสารกำหนดจรรยาบรรณทางวิชาการ และเผยแพร่อย่างกว้างขวางแล้ว  สถาบันทางวิชาการจะต้องกำหนดขั้นตอนการจัดการจรรยาบรรณทางวิชาการ แทรกอยู่ในขั้นตอนของงานวิชาการทั้งหมด  ทั้งการทำงานวิชาการ  การผลิตผลงาน  และการให้การยกย่องให้คุณค่าแก่ผลงานวิชาการ  รวมทั้งควรมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ “ผู้เปิดเผยพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับการละเมิดจรรยาบรรณทางวิชาการ”(whistle blower) และขั้นตอนการดำเนินการ และระดับการลงโทษ ต่อผู้ละเมิดจรรยาบรรณนี้

การปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการ พึงกระทำตั้งแต่ยังเป็นเด็ก   การคัดลอกข้อเขียนหรือถ้อยคำของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง พึงได้รับการป้องกัน ห้ามปราม และลงโทษ  การเขียนรายงานแบบตัดปะพึงได้รับการห้าม และลงโทษ  โดยครูพึงอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า การปฏิบัติเช่นนั้น ผู้ได้รับผลเสียหายที่สุดคือตนเอง  เพราะจะติดนิสัยการเรียนรู้แบบผิวเผินไปตลอดชีวิต  พ่อแม่ที่รักลูกพึงกวดขันลูกในเรื่องนี้

สื่อมวลชนไทยมีการคัดลอกโดยไม่อ้างอิงอยู่เสมอ  ควรมีการทำงานร่วมกับสมาคมต่างๆ ด้านสื่อมวลชน เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนี้  และผู้ละเมิดแบบจงใจพึงได้รับโทษ โดยมาตรการทางสังคม และมาตรการทางกฎหมาย อย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ

กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานวิชาการที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  จึงควรพิจารณาระบบจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตในการเสนอผลงานเพื่อขอตำแหน่ง คศ.  ที่มีข่าวอยู่เสมอว่ามีการว่าจ้างให้ผู้อื่นทำให้

จรรยาบรรณทางวิชาการไม่ได้มีเฉพาะที่เกี่ยวกับผลงานทางวิชาการเท่านั้น  ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการด้วยกัน  ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการกับสถาบันที่ตนสังกัด  ระหว่างนักวิชาการกับแหล่งทุนสนับสนุน  ระหว่างสถาบันวิชาการกับแหล่งทุนสนับสนุน

ที่จริงหน่วยงานที่เป็นแหล่งทุนสนับสนุนก็เป็นหน่วยงานวิชาการ จึงพึงมีข้อกำหนดจรรยาบรรณของหน่วยงาน และของผู้ปฏิบัติงานด้วย  ประเด็นที่พึงพิจารณาคือความประพฤติของเจ้าหน้าที่ ที่แสดงอำนาจเหนือในฐานะ “ผู้ให้ทุน”  ขาดความเคารพและให้เกียรติผู้รับทุนตามสมควรรวมทั้งกรณีให้ทุนแล้วเจรจาผลประโยชน์แก่ตนเองในรูปแบบต่างๆเช่นขอให้พาไปต่างประเทศขอให้ซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นต้น

วารสารวิชาการเป็นอีกแหล่งหนึ่งของการปกป้องรักษาและส่งเสริมจรรยาบรรณทางวิชาการ  วารสารควรประกาศข้อยึดถือและข้อปฏิบัติของวารสารในกรณีมีการกล่าวหาว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณทางวิชาการเกี่ยวข้องกับรายงานผลการวิจัยที่ได้ลงพิมพ์ในวารสารไปแล้วในกรณีที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่ามีการทุจริตทางวิชาการวารสารพึงถอนรายงานนั้นออกจากรายการในวารสารไม่ว่ารายงานนั้นจะได้ตีพิมพ์ไปนานเพียงใดแล้วประกาศให้วงการวิชาการรับทราบอย่างกว้างขวางทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องปรามนักวิชาการรายอื่นๆ

ในยุคสมัยทุนนิยม ที่วิชาการบางส่วนกลายเป็นธุรกิจ  มีการโฆษณาสินค้าวิชาการ  ตามแนวทางธุรกิจ  เป็นประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลระบบวิชาการพึงเอาใจใส่  หากไม่มีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง  ในที่สุดระบบคุ้มครองผู้บริโภคจะเข้ามาดูแล  พลังของจรรยาบรรณทางวิชาการก็จะยิ่งอ่อนแอลงไป

