Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คุณสมบัติผู้นำ

พิมพ์ PDF

 

 

คุณสมบัติผู้นำ

 

เก่งคน มีมนุษย์สัมพันธ์ เข้าใจตน เข้าใจคน

ศึกษาถึงพฤติกรรมของคน คนมีความแตกต่างทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม ทางด้าน สติปัญญา- จิตใจ  คนทุกคนมีความต้องการและคาดหวังที่จะได้รับสิ่งต่างๆจากผู้อื่น โดยเฉพาะ การยอมรับ ความเป็นมิตร ความสะดวก ความสบาย ความถูกต้อง ความมีอัธยาศัย ไมตรี ความยิ้มแย้มแจ่มใส การเข้าถึงจิตใจคนจะต้องเรียนรู้

รู้ตน คือการเข้าใจตัวเอง ต้องมีเชาว์ สติปัญญาที่สุขุม นุ่มลึก ทั้งปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ  รู้คน คือการเข้าใจคนอื่นอย่างลึกซึ้ง  รู้และเข้าใจธรรมชาติของคน ความต้องการ ความพึงพอใจ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ นิสัย

เก่งงาน มีความรู้ความชำนาญงาน มีความรับผิดชอบสูง ทำงานสำเร็จรอบครอบ รู้งาน ต้องรู้อย่างลึกซึ้ง รู้ทั้งงานและเป้าหมายของงาน

 

เก่งคิด ใช้สติปัญญาทำงาน ริเริ่มสร้างสรรค์ ให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม รู้คิดสร้างสรรค์ รู้เครื่องมือ รู้จักการระดมความคิด การผูกใจผู้ร่วมงานให้ทำงาน ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึก ชอบ เชื่อ ทำ นำไปปฏิบัติ วิธีการทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกดังกล่าว จะต้องสร้างความเชื่อถือ   บุคลิกภาพ มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในล้ำลึก  เชื่อมือ ฝีมือ ความรู้ ความสามารถ เชื่อมั่น มั่นใจ ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในการกระทำ เที่ยงตรง  เชื่อใจ คุณธรรม จริยธรรม การกระทำ เสียสละการทำตนให้ผู้ร่วมงานยอมรับ ให้เกียรติอย่างจริงใจ ไวต่อความรู้สึก สำนึกในความเอื้ออาทร ยิ้มให้ก่อนอยู่เป็นนิจ คิดให้อภัยและช่วยเหลือ หมั่นจุนเจืออารมณ์ขัน

 

เก่งชีวิต และครอบครัว รักษาสุขภาพ จัดเวลาชีวิต และการงาน บริหารงาน - เงิน บริหารเวลา บริหารอารมณ์ บริหารร่างกาย และจิตใจ ให้สมดุล อย่างพอเพียงและยั่งยืน

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 พฤษภาคม 2012 เวลา 15:52 น.
 

คุณสมบัติผู้นำ

พิมพ์ PDF

 

คุณสมบัติผู้นำ

 

เก่งคน มีมนุษย์สัมพันธ์ เข้าใจตน เข้าใจคน

ศึกษาถึงพฤติกรรมของคน  คนมีความแตกต่างทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม ทางด้าน สติปัญญา- จิตใจ  คนทุกคนมีความต้องการและคาดหวังที่จะได้รับสิ่งต่างๆจากผู้อื่น โดยเฉพาะ การยอมรับ ความเป็นมิตร ความสะดวก ความสบาย ความถูกต้อง ความมีอัธยาศัย ไมตรี ความยิ้มแย้มแจ่มใส การเข้าถึงจิตใจคนจะต้องเรียนรู้

รู้ตน คือการเข้าใจตัวเอง ต้องมีเชาว์ สติปัญญาที่สุขุม นุ่มลึก ทั้งปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ  รู้คน คือการเข้าใจคนอื่นอย่างลึกซึ้ง  รู้และเข้าใจธรรมชาติของคน ความต้องการ ความพึงพอใจ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ นิสัย

เก่งงาน มีความรู้ความชำนาญงาน มีความรับผิดชอบสูง ทำงานสำเร็จรอบครอบ รู้งาน ต้องรู้อย่างลึกซึ้ง รู้ทั้งงานและเป้าหมายของงาน

 

เก่งคิด ใช้สติปัญญาทำงาน ริเริ่มสร้างสรรค์ ให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม รู้คิดสร้างสรรค์ รู้เครื่องมือ รู้จักการระดมความคิด การผูกใจผู้ร่วมงานให้ทำงาน ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึก ชอบ เชื่อ ทำ นำไปปฏิบัติ วิธีการทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรู้สึกดังกล่าว จะต้องสร้างความเชื่อถือ   บุคลิกภาพ มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในล้ำลึก  เชื่อมือ ฝีมือ ความรู้ ความสามารถ เชื่อมั่น มั่นใจ ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นในการกระทำ เที่ยงตรง  เชื่อใจ คุณธรรม จริยธรรม การกระทำ เสียสละการทำตนให้ผู้ร่วมงานยอมรับ ให้เกียรติอย่างจริงใจ ไวต่อความรู้สึก สำนึกในความเอื้ออาทร ยิ้มให้ก่อนอยู่เป็นนิจ คิดให้อภัยและช่วยเหลือ หมั่นจุนเจืออารมณ์ขัน

 

เก่งชีวิต และครอบครัว รักษาสุขภาพ จัดเวลาชีวิต และการงาน บริหารงาน - เงิน บริหารเวลา บริหารอารมณ์ บริหารร่างกาย และจิตใจ ให้สมดุล อย่างพอเพียงและยั่งยืน

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 พฤษภาคม 2012 เวลา 15:54 น.
 

