Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เชิญล่องเรือ ชมศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิถีดั้งเดิมเมืองบางกอก

พิมพ์ PDF

กิจกรรมล่องเรือคลองด่าน คลองบางหลวง

“ศิลปะ สถาปัตยกรรม และวิถีดั้งเดิมเมืองบางกอก”

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2555

โดยความร่วมมือระหว่างสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมอิโคโมสไทย

กำหนดการ

8.00 น.         ลงเรือ ที่ท่าช้างวังหลวง  ชมความงามของภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา

9.00 น.         เดินทางเข้าสู่คลองบางหลวงและคลองด่าน ผ่านโบราณสถานและสถานที่สำคัญหลายแห่ง ไปเริ่มต้น              การขึ้นชมวัดที่ วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร ในบริเวณปากคลองด่าน เป็นวัดโบราณที่พระบาทสมเด็จ             พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นตามดำริของเจ้าจอมน้อยผู้ทรงมีความสามารถทางการละคร               และพระราชทานนามวัดไว้ให้เป็นอนุสรณ์ นำชมโบราณสถาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระประธาน 28 องค์ หลวงพ่อฉันสมอ และรับฟังการ บรรยาย เกี่ยวกับโครงการ อาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย เพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร    พร้อมรับประทานอาหารว่าง

10.00 น.      ลงเรือเดินทางต่อไปยัง วัดนางนอง วรวิหาร วัดโบราณที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน                     เป็นวัดที่ทรงสร้างในบริเวณนิวาศสถานเดิมของพระศรีสุลาลัย พระราชชนนี นำชมโบราณสถาน                 นมัสการพระประธานทรงเครื่องชมภาพจิตรกรรมเรื่องสามก๊ก แห่งเดียวในประเทศไทย

10.40 น.       เดินทางต่อไปยัง วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร  วัดประจำรัชกาลที่ 3 ที่ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นตั้งแต่ดำรง   พระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นำชมโบราณสถานซึ่งเป็นต้นแบบ                          งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบพระราชนิยม และศาลาราย เจดีย์ถะ ในแบบจีน

11.20 น.      ลงเรือออกเดินทางไปยังบ้านศิลปิน คลองบางหลวง

12.00 น.      รับประทานอาหารกลางวันที่ บ้านศิลปิน คลองบางหลวง จากความตั้งใจที่จะอนุรักษ์คุณค่าของอาคารเก่า อายุร่วมร้อยปีนี้ไว้นำมาซึ่งการได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ชมบรรยากาศ         และการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านศิลปิน  ชมการแสดงหุ่นละครเล็ก คณะคำนาย ณ บ้านศิลปิน

14.30 น.      เดินทางไป วัดคูหาสวรรค์ วรวิหาร วัดเก่าแก่ของบางกอกที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จ               พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และนำพระประธานเดิมที่นี่ไปประดิษฐาน                  เป็นพระประธานที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยเราจะยังได้ชมร่องรอยงานศิลปกรรมบางอย่างที่ย้อนไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

15.30 น.      ลงเรือเดินทางกลับสู่ท่าช้างวังหลวง

16.30 น.      เสร็จสิ้นกิจกรรม

 

วิทยากร                        ประจำเรือ           อ.บุญยกร  วชิระเธียรชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ประจำฐาน          ดร.วสุ โปษยะนันทน์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร

อ.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คุณโกะ บ้านศิลปิน  (ชุมพล อักพันธานนท์)

 

ค่าใช้จ่าย              ท่านละ 999 บาท

รายได้ทั้งหมดสมทบกองผ้าป่าอาษาสามัคคีเพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร

 

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่ง

ได้ที่      คุณวราภรณ์ ไทยานันท์

โทรศัพท์ 0 2628 8288 โทรสาร 0 2628 8289

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

 

ธุรกิจเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Social Business: A New Business Model for the New Millennium" ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ Plaza Athenee Bangkok จัดโดย Asian Institute of Technology, Yunus Center at AIT,Thai Health,Thai Social Enterprise Office (TSEO) และ TMA สนับสนุนโดยบางจาก

ก่อนเข้าเรื่องเสวนา ต้องขอโทษที่การเขียนของผมครั้งนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนกัน เนื่องจากการเสวนาและเอกสารเผยแพร่ใช้ภาษาอังกฤษ ผมพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาไทย แต่เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการอ้างอิงผมจึงจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้ จัดให้มาในบางประโยค

การเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักบริหาร ในทุกภาคส่วนของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็ก ธนาคาร ผู้มีฐานะการเงิน นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนนักวิชาการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

หลังจากเสร็จพิธีเปิดงานเสวนาอย่างเป็นทางการ  ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ปาฐกถาหัวข้อ "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่"

ท่านศาสตราจารย์ ยูนุส ได้กล่าวถึง ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนสูงและเสี่ยงน้อย ดังนั้นจึงเลือกทำธุรกิจกับคนที่มีโอกาส ทำให้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากธนาคาร

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกแนวทางทำธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร สิ่งไหนที่ธนาคารไม่ทำ ท่านจะทำในสิ่งนั้น ท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถสูงโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ยังขาดโอกาสที่จะนำความสามารถออกมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกลูกค้าของท่านจากคนที่ยากจน ใครคือผู้ที่ยากจน ? ท่านดูจากครอบครัวที่อยู่รวมกันในห้องเดียว คนเหล่านี้ไม่ยอมรับเงินจากผู้ที่นำเงินไปเสนอให้ เพราะเขากลัว เคยผ่านสิ่งเลวร้ายมามาก ดังนั้นจะต้องหมั่นเข้าไปหาและศึกษาให้แน่ใจว่า เขามีปัญหาอะไร แล้วจึงนำปัญหานั้นมาคิดให้เกิดขบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบธุรกิจ นี่คือที่มาของ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องการเงินมาก สิ่งที่สำคัญคือ "ความคิดสร้างสรรค์" มีความจำเป็นถึง 80% และความต้องการทางเงินแค่ 20% การทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาปัญหาเป็นโจทย์ สร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีปัญหาในกรอบของการทำธุรกิจ

ท่านเอ่ยถึงคนที่ไม่มีเหตุผล และได้ถามว่าใครคือผู้ที่ไม่มีเหตุผลกันแน่ คนมักคิดว่าตัวเองมีเหตุผลแต่คนอื่นไม่มีเหตุผล ธนาคารเลือกให้ความช่วยเหลือคนมีเงินเพราะเชื่อว่าได้ผลตอบแทนกลับมาให้ตัวเองอย่างแน่นอน แต่ไม่เลือกให้ความช่วยเหลือกับคนจนเพราะคิดว่าไม่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน คนรวยมีเงินจ้างทนายความและต่อสู้เมื่อมีปัญหากับธนาคาร แต่คนจนไม่มีทางต่อสู้กับธนาคาร ใครที่ไม่มีเหตุผล ?

ท่านจบการปาฐกถาอย่างสมบูรณ์ ผมเข้าใจแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง และจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปต่อยอดโครงการ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

หลังจากนั้นเป็นเวทีเสวนา "The Future of Social business in Thailand and the region" วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย Professo Yunus,Mr.Vichien Phongsathom,Chairman Premier Group, M.L.Dispanadda Diskul,Chief Development Officer,Doi Tung Development Project,Dr.Krissada Raungarreerar,CEO ThaiHealth,Mr.Paradai Theerathada,Executive Vice President-Head of Corporate Communication Group TMB

Moderator : Ms.Veenarat Laohapakakul,News Reporter TV Host

เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก  ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีผู้มีความรู้ในหัวข้อการเสวนานั้นๆที่มีความสามารถเสวนาร่วม กับต่างชาติในระดับสากล หลายท่าน

ก็ฝากขอความกรุณาผู้จัดโปรดคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ เช่นการเสวนาครั้งนี้ หากมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรปะกบ กับท่าน ศาสตราจารย์ ยูนุส จะเป็นคู่ที่พอสมน้ำสมเนื้อกัน จะทำให้บรรยากาศในเวทีเสวนามีรสชาดและเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจุบันและอนาคต

สนใจทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Social Business ได้ที่

www.yunuscenter.ait.asia

www.muhammadyunus.org

 

ธุรกิจเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Social Business: A New Business Model for the New Millennium" ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ Plaza Athenee Bangkok จัดโดย Asian Institute of Technology, Yunus Center at AIT,Thai Health,Thai Social Enterprise Office (TSEO) และ TMA สนับสนุนโดยบางจาก