จรรยาบรรณทางวิชาการเป็นเครื่องมือของพลังความดี  พลังเชิงบวก  ที่จะสร้างความวัฒนาถาวรให้แก่สังคม  ดังนั้น พลังนี้จะเกิดผลจริง เมื่อสังคมยึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรม เป็นคุณค่าของสังคม  ยิ่งกว่าปฏิบัติเพราะเกรงกลัวโทษ

 

…………………………

 

ในวันประชุมไฟดับ เสียเวลาไปเกือบ ๑ ชั่วโมง  แต่การนำเสนอของ รศ. ดร. วริยา ชินวรรโณ, ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ, และ ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ ให้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน  ใช้เวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง ได้อย่างทรงคุณค่า

ข้อเรียนรู้ของผมคือ ประเด็นทางจริยธรรมมันเกิดใหม่ตลอดเวลา  ที่ฮ็อตที่สุดเวลานี้ คือที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์และเกี่ยวกับวารสารสามานย์ ที่ลงบันทึกเมื่อวันที่ ๒๓ ต.ค. ๕๕

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ต.ค. ๕๕

 

บทความอาจารย์วิจารณ์ พานิช เรื่องกติกา

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๖ ต.ค. ๕๕ มีการประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ประจำเดือนตุลาคม  ผมอ่านแฟ้มซึ่งหนากว่า ๒ นิ้ว แล้วบอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของการกำกับดูแลที่ดี  ที่มีการปฏิบัติตามกติกาที่หน่วยงาน regulator (ในที่นี้คือ ธปท.) กำหนด  ที่เรียกว่ามี compliance

 

แปลกมาก ที่ในชีวิตของผม ต้องทำงานภายใต้กฎเกณฑ์กติกามากมาย  แต่ผมจะไม่บ่นแสดงความไม่พอใจกติกาเหล่านั้น  แต่ผมจะตีความกติกา ว่าจะมีวิธีปฏิบัติตามให้ได้ compliance ด้วย และก่อความเจริญให้แก่องค์กรหรือหน่วยงานที่ผมสังกัดด้วย อย่างไร  หากไม่แน่ใจ ผมก็จะหารือหน่วยกำกับดูแลเหล่านั้น  และชี้ให้เห็นว่า หากยืดหยุ่นให้ผมปฏิบัติตามที่ผมเสนอ  จะได้ประโยชน์หลายต่ออย่างไร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประโยชน์ต่อส่วนรวม)  โดยที่ไม่ได้ขอลดหย่อนกติกา แต่ต้องการการตีความกติกาที่บางครั้งผู้ร่างไม่ได้คำนึงถึงบริบทที่แตกต่างหลากหลาย จึงเขียนไว้แคบหรือรัดรึงเกินไป

 

ผมเดาว่าพฤติกรรมเช่นนี้ของผม ที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่อายุน้อยๆ คงจะส่งผลดีต่อชีวิตของผมในขณะนี้ อย่างที่ผมไม่เคยคิดฝันว่าชีวิตจะได้ดีถึงขนาดนี้  ขออนุญาตเอามาเล่าไว้ ว่าพลังแห่งความสร้างสรรค์ มีคุณต่อชีวิตของคนเราจริงๆ

 

กลับมาที่การประชุมคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์  ในวันนี้มีการทบทวนนโยบายสำคัญๆ มากมาย  เช่น การทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยใน บัญชีเพื่อการธนาคาร ประจำปี ๒๕๕๕, การทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ประจำปี ๒๕๕๕, การทบทวนนโยบายการทดสอบภาวะวิกฤต ประจำปี ๒๕๕๕, การทบทวนนโยบายกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน ประจำปี ๒๕๕๕, การทบทวนนโยบายบริหารความเสี่ยงด้านตลาดและนโยบายบริหารฐานะในบัญชีเพื่อการค้า ประจำปี ๒๕๕๕, การทบทวนนโยบายป้องกันการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย, การทบทวนระเบียบผลิตภัณฑ์สำหรับธุรกรรมอนุพันธ์ ประจำปี ๒๕๕๕

 

ผมตีความว่า นี่คือการทำหน้าที่ บอร์ด ที่เน้นกำกับดูแลอย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามกติกาของบ้านเมือง  โดยที่มีการดูแลอย่างพอเหมาะพอดี  คือ บอร์ด ไม่ได้ลงไปที่รายละเอียด  แต่ฝ่ายบริหารไปคิดรายละเอียดนำมาเสนอ  เพื่อให้ บอร์ด ได้พิจารณาในภาพใหญ่ ว่าธนาคารที่น่าเชื่อถือของสังคมจะต้องระมัดระวังอย่างไร

 

สิ่งที่ธนาคารไทยพาณิชย์ระวังอย่างยิ่ง คือกรรมการต้องไม่แสวงประโยชน์จากธุรกิจของธนาคาร  ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม  ซึ่งสำหรับผมสบายมาก เพราะผมแสวงประโยชน์ไม่เป็นไมว่าเรื่องใด

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ต.ค. ๕๕


 

เที่ยวอัมพวากับอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เที่ยวสวนในที่นี้ หมายถึงสวนสมุทรสงคราม  ผมเคยบันทึกมาเที่ยวสมุทรสงครามเมื่อกว่า ๓ ปีมาแล้วไว้ถึง ๖ ตอน อ่านได้ที่นี่ คราวนั้นไปกับผู้พิพากษา และพักที่รีสอร์ทหรูคือบ้านอัมพวา

คราวนี้ไปกับนักวิจัย คือคณะ HITAP พักที่ เดอะเกรซอัมพวาเข้าตรงวัดช่องลม  พอเลยกำแพงวัดก็มีซอยเล็กๆ เป็นทางไป รีสอร์ท มากมาย  ระยะทางประมาณ ๒ ก.ม.  ถนนลาดยางเล็กๆ ผ่านสวนอันร่มรื่น

เช้าวันที่ ๖ ต.ค. ๕๕ เราขับรถออกจากบ้านแต่เช้ามืด  ข้ามสะพานพระราม ๔  ไปออกถนนกาญจนาภิเษก  เพื่อไปออกถนนพระราม ๒  แบบเดียวกับเมื่อ ๓ ปีก่อน  แต่คราวนี้ถนนซับซ้อนกว่าเดิมมาก  ทำให้เราคิดว่าหลงทาง  ป้ายบอกว่าถนน ๓๕ เข้าเขตจังหวัดสมุทรสาคร  ผมบอกให้สาวน้อยดูแผนที่ว่าถนน ๓๕ อยู่ตรงไหน  เธอดูแล้วบอกว่าไม่มี  ผมจึงคิดว่าเป็นถนนใหม่เข้าจังหวัดสมุทรสาคร  จึงเลี้ยวกลับ และหาทางใหม่  ทำให้เราเสียเวลาเกือบชั่วโมงครึ่ง วนเป็นวงใหญ่ ไปออกบางแค  วนผ่านบางบอน กลับไปที่ถนน ๓๕ ที่เดิม  ซึ่งถึงช่วงเวลานั้นสาวน้อยหาในแผนที่พบแล้วว่า ถนน ๓๕ ก็คือถนนพระราม ๒ นั่นเอง

เราจึงไปถึงตลาดสมุทรสงครามเวลาประมาณ ๘.๓๐ น.  เราเลี้ยวไปด้านหลังตลาด ได้ที่จอดรถโดยบังเอิญ  และเดินไปเพียงประมาณ ๑๐ เมตร ก็พบร้านก๋วยจั๊บเข้าพอดี  ตอนนี้ขึ้นราคาเป็นชามละ ๑๒ บาท  ผมเข้าไปขอซื้อชนิดชามละ ๒๐ บาท  อิ่มตื้อที่เดียว

เพื่อแก้ความเครียดที่เกิดจากหลงทาง ผมจึงรางวัลตัวเองด้วยข้าวเม่าทอด ๑ แพ  ๓ ลูก  และกล้วยแขกทอด ฟักทองทอด  ซื้อจากร้านที่เดินผ่าน  กล้วยแขกและฟักทองทอดเป็นของทอดใหม่ร้อนๆ  จึงอร่อยมาก  แต่โชคร้าย ข้าวเม่าทอดเป็นของเก่า  คงจะเหลือมาจากเมื่อวาน  ผมจึงได้เรียนรู้วิธีซื้อข้าวเม่าทอดตอนเช้า  ที่จะต้องสังเกตให้ดีว่าไม่ใช่ของเหลือค้างคืน

ตอนบ่ายเป็นการประชุม retreat และประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ  ซึ่งท่านรองประธาน (นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ) ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมเราได้ให้คำแนะนำเชิงสร้างสรรค์มากมาย

เวลา ๑๖.๓๐ น. ทุกคนมาพร้อมกันตรงเวลา เพื่องลงเรือล่องชมวิวและไปเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา   จากแม่น้ำแม่กลอง เรือพาเราเข้าคลองผีหลอก  ไปจนถึงสี่แยก ทางขวาเป็นคลองหมาหอน ทางซ้ายเป็นคลองอัมพวา  เรือเลี้ยวเข้าคลองอัมพวา   ผ่านอาคารหลังใหญ่ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จและเป็นกรณีขัดแย้งกับชาวบ้าน  ผมกลับมาค้นข่าวที่บ้านจึงรู้ว่าเป็นอาคารโรงแรมชูชัยบุรีศรีอัมพวา ดังข่าวนี้ เรือ พาเราไปชมชุมชนโบราณสองฝั่งคลอง  เขาชี้ให้เราดูบ้านเดิมของครูเอื้อ สุนทรสนาน  และพาเราทะลุปากคลองอัมพวาไปส่งเราขึ้นบกที่ฝั่งแม่น้ำแม่กลองตรงหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา  ให้เราเดินเล่นชมตลาด

ผมจึงได้ความสาวชมตลาด ระลึกชาติเมื่อ ๓ ปีก่อน ที่เคยมาเที่ยว เอารถไปจอดที่วัดฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ และนั่งเรือข้ามฟากไปเที่ยวตลาดแบบเดียวกัน

เย็นวันศุกร์ ตลาดเพิ่งเริ่มติด  คนพอมีแต่ไม่มากนัก  เขาบอกว่าวันเสาร์คนมากที่สุด   ผมสังเกตว่า เขาดูแลความสะอาดดีขึ้น  และตลาดส่วนใหญ่อยู่บนบก  ที่อยู่ริมน้ำบนบ้านเก่าก็มีด้วย  ที่เป็นเรือข้ายสินค้ามีแต่เรือขายก๋วยเตี๋ยวเรือและอาหารอื่นหย่อมเดียว

เราไปถ่ายรูปบนสะพานข้ามคลอง  และชื่นชมเพลงสุนทราภรณ์ที่มีวงดนตรีเล็กๆ มาร้องอยู่ริมคลอง  ไพเราะและได้บรรยากาศมาก

เราต้องรีบกลับ เพราะฝนตั้งเค้า  และระหว่างนั่งเรือกลับฝนก็ตกลงมา โชคดีที่ตกไม่หนักมาก  แต่ตอนกลางคืนฝนตกหนักมาก

หลังกินอาหารเย็นที่โรงแรม ผมกลับไปอาบน้ำที่ห้องพัก ซึ่งเป็นห้องที่ดีที่สุดริมน้ำชั้นบน  ตอนเวลาประมาณหนึ่งทุ่ม  ได้มีโอกาสเห็นหิ่งห้อยที่ต้นลำพูต้นที่อยู่ริมน้ำหน้าห้องเยื้องไปทางซ้าย  มีหิ่งห้อยเกาะเป็นร้อยตัว และกระพริบแสงเป็นจังหวะพร้อมกัน สวยงามมาก  เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นหิ่งห้อยเกาะบนต้นลำพูมากเต็มต้น และกระพริบพร้อมกันอย่างนี้ เมื่อผมกลับจากการประชุมรอบค่ำ  มาดูใหม่ตอนสามทุ่มครึ่ง ไม่มีหิ่งห้อยที่ต้นนั้นแล้ว  มีที่ต้นอื่นไม่กี่ตัว

ที่ The Grace Resort มีจักรยานให้ขี่เล่น  หลังอาหารเช้าผมจึงขี่ไปชมสวน ทั้งใน รีสอร์ท ซึ่งมีบริเวณใหม่อยู่ตรงกันข้ามถนนซอยด้วย  แล้วขี่ไปชมสวนมะพร้าวที่ยกร่องปลูกแบบเดียวกับที่บ้านผมที่ชุมพรสมัยผมเป็นเด็ก  ทำให้ระลึกชาติสมัยเป็นเด็กไปเล่นที่สวนมะพร้าว และซ้อมกระโดดข้ามท้องร่อง  หรือเล่นกระโดดข้ามแข่งกัน  คนที่กระโดดไม่เก่งก็ตกท้องร่องไปตามระเบียบ

จากการนั่งเรือชมแม่น้ำและคลอง ผมสังเกตว่ามี โฮมสเตย์ เกิดขึ้นใหม่มากมาย  ทำให้คิดว่าทางจังหวัดได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบที่มีการกระจายรายได้  และเกิดความคิด ว่าการพัฒนาจังหวัด เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดสมุทรสาคร ที่เน้นอุตสาหกรรม  กับจังหวัดสมุทรสงคราม ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ชาวบ้านของจังหวัดไหนได้ประโยชน์กว่ากัน  นี่คือโจทย์วิจัยที่ขอเสนอไว้

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค.​ ๕๕

 

 

 


หน้า 518 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8626146

facebook

Twitter


บทความเก่า