ก่อนที่จะปฎิบัติวิปัสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง

พิมพ์ PDF

 

ก่อนที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง?

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องสำคัญมากๆ วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญาที่รู้แจ้งในรูปและในนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นอนัตตา การที่มีบัญญัติธรรมขึ้นมาก็เพื่อที่จะสามารถอธิบายให้เกิดความรู้และเข้าใจได้ ฉะนั้นก่อนที่ลงมือจะปฏิบัติ เราจะต้องเข้าใจเสียก่อน หากไม่เข้าใจก็ปฏิบัติไม่ได้ ต้องมีโยนิโสมนสิการได้แก่การใส่ใจให้ถูก ให้ตรงต่อความเป็นจริง

ที่ว่าการใส่ใจให้ถูก ทำความเห็นให้ตรงนั้น ตรงอะไร? ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และตรัสสอนไว้ ความเห็นนั้นจึงเรียกว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อได้โยนิโสมนสิการบ่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ ก็จะทราบว่า รูปนามนี้เป็นทุกข์จริงๆ ไม่เที่ยงจริงๆ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ปัญญาที่จะเกิดรู้ตามความเป็นจริงของอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับๆ ฉะนั้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงหมายถึงการทำใจให้รู้แจ้ง รู้แจ้งว่าเป็นรูป เป็นนาม มนสิการให้เห็นเป็นรูป เห็นเป็นนาม เมื่อเห็นว่าเป็นรูปเป็นนามแล้ว รูปนามนั้นก็จะประกาศความจริงออกมาอีกทีหนึ่งว่า…รูปที่เห็นนั้นแหละไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ …นามนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ ตั้งคำถามว่า ทำวิปัสสนาแล้วเห็นอะไร? มีคนหมู่มากมีความเข้าใจผิดว่า ทำวิปัสสนาแล้วจะเห็นนรก จะเห็นสวรรค์ จะเห็นพระอรหันต์ จะได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือไม่ก็หลับตาเห็นเลขต่างๆ หรือไม่ก็เห็นญาติที่ตายไปแล้ว …ช่วยทำวิปัสสนาดูหน่อยว่าญาติฉันตายแล้วไปไหน เป็นต้น ความจริงการทำวิปัสสนาไม่ได้เห็นอะไรอย่างนั้นเลย การทำวิปัสสนา จะไม่เห็นนิมิตอะไรเลย นอกเสียจากรูปและนามเท่านั้นเอง เพราะรูปและนามเป็นอารมณ์ให้เห็น และการเห็นรูปนามก็ไม่ได้เห็นนิมิตด้วย ไม่ได้เห็นเครื่องหมายเป็นรูปร่างปรากฏ ฉะนั้นการที่เห็นรูปร่างว่าเป็นคนนั้น ว่าเป็นคนนี้ ว่าเป็นสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งนี้ การเห็นเช่นนั้นไม่ใช่เห็นแบบวิปัสสนาเห็น แต่เป็นอารมณ์ของสมาธิ การเห็นเป็นสิ่งต่างๆ แสดงว่าจิตได้ตกไปจากอารมณ์วิปัสสนาแล้ว ตกไปสู่อารมณ์อย่างอื่น ผู้ที่รู้และเข้าใจในเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา จะรู้ทันทีว่าจิตตกไปแล้ว ตกไปจากอารมณ์วิปัสสนา คือรูปและนาม ก็จะมีนิมิตต่างๆเข้ามาแทน เหมือนหนัง มีฉายหลายรอบ คนที่ดูหนังรอบนี้ออกไปแล้วทางประตูหนึ่ง พวกใหม่ก็เข้ามาอีกประตูหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อรูปนามถูกออกไป นิมิตก็เข้ามาแทน ตั้งคำถามต่อว่า เห็นรูป เห็นนามแล้วได้อะไร? เห็นรูป เห็นนาม ถ้าเชื่อแค่นี้ เท่ากับว่าฟังตามกันมา ต้องมีความรู้อีกว่า จะเห็นรูป เห็นนาม เห็นแล้วได้อะไร ผลลัพธ์ที่ได้จากการเจริญวิปัสสนาก็คือ เมื่อเห็นรูปเห็นนามแล้ว ก็จะเห็นแจ้ง และรู้แจ้งตามความเป็นจริง เมื่อเห็นแจ้ง และรู้แจ้งตามความเป็นจริงเกิดขึ้น ความเห็นผิดนานาประการที่เรียกว่าวิปลาสก็ออกไปแล้ววิปลาสจะออกไปได้อย่างไร เพราะถูกโมหะอวิชชาปิดบังอยู่ เมื่อมีปัญญาหรือแสงสว่าง ความมืดหรือวิปลาสก็ออกไป ๑. อัตตวิปลาส...เห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเรา เป็นของๆเรา ๒. นิจจาวิปลาส...เห็นว่าเที่ยง เห็นว่ามั่นคง ไม่ผันแปร ไม่เปลี่ยนแปลง ๓. สุขวิปลาส...เห็นว่าสุข เห็นว่าเป็นของดี ๔. สุภวิปลาส...เห็นว่าสวยงาม น่ารัก น่าปรารถนา ในวิปลาส ๔ อย่างนี้ เกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ เหมือนปฏิจจสมุปบาท ลูกโซ่ที่ไม่เคยขาดจากสังสารวัฎฎ์ ได้แก่…. การเห็นว่าเป็นตัวตน เมื่อเกิดขึ้นมา ==> ก็จะเห็นว่าเที่ยง เมื่อเห็นว่าเที่ยงแล้ว ==> ก็จะเห็นว่าสุข เมื่อเห็นว่าสุขแล้ว ==> ก็จะเห็นว่าสวยงาม น่าพอใจ น่าปรารถนา ถ้าไม่มีตัวตนแล้ว จะเที่ยงไหม? สุขไหม? สวยไหม?แท้จริงความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นผิด เข้าใจผิดและการที่จะละความเห็นผิด เข้าใจผิด นี้ได้ต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น การเห็นเป็นรูป เป็นนาม เห็นว่าไม่ใช่เรา เห็นว่าไม่ใช่ตัวตน คนสัตว์ตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยถ่ายถอนความยึดมั่น ความเชื่อมั่นว่าเป็นเรา (มานะ ทิฏฐิ) ถ่ายถอนออกไปทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าอำนาจของปรีชาปัญญา เห็นเป็นรูปเป็นนาม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาก็จะสามารถประกาศความจริงของรูปของนามให้ชัดว่า ในรูปนามนั้นเองก็มีไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้เหมือนเห็นเสือ ก็จะต้องเห็นลวดลายเสือว่า นี่เสือดำ นี่เสือดาว เห็นชัด ฉะนั้นทั้งรูปและทั้งนามอยู่ในฐานะเดียวกัน เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เมื่อปัญญาเห็นรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด คือนิจจวิปลาส ก็ถูกถ่ายถอนออกไปจากจิตใจ … ความเห็นว่าสุข … ว่าสวย ก็พลอยถูกถอนออกในขณะเดียวกันเลย วิปัสสนาให้ประโยชน์อย่างไร ? ประโยชน์ของการทำวิปัสสนา คือ ทำให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง (แต่ถ้าถามว่าได้อะไร? ได้ละวิปลาส) ละความเศร้าโศก ความร่ำไห้รำพรรณ (ทุกข์ประจำ-ทุกข์จร) และ ทำให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือละทุกข์นั่นเอง ประโยชน์ก็คือทำให้ทุกข์หมดไป ประโยชน์สูงสุดของวิปัสสนามีเท่านี้ ความดีเลิศของวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ทำกุศลอย่างอื่น เช่นสร้างโบสถ์วิหารศาลาการเปรียญใหญ่โต ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า จะกี่วัดก็ตาม ก็ยังไม่ประเสริฐเท่ากับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการกระทำเหล่านั้นไม่สามารถประหานกิเลสได้ ไม่สามารถนำให้พ้นจากกองทุกข์ คือขันธ์ ๕ ได้ ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน…สามารถทำลายกิเลสด้วย …เป็นเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานด้วย …ทำให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงด้วย …จึงวิเศษสุด ฉะนั้นก่อนที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง? ก่อนลงมือปฏิบัติต้องมีความรู้ ความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติ คือ ๑. ต้องรู้ ทวาร ๖ ๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖ ๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ทางทวารทั้ง ๖ ๔. ต้องรู้กำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖ ๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖เมื่อมีความรู้และความเข้าใจ ก็สามารถที่จะปฏิบัติวิปัสสนา ฝึกฝนทำบ่อยเข้าๆ เหมือนวสี พอทำบ่อยๆ หนักๆเข้า ความสะสม ทำให้รู้แจ้ง ทำบ่อยๆ จากน้อย ไปหามาก จาก ปริตตารมณ์ ก็เป็น อติมหันตารมณ์ อารมณ์นั้นหนักแน่นขึ้น รู้เป็นรูป รู้เป็นนาม เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของรูปและนามก่อนลงมือปฏิบัติต้องมีความรู้ความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติ คือ ๑. ต้องรู้ ทวาร ๖ ๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖ ๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ทางทวารทั้ง ๖ ๔. ต้องรู้ว่ากำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖ ๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖ ๑. ต้องรู้ ทวาร ๖ ทวาร คือทางรับรู้อารมณ์ของจิต คือจิตอาศัยรู้อารมณ์ทางทวารนั่นเอง จิตอาศัยรู้อารมณ์ทางไหน ทางนั้นเรียกว่าทวาร ทวารมี ๖ ทวาร คือ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร ต้องรู้จักทวารทั้ง ๖ รู้แค่นี้คือท่อง แล้วต้องรู้จักอย่างไร?.........ต้องรู้ว่า...... ๑. จักขุทวาร ได้แก่ ทวารทางตา เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของจักขุวิญญาณ คือจิตเห็น หรือ นามเห็น ๒. โสตทวาร ได้แก่ ทวารทางหู เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของโสตวิญญาณ คือจิตได้ยิน หรือ นามได้ยิน ๓. ฆานทวารได้แก่ ทวารทางจมูก เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของฆานวิญญาณ คือจิตรู้กลิ่น หรือ นามรู้กลิ่น ๔. ชิวหาทวาร ได้แก่ทวารทางลิ้น เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของชิวหาวิญญาณ คือจิตรู้รส หรือ นามรู้รส ๕. กายทวาร ได้แก่ ทวารทางกายเป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของกายวิญญาณ คือจิตรู้การสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง หรือ นามรู้การสัมผัส ๖. มโนทวาร ได้แก่ ทวารทางใจ เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของมโนวิญญาณ คือจิตคิดนึก รู้สึก หรือ นามคิดนึก นามรู้สึกฉะนั้นจิตเกิดขึ้นได้ทั้ง ๖ ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกตามภาษาบาลี ก็เรียกว่า จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แต่ถ้ารู้ ก็เป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานทวาร ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เกิดขึ้นตามทวาร สำหรับในทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรียก จักขุวิญญาณ ว่า ..... นามเห็น เรียก โสตวิญญาณ ว่า .... นามได้ยิน เรียก ฆานวิญญาณ ว่า .... นามรู้กลิ่น เรียก ชิวหาวิญญาณ ว่า ... นามรู้รส เรียก กายวิญญาณ ว่า ...... นามรู้การสัมผัส เรียก มโนวิญญาณ ว่า ..... นามรู้ ที่เรียกแบบนี้เพราะในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องทำความรู้ชัดและรู้แจ้ง ไม่ใช่ทำไปด้วยความไม่รู้ ฉะนั้นต้องรู้ก่อน เรื่องทวาร ๖ ว่า ถ้าวิปัสสนา เขาเรียกชื่อกันอย่างไร ต้องเรียกแบบวิปัสสนาเรียก คือกำหนดเข้าไปจนกระทั่งฝังราก แรกๆ ก็เหมือนท่อง ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปจนฝังราก เมื่อมีความเชื่อจริงๆ แล้วไปปฏิบัติ คือเชื่อว่าเป็นรูปเป็นนาม ขณะเห็น เป็นนามเห็น จะมีความกำหนดของมันเอง ก็เหมือนกับเราเข้าป่าช้าแล้วกลัวผีเอง ๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖อารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้สิ่งใดที่จิตยังไม่รับรู้ หมายความว่า... สิ่งที่จิตรู้สิ่งใด ที่จิตยังไม่รับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์ สิ่งใดก็แล้วแต่ที่จิตรู้ ที่จิตมีหน้าที่รู้แต่ยังไม่ได้รับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์ สิ่งใดที่จิตเข้าไปรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นถึงเรียกว่า อารมณ์ เช่น ตอนนี้ของตรงหน้าเต็มไปหมด หลวงพ่อสั่งให้ยกมือขวาขึ้น …โสตวิญญาณได้ยิน ตอนนั้นรู้ แต่ของตรงหน้าไม่รู้ จิตรู้ทีละประตู ฉะนั้น เสียงเป็นอารมณ์ ต้องให้เข้าใจชัดแบบนี้เลย ฉะนั้นคงไม่งงกับคำว่า "สิ่งใดที่จิตนั้นยังไม่เข้าไปรับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์" แต่ "สิ่งใดที่จิตเข้าไปรับรู้ สิ่งนั้นเรียกว่า อารมณ์" อารมณ์นั้นมีความมากมายหลากหลาย สุดจะคณานับได้ เมื่อกล่าวโดยพระปรมัตถ์แล้ว อารมณ์เกิดขึ้นทางทวารต่างๆ มี ๖ อารมณ์ด้วยกัน คือ ๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ... ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... จักขุวิญญาณ หรือนามเห็น ๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียง ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... โสตวิญญาณ หรือนามได้ยิน ๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่น ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... ฆานวิญญาณ หรือนามรู้กลิ่น ๔. รสารมณ์ ได้แก่ รส ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... ชิวหาวิญญาณ หรือนามรู้รส ๕.โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ความเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... กายวิญญาณ หรือนามรู้กระทบ ๖. ธัมมารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดชอบ ชัง ดีใจ เสียใจ เฉยๆ ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... มโนวิญญาณ หรือ นามรู้ทางใจ๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ทางทวารทั้ง ๖ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต้องรู้รูปนามทางทวารทั้ง ๖ ว่า - รูปคืออะไร - นามคืออะไร - มีอยู่เท่าไร - อะไรบ้าง รูปคืออะไร ? รูป คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ไม่ได้ ธรรมชาติที่ต้องแตกดับและย่อยยับไปด้วยสิ่งต่างๆที่เป็นข้าศึกแก่กันและกัน เช่น ความเย็นและความร้อน เป็นข้าศึกกัน อยากให้ความเย็นหาย ก็ไปตั้งไฟ อยากให้ความร้อนหาย ก็ไปใส่น้ำเย็น หรือกล่าวโดยสรุป สิ่งใดก็ตามรู้อารมณ์ไม่ได้ ต้องแตกดับย่อยยับไปด้วยสิ่งที่เป็นข้าศึกของกันละกัน ..สิ่งเหล่านั้นแหละเรียกว่า รูป และรูปนี้มีอยู่เท่าไร? รูปมีอยู่ ๒ อย่าง คือ รูปที่ไม่มีวิญญาณครอง ..โต๊ะ เก้าอี้ กับ รูปที่มีวิญญาณครอง ..รูปนั่ง นามคืออะไร ? นาม คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์ เรียกว่า นาม นาม คือธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ หรือธรรมชาติที่รู้สึก คิดนึก หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ ความรู้สึกชอบ ความรู้สึกไม่ชอบ ความรู้สึกต่างๆ เห็น ได้ยิน ได้รู้กลิ่น ได้รู้รส ได้รู้สัมผัส เหล่านี้แหละเรียกว่า นาม หรือตัวรู้ต่างๆ เรียกว่า นาม รูปที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเท่าไร ? รูปที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และอิริยาบท ก็คือ … ๑. รูปทาง ตา คือ รูปารมณ์ ได้แก่.... สีต่างๆ ๒. รูปทาง หู คือ สัททารมณ์ ได้แก่.... เสียงต่างๆ๓. รูปทาง จมูก คือ คันธารมณ์ ได้แก่.... กลิ่นต่างๆ ๔. รูปทาง ลิ้น คือ รสารมณ์ ได้แก่.... รสต่างๆ ๕. รูปทาง กาย คือ โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่.... ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึงที่ปรากฏทางกาย ๖. รูปทาง ใจ คือ อิริยาบทใหญ่ทั้ง ๔ได้แก่ .... รูปที่อยู่ในท่านั่ง รูปที่อยู่ในท่านอน รูปที่อยู่ในท่ายืน รูปที่อยู่ในท่าเดิน (รูปที่กำลังก้าวไป) รวมถึงอิริยาบทย่อย เหยียด คู้ ก้ม เงย เหลียวซ้าย แลขวา ฉะนั้น เวลาเรียนเรื่องรูป มี ๒๘ แต่เวลาทำวิปัสสนา เรื่องรูป มี ๖ รูป นามที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเท่าไร ? นามที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี ๖ คือ ...๑.นามเห็น เกิดขึ้นทางตา มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... จักขุวิญญาณ ๒.นามได้ยิน เกิดขึ้นทางหู มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... โสตวิญญาณ๓.นามรู้กลิ่น เกิดขึ้นทางจมูก มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... ฆานวิญญาณ ๔.นามรู้รส เกิดขึ้นทางลิ้น มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... ชิวหาวิญญาณ ๕.นามรู้สัมผัส เกิดขึ้นทางกาย มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... กายวิญญาณ ๖.นามรู้สึกนึกคิด เกิดขึ้นทางใจ มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... มโนวิญญาณ เมื่อรู้ขนาดนี้แล้วก็ยังปฏิบัติไม่ได้ ฉะนั้นต้องรู้อีกว่า… ทางตา อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: .... สิ่งที่เห็น เป็น รูป .... รู้สึกเห็น เป็น นาม ทางหู อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: .... เสียง เป็น รูป .... รู้สึกได้ยิน เป็น นาม ทางจมูกอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....กลิ่น เป็น รูป .... รู้กลิ่น เป็น นาม ทางลิ้น อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....รสชาติต่างๆ เป็น รูป .... รู้รส เป็น นาม ทางกาย อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....เย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็น รูป ....รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้หย่อน รู้ตึง เป็น นาม ทางใจ อะไรเป็นรูป....อะไรเป็นนาม: ....อาการของรูปกายที่อยู่ในท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน เป็น รูป รู้ว่ารูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน เป็นนาม ....รู้ว่ารูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน เป็น นาม ฉะนั้นเมื่อมีรูป มีนามแล้ว ใน ๖ ทวาร นี้ วิปลาสเกิดขึ้นทางไหน ระหว่างรูป หรือ นาม ตามทวาร ทางตา ... สิ่งที่เห็น เป็นรูป รู้สึกเห็น เป็นนาม วิปลาสเกิดขึ้นหลงว่าเราเห็น แท้ที่จริงนามเห็น จึงต้องมีมนสิการว่า นามเห็น ไม่ใช่เราเห็น รูปไม่สำคัญ รูปไม่ได้ทำให้วิปลาส เราวิปลาสที่เป็นเราเห็น ทางหู...เสียง เป็นรูป รู้สึกได้ยิน เป็นนาม เสียงจะไม่ปฏิกิริยาอะไรเลย ถ้าไม่มีนามได้ยิน แต่เราโง่ หลงว่าเราได้ยินจึงเกิดพอใจ ไม่พอใจ จึงต้องแก้ไข เห็นผิดที่นาม ว่าเราเป็นผู้ได้ยิน แท้จริง นามได้ยิน ทางจมูก... กลิ่น เป็นรูป รู้กลิ่น เป็นนาม เราหลงผิดว่าเราเป็นผู้เหม็น หรือหอม แท้จริง รูปเหม็น รูปหอม จึง ต้องกำหนดที่รูป ทางลิ้น... เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด เป็นรูป รู้รส เป็นนาม เราหลงผิดว่าเราเป็นผู้เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด แท้จริง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด เป็นสภาวธรรมอยู่ จึง ต้องกำหนดที่รูปรสต่างๆ ทางกาย... เย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็นรูป รู้ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นนาม ความโง่อยู่ที่ความรู้ผิดว่าเราเป็นผู้เย็น ผู้ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง แท้จริง นามเป็นผู้รู้ แต่รูปมันเย็น รูปมันร้อน รูปมันแข็ง รูปมันอ่อน ไม่ใช่เรา จึง ต้องมีความรู้ไปที่รูป ทางใจ...ท่าทางต่างๆ ของการนั่ง การยืน การเดิน การนอน เป็นรูป ที่รู้ว่าเดินอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ เป็นนาม ฉะนั้นจึง ต้องกำหนดรู้รูป ..ใครรู้.. นามรู้ในรูปนั้น คือ รูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน ก่อนที่จะกำหนดวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องเข้าใจคำว่า นึก กับรู้สึก ต่างกันอย่างไร?  เพราะเข้าปฏิบัติไปนึกไม่ได้เด็ดขาด ต้องไปรู้สึก คำว่า"นึก" หมายถึง จิตน้อมไปสู่อารมณ์ในอดีต หรืออนาคต คือนึกไปในเรื่องอดีตบ้าง ในเรื่องอนาคตบ้าง จิตจึงไม่ได้รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ รู้สึก อยู่กับปัจจุบัน แล้วทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า "รู้สึก" เปรียบเสมือนมีผู้ป่วยคนหนึ่ง เดินไปหาหมอ เล่าอาการให้หมอฟังว่าอาการตนเองหนัก หมอ….. ต้องฉีดยา ผู้ป่วย…..อย่าฉีดเลย มันเจ็บ กินยาก็ได้ ฉีดยามันเจ็บ หมอ….. รู้ได้อย่างไรว่ามันเจ็บ ผู้ป่วย…..ก็เข็มมันแหลม ทิ่มไปตรงไหนมันก็เจ็บ หมอ….. หมอยังไม่ได้ฉีดเลย รู้สึกเจ็บแล้ว แล้วคุณรู้สึกเจ็บได้อย่างไร? ผู้ป่วย….. คิดๆเอาว่ามันเจ็บ ก็เข็มมันแหลม แล้วก็เคยถูกฉีดมาแล้ว นี่แหละ คือรู้ว่าเจ็บ โดยอาการคิดนึก ยังไม่ทันเกิด ไม่ได้เจ็บจริงๆ หมอ….. จัดแจงบรรจุยาเข้าในกระบอกฉีด ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ โดยก่อนที่หมอจะฉีด หมอก็ถามว่า เจ็บหรือยัง ปวดมากไหม? ผู้ป่วย….. ยังไม่เจ็บ ยังไม่ปวดครับ นี่จะแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเจ็บ กับความรู้สึกปวดยังไม่มี หมอ….. ค่อยๆ แทงเข็มเข้าไปที่กล้ามเนื้ออย่างช้าๆ ผู้ป่วย….. ร้องว่า เจ็บ หมอ…... ที่ร้องว่าเจ็บ ต้องนึก ต้องคิด หรือเปล่า? ผู้ป่วย….. ไม่ได้คิดเลย มันรู้สึกจริงๆเดี๋ยวนี้ นี่มันกำลังเจ็บอยู่ในขณะนี้แหละ หมอ…... คิดนึกเจ็บ กับรู้สึกเจ็บต่างกันไหม? ผู้ป่วย….. ต่างกันสิหมอ ความนึกคิดเจ็บ...มันไม่ได้เจ็บจริงๆ นี่ แต่ความรู้สึกเจ็บ....มันเจ็บจริงๆนะหมอ หมอ…... ฉะนั้นความนึกคิด กับ ความรู้สึก จึงต่างกัน ...จำไว้นะ ทีนี้ก็รู้แล้วว่า คิดนึก กับรู้สึก ต่างกันความคิดนึก เป็นอารมณ์ใน อดีต ที่ผ่านมาแล้วหรือ ในอนาคต ที่ยังมาไม่ถึงเลย ไม่ได้เป็นอารมณ์ปัจจุบันส่วนความรู้สึก เป็นอารมณ์ ปัจจุบัน คือ กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า กำลังเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อเข้าใจว่า นึกคิด กับรู้สึก แตกต่างกันได้ แยกแยะได้ ก็สามารถไปทำวิปัสสนาได้ แต่ถ้าแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ แยกแยะไม่เป็น ทำวิปัสสนาก็ไม่ได้ ไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้อะไรเลยจริงๆ เมื่อเข้าใจแบบนี้ ก็กำหนดรูป หรือนามก็ได้ ...ด้วยความรู้สึกที่กำลังดูรูปอยู่ รูปอะไร .... ดูนามอยู่ นามอะไร ได้ปัจจุบัน ๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖ ทีนี้จะดูรูป ดูนามกันอย่างไร มีตั้ง ๖ …รูปก็ ๖ นาม ก็ ๖ ดูกันอย่างไร?รูปนั้นมี ๖ คือ รูปทางตา รูปทางหู รูปทางจมูก รูปทางกาย รูปทางใจ การดูรูป ก็ต้องดูที่รูปใดรูปหนึ่งที่กำลังปรากฏ หมายถึงที่กำลังมีอยู่ ซึ่งเรียกว่า ปัจจุบันอารมณ์ นามก็มี ๖ คือ นามทางตา นามทางหู นามทางจมูก นามทางกาย นามทางใจ การดูนาม ก็ต้องดูนามใดนามหนึ่งที่กำลังปรากฏ กำลังมีอยู่ เช่นเดียวกัน การดูรูป หรือการดูนาม หมายถึง ตามรู้ ไม่ใช่ไปจ้องดู หรือเพ่งดูอย่างจริงๆจังๆ เอาแค่แมวคอยตะครุบหนูเท่านั้นเอง ต้องมีสิ่งที่ยืนให้รู้ก่อน จึงตามรู้ได้ เพื่อไม่ให้ไปคิด เราจะเห็นว่า....ได้ยิน ก็ต้องมีเสียง จึงได้ยิน ตามได้ยิน ไม่ใช่ไปวิ่งตามเสียง คือมีเสียงแล้วตามรู้ ..นี่ นามได้ยิน มีให้รู้ แล้วตามรู้ มีให้รู้ แล้วตามรู้ เหมือนอาหารบุปเฟ่ต์ ตักเรียงเป็นแถวไป ตามตัก ตามตัก ตามตัก คนข้างหลังสิ ตักตาม ตักตาม ตักตาม เรามาคนเดียว อัตตาหิ อัตโนนาโถ จึงตามตัก อย่าไปตักตาม อารมณ์เราต้องเป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา... ข้าว ผัดปลาดุกฟู ยำปลาช่อน ต้มเปรต ต้ามโคล้ง ผัดผักสามสหาย เราก็ตามรู้ไป จะรู้หมดเลยทีเดียวไม่ได้ ต้องมีสิ่งให้รู้ จึงเรียกว่า.. ตามรู้ ฉะนั้นการตามรู้ ไม่ใช่ไปจ้อง เพราะจ้องไม่ได้ตามรู้แล้ว เพราะมีสิ่งที่เลื่อนไปตลอด พอตรงนี้ก็นึกถึงมอเตอร์หรือสายพานในโรงงานฝาจีบ ที่มีขวดต่างๆเลื่อนเข้ามา ฝาจีบก็ปั๊มลงไป เหมือนเครื่องจักร พอขวดมา ก็ปั๊ม ขวดมาก็ปั๊ม หากจ้องอยู่ที่เดียว พอฝาจีบก็จ้องปั๊มอยู่ที่ขวดนั้นขวดเดียว...ไม่ได้..ผิด...แล้วก็เป็นไปไม่ได้ด้วย ฉะนั้นเราต้องตามรู้ ขณะที่มีอะไรให้รู้ ก็รู้ รู้ไม่ทัน ก็ไม่ต้องรู้ ก็ตามรู้ตอนทันต่อไป การดูในที่นี้หมายถึง ดูด้วยใจโดยมีสติระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันคือรูปหรือนามที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และมีสัมปชัญญะคือปัญญา ตามรู้อารมณ์ปัจจุบันที่สติระลึกรู้ว่าเป็นรูปอะไร หรือนามอะไรในขณะนั้น สติในที่นี้มีความระลึกรู้สึกอยู่กับรูป กับนาม ปัญญาก็ตามเข้าไปรู้ว่า..รูปอะไร นามอะไร สติเกิดขึ้น ปํญญาตามรู้ สติ... ระลึกรู้สึกว่าอาการนี้..รูป ปัญญาตอบ...รูปอะไร สติ... ระลึกรู้สึกว่าอาการนี้..นาม ปัญญาตอบ...นามอะไร ฉะนั้น สติตามปัจจุบัน ปัญญา ก็ตามอารมณ์ จึงได้อารมณ์ปัจจุบัน ในการปฏิบัติจึงต้องมีความเข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจแล้วทำบ่อยๆ มนสิการแบบนี้บ่อยๆๆ ก็เท่ากับดื่มด่ำธรรมโอสถ ยาที่วิเศษที่สุดคือ โยนิโสมนสิการ เมื่อทุกอย่างมีเต็มแล้ว อำนาจของโยนิโสมนสิการก็จะมาคุ้มครองรักษา เพราะที่ปัจจุบันนั้นเป็นที่ให้เกิดอภิชฌาและโทมนัส เมื่อทันเสียอย่าง อภิชฌา โทมนัส เกิดไม่ได้ เมื่อไม่มีอภิชฌาโทมนัส เท่ากับว่า ไม่มีกิเลสเกิดตอนนั้น ฉะนั้น ปริยัติสำคัญมากๆ เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องมีหน้าที่ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติคือมีสติ มี สัมปชัญญะ เพื่อจะได้ ควบคุมว่ากำลังดูรูปอะไร นามอะไร ที่กำลังปรากฏอยู่ กำลังมีขึ้นอยู่ ทำไมต้องมีสติ สัมปชัญญะ? มี มีสติ..คือมีความระลึกอยู่กับรูป กับนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ กำลังมีอยู่ เป็นปัจจุบันอารมณ์ มี มีสัมปชัญญะ..คือมีความรู้สึกชัดตามที่สติระลึกรู้อยู่ ว่าเป็นรูปอะไร นามอะไรรูปนั่งหรือรูปนอน รูปนอนหรือรูปยืน นามเห็นหรือนามได้ยิน นามได้ยินหรือนามรู้ ฉะนั้น สติระลึกรู้ในรูปในนาม ปัญญารู้รูป นามตามทวารต่างๆชัด สติต้องไปตั้งอยู่ตามทวารที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันด้วย แล้วปัญญาก็รู้ว่า นามอะไร รูปอะไร เพื่อทำลายความเห็นผิดออกไปอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น ในการปฏิบัติขอให้มีความเข้าใจ เข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าทำความเข้าใจไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจชัดแล้ว จะทำวิปัสสนาไม่ได้เลย ...ถ้านามก็ไม่รู้ รูปก็ไม่รู้ ...สติคืออะไรก็ไม่รู้ สัมปชัญญะคืออะไรก็ไม่รู้ ...ความต่างกันระหว่างคิดนึกกับรู้สึกก็ไม่รู้ ...สรุปได้ว่าทำวิปัสสนาไม่ได้เลย หรือจะไปทำอะไรก็แล้วแต่ ...ขณะนั้นไม่ใช่วิปัสสนา ...เมื่อไม่เป็นวิปัสสนา และก็ไม่ใช่วิปัสสนา ...พระนิพพานก็ไม่ถึง ฉะนั้นการเรียนคันถธุระ กับ การเข้าใจวิปัสสนาธุระ เป็นไปด้วยกัน แต่ในวิปัสสนาธุระนั้นจะดึงเอาอะไรออกมาบ้าง ฉะนั้น เรียนแล้วจึงต้องซักถามทำความเข้าใจให้ละเอียด อย่างรูป ๒๘ พอมาในนัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือรูป ๖ เท่านั้นเอง ถ้าเราจำแต่รูป ๖ และไม่เข้าใจรูป ๒๘ มันก็ไม่ชัดแจ้ง ในการปฏิบัติไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากรูปและนาม รูปมี ๒๘ รูป ในจำนวน ๒๘ รูปนี้มีชื่อจำเพาะๆๆ ได้แก่… ๑. ปถวีรูป ......ได้แก่ รูปที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อน ๒. อาโปรูป.....ได้แก่ รูปที่มีลักษณะไหลหรือเกาะกุม ๓. เตโชรูป..... ได้แก่ รูปที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น ๔. วาโยรูป......ได้แก่ รูปที่มีลักษณะไหวหรือเคร่งตึง สี่รูปนี้เรียกว่ามหาภูตรูป ๔ ๕. จักขุปสาทรูป......ได้แก่จักขุปสาทหรือปสาทตา ๖. โสตปสาทรูป......ได้แก่โสตปสาทหรือปสาทหู ๗. ฆานปสาทรูป......ได้แก่ฆานปสาทหรือปสาทจมูก ๘. ชิวหาปสาทรูป.....ได้แก่ชิวหาปสาทหรือปสาทลิ้น ๙. กายปสาทรูป ...... ได้แก่กายปสาทหรือปสาทกาย ห้ารูปนี้เรียกว่าปสาทรูป ๕ ๑๐. รูปารมณ์ ......รูปที่เห็น สีต่างๆ ๑๑. สัททารมณ์ ......รูปเสียง ๑๒. คันธารมณ์......รูปกลิ่น ๑๓. รสารมณ์....... รูปรส ๑๔. อิตถีภาวรูป.....รูปเป็นเหตุแห่งความเป็นหญิง ๑๕. ปุริสภาวรูป.....รูปเป็นเหตุแห่งความเป็นชาย ๑๖. หทยรูป..........รูปที่อาศัยเกิดของจิตแลเจตสิก ๑๗. ชีวิตรูป..........รูปที่รักษากลุ่มที่เกิดจากกรรม ๑๘. อาหารรูป.......รูปโอชะที่อยู่ในอาหาร ๑๙. ปริจเฉทรูป.......รูปที่เป็นความว่างคั่นรูปต่อรูป ๒๐. กายวิญญัติรูป....รูปที่แสดงการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น ขวักมือ ๒๑. วจีวิญญัติรูป.....รูปที่แสดงการเคลื่อนไหวทางวาจา ๒๒. ลหุตารูป....... รูปเกิดเป็นความเบา ๒๓. มุทุตารูป........ รูปเกิดเป็นความอ่อน ๒๔. กัมมัญญตารูป...รูปเกิดเป็นความควร ๒๕. อุปจยรูป........รูปแรกเกิด ๒๖. สันตติรูป........รูปที่เกิดสืบต่อ ๒๗. ชรตารูป........รูปที่เกิดแก่ใกล้ถึงความดับ ๒๘. อนิจจตารูป.....รูปที่ดับ แต่ถ้าเรามาทำความเข้าใจว่ารูปปรมัตถ์ตรงนี้ นัยการปฏิบัติเป็นอะไรๆ แล้วเราจะรู้เลยว่าเราปฏิบัติจะดึงอะไรมาบ้าง มันเกิดขึ้นทางไหนบ้างที่จะผ่านทวารได้ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ผ่านทวารไหน ? ปริจเฉทรูป ? เรากำหนดได้ไหม …ไม่ได้ ดังนั้นจึงบอกว่า ...นัยการปฏิบัติ รูปมี ๖ ...นัยปริยัติ รูปมี ๒๘ ซึ่งมีคำอธิบายในอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ นาม ตามนัยปริยัติ มี ๑. นามจิต ได้แก่จิตทั้งหมด ๘๙ ดวง : ..... อกุศลจิต ๑๒ .....อเหตุกจิต ๑๘ .....มหากุศลจิต ๘ มหาวิบากจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ .....มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตวิบากจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ .....มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ ถ้าตามนัยองค์ฌาน ก็เป็น ๑๒๑ แต่ให้นับเนื่องแค่ ๘๙ จะหาชื่อจิตเหล่านี้ และทำความเข้าใจได้ใน อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ ๒. นามเจตสิก ได้แก่เจตสิก ๕๒ ดวง : .....สัพพจิตตสาธารณะ ๗ .....ปกิณณกะ ๖ .....โมจตุกะ๔ โลติกะ๓ โทจตุกะ ๔ ถีทุกะ ๒ วิจิกิจฉา ๑ .....โสภณ ๒๕ ศึกษารายละเอียดได้จาก อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ ฉะนั้น