ก่อนเข้าเรื่องเสวนา ต้องขอโทษที่การเขียนของผมครั้งนี้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษปนกัน เนื่องจากการเสวนาและเอกสารเผยแพร่ใช้ภาษาอังกฤษ ผมพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาไทย แต่เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการอ้างอิงผมจึงจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษที่ผู้ จัดให้มาในบางประโยค

การเสวนาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักบริหาร ในทุกภาคส่วนของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็ก ธนาคาร ผู้มีฐานะการเงิน นักการเมือง ข้าราชการ ตลอดจนนักวิชาการ สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

หลังจากเสร็จพิธีเปิดงานเสวนาอย่างเป็นทางการ  ศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนุส Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ปาฐกถาหัวข้อ "ธุรกิจเพื่อสังคม แบบจำลองธุรกิจใหม่เพื่อสหัสวรรษใหม่"

ท่านศาสตราจารย์ ยูนุส ได้กล่าวถึง ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่หวังผลตอบแทนสูงและเสี่ยงน้อย ดังนั้นจึงเลือกทำธุรกิจกับคนที่มีโอกาส ทำให้คนเป็นจำนวนมากไม่ได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากธนาคาร

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกแนวทางทำธุรกิจที่ตรงกันข้ามกับธนาคาร สิ่งไหนที่ธนาคารไม่ทำ ท่านจะทำในสิ่งนั้น ท่านเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถสูงโดยไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ยังขาดโอกาสที่จะนำความสามารถออกมาใช้ให้ประสบผลสำเร็จ

ศาสตราจารย์ ยูนุส เลือกลูกค้าของท่านจากคนที่ยากจน ใครคือผู้ที่ยากจน ? ท่านดูจากครอบครัวที่อยู่รวมกันในห้องเดียว คนเหล่านี้ไม่ยอมรับเงินจากผู้ที่นำเงินไปเสนอให้ เพราะเขากลัว เคยผ่านสิ่งเลวร้ายมามาก ดังนั้นจะต้องหมั่นเข้าไปหาและศึกษาให้แน่ใจว่า เขามีปัญหาอะไร แล้วจึงนำปัญหานั้นมาคิดให้เกิดขบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบธุรกิจ นี่คือที่มาของ "ธุรกิจเพื่อสังคม"

ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องการเงินมาก สิ่งที่สำคัญคือ "ความคิดสร้างสรรค์" มีความจำเป็นถึง 80% และความต้องการทางเงินแค่ 20% การทำธุรกิจเพื่อสังคม เอาปัญหาเป็นโจทย์ สร้างแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาให้กับผู้ที่มีปัญหาในกรอบของการทำธุรกิจ

ท่านเอ่ยถึงคนที่ไม่มีเหตุผล และได้ถามว่าใครคือผู้ที่ไม่มีเหตุผลกันแน่ คนมักคิดว่าตัวเองมีเหตุผลแต่คนอื่นไม่มีเหตุผล ธนาคารเลือกให้ความช่วยเหลือคนมีเงินเพราะเชื่อว่าได้ผลตอบแทนกลับมาให้ตัวเองอย่างแน่นอน แต่ไม่เลือกให้ความช่วยเหลือกับคนจนเพราะคิดว่าไม่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน คนรวยมีเงินจ้างทนายความและต่อสู้เมื่อมีปัญหากับธนาคาร แต่คนจนไม่มีทางต่อสู้กับธนาคาร ใครที่ไม่มีเหตุผล ?

ท่านจบการปาฐกถาอย่างสมบูรณ์ ผมเข้าใจแนวทางอย่างแจ่มแจ้ง และจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปต่อยอดโครงการ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

หลังจากนั้นเป็นเวทีเสวนา "The Future of Social business in Thailand and the region" วิทยากรเสวนา ประกอบด้วย Professo Yunus,Mr.Vichien Phongsathom,Chairman Premier Group, M.L.Dispanadda Diskul,Chief Development Officer,Doi Tung Development Project,Dr.Krissada Raungarreerar,CEO ThaiHealth,Mr.Paradai Theerathada,Executive Vice President-Head of Corporate Communication Group TMB

Moderator : Ms.Veenarat Laohapakakul,News Reporter TV Host

เสียดายวิทยากรฝ่ายไทยที่มาปะกบกับ ศาสตราจารย์ ยูนุส ยังห่างกันมาก  ผมสังเกตการจัดเวทีระดับประเทศหลายครั้งที่เชิญต่างชาติมาร่วมเป็นวิทยากร เสวนากับวิทยากรคนไทย วิทยากรคนไทยมักจะห่างชั้นกับวิทยากรต่างชาติมาก ทำให้รู้สึกอายที่วิทยากรคนไทยถูกวิทยากรต่างชาติต้อนจนตกเวที เสียภาพพจน์ของคนไทยทั้งประเทศ ทั้งๆที่เรามีผู้มีความรู้ในหัวข้อการเสวนานั้นๆที่มีความสามารถเสวนาร่วม กับต่างชาติในระดับสากล หลายท่าน

ก็ฝากขอความกรุณาผู้จัดโปรดคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยครับ เช่นการเสวนาครั้งนี้ หากมีท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรปะกบ กับท่าน ศาสตราจารย์ ยูนุส จะเป็นคู่ที่พอสมน้ำสมเนื้อกัน จะทำให้บรรยากาศในเวทีเสวนามีรสชาดและเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจุบันและอนาคต

สนใจทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง Social Business ได้ที่

www.yunuscenter.ait.asia

www.muhammadyunus.org

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 09 พฤษภาคม 2012 เวลา 17:41 น.
 

บทความของนักเขียนอาชีพ คุณสันติ หอมยมณ์ (วาทิน ศานต์ สันติ)

พิมพ์ PDF

ผมมีโอกาสติดตามอ่านผลงานของนักเขียน งานประเภท ประวัติศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จึงได้ทาบทามให้ท่านช่วยเขียนบทความลงในเวปไซด์ ของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ และท่านตอบตกลง ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดระบบ เพื่อให้ท่านสามารถเข้ามาเขียนบทความได้ด้วยตัวท่านเอง พร้อมนี้ได้นำการโต้ตอบระหว่างผมและคุณสันติมาให้ท่านรับทราบในเบื้องต้น ขอได้โปรดติดตามอ่านบทความของคุณสันติที่ตั้งใจเขียนให้กับกลุ่มสมาชิกของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ โดยตรง

 

ผมขอแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งที่ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ให้ความกรุณาหยิบยื่นไมตรีให้ ทั้ง ๆ ที่ผมติดตามอ่านงานของคุณได้ไม่นานมานี้เอง

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ผมชอบเขียนงานประวัติศาสตร์ก็จริง แต่เมื่อลงลึกแล้วผมกลับชอบงานทางด้านโบราณคดีมากกว่า เพราะมันไม่ยึดติด ใช้หลักฐานมาก ไม่ปฏิเสธตำนาน

ที่ชอบที่สุดก็จะเป็นงานโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ แหล่งท่องที่ยวทางวัฒนธรรม แนวประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน

และรวมถึงงานวิจารณ์หนังสือ ภาพยนตร์ โดยสอดแทรกแนวคติดทางคติชนวิยา และประวัติศาสตร์

หากจะให้เขียนประวัติศาสตร์ จ๋า ๆ ในลักษณ์เข้าแบบ กระแสหลักเลยก็คงต้องใช้ความพยายามากสักหน่อย เพราะความสามารถในภาษาอังกฤษผมบกพร่อง

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยคณาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังคอยให้ความกรุณาผมเมื่อผมต้องการค้นข้อมูล

ทั้งมวลที่กล่าวไปเพราะต้องการแสดงให้เห็นว่า ผมถนัดในด้านไหน ไม่ถนัดในด้านไหน เพื่อประกอบในการพิจารณา

ขอแสดงความนับถืออย่างและขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ

สันติ หอมยมณ์ (วาทิน ศานติ์ สันติ)

ขอบพระคุณที่ให้ความสนใจงานเขียนของผมและชักชวนให้ขียนงานลงในเวปไซด์ อย่างที่ได้เรียนไปเบื้องต้นว่าผมมีความสนใจและเขียนงานประเภท ประวัติศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง วัฒนธรรมประเพณี อักษรและภาษาโบราณในประเทศไทย

ซึ่งผมได้อ่านเอกสารของมูลนิธิแล้ว งานเขียนของผมคงจะสร้างประโยชน์ให้กับมูลนิธิได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งแนวทางที่ผมถนัดนั้นน่าจะมีส่วนสนับสนุนภาคท่องเที่ยวได้ โดยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการ ให้กับธุระกิจท่องเที่ยว (ไกด์) ผมสามารถข้าถึงข้อมูล วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของกรมศิลปากร รวมถึงมีความรู้จักกับบุคลากรที่มาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรในระดับหนึ่ง ผมเชื่อว่างานประวัติศาสตร์ที่ดูจะแห้งแล้งชวนง่วงนอน หากนำมาประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวได้ ก็น่าจะดีกว่าให้มันอยู่ในหนังสือหนา ๆ ชวนน่าเบื่อไม่มีคนอ่าน

ผมได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับมูลนิธิและเวปไซท์แล้ว นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเรื่องานเขียนนั้นผมสามารถนำไปลงให้ที่เวปไซด์ได้ อาจจะเดือนละเรื่อง โดยที่ไม่คิดต้นฉบับ ทั้งนี้ทั้งนั้นผมขอศึกษาแนวทางของมูลนิธิเพื่อคัดสรรงานเขียนที่เหมาะสม

ช่องทางการเข้าไปเขียนทำอย่างไร กรุณาช่วยแจ้งด้วยครับ

 


แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 พฤษภาคม 2012 เวลา 01:32 น.
 

คุณสมบัติผู้นำ

พิมพ์ PDF

 

 

คุณสมบัติผู้นำ

 

เก่งคน มีมนุษย์สัมพันธ์ เข้าใจตน เข้าใจคน

ศึกษาถึงพฤติกรรมของคน คนมีความแตกต่างทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม ทางด้าน สติปัญญา- จิตใจ  คนทุกคนมีความต้องการและคาดหวังที่จะได้รับสิ่งต่างๆจากผู้อื่น โดยเฉพาะ การยอมรับ ความเป็นมิตร ความสะดวก ความสบาย ความถูกต้อง ความมีอัธยาศัย ไมตรี ความยิ้มแย้มแจ่มใส การเข้าถึงจิตใจคนจะต้องเรียนรู้

รู้ตน คือการเข้าใจตัวเอง ต้องมีเชาว์ สติปัญญาที่สุขุม นุ่มลึก ทั้งปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ  รู้คน คือการเข้าใจคนอื่นอย่างลึกซึ้ง  รู้และเข้าใจธรรมชาติของคน ความต้องการ ความพึงพอใจ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ นิสัย

เก่งงาน มีความรู้ความชำนาญงาน มีความรับผิดชอบสูง ทำงานสำเร็จรอบครอบ รู้งาน ต้องรู้อย่างลึกซึ้ง รู้ทั้งงานและเป้าหมายของงาน

 

เก่งคิด ใช้สติปัญญาทำงาน ริเริ่มสร้างสรรค์ ให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม รู้คิดสร้างสรรค์ รู้เครื่องมือ รู้จักการระดมความคิด การผูกใจผู้ร่วมงานให้ทำงาน ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึก ชอบ เชื่อ ทำ นำไปปฏิบัติ วิธีการทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกดังกล่าว จะต้องสร้างความเชื่อถือ   บุคลิกภาพ มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในล้ำลึก  เชื่อมือ ฝีมือ ความรู้ ความสามารถ เชื่อมั่น มั่นใจ ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในการกระทำ เที่ยงตรง  เชื่อใจ คุณธรรม จริยธรรม การกระทำ เสียสละการทำตนให้ผู้ร่วมงานยอมรับ ให้เกียรติอย่างจริงใจ ไวต่อความรู้สึก สำนึกในความเอื้ออาทร ยิ้มให้ก่อนอยู่เป็นนิจ คิดให้อภัยและช่วยเหลือ หมั่นจุนเจืออารมณ์ขัน

 

เก่งชีวิต และครอบครัว รักษาสุขภาพ จัดเวลาชีวิต และการงาน บริหารงาน - เงิน บริหารเวลา บริหารอารมณ์ บริหารร่างกาย และจิตใจ ให้สมดุล อย่างพอเพียงและยั่งยืน

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 พฤษภาคม 2012 เวลา 15:52 น.
 


หน้า 531 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607404

facebook

Twitter


บทความเก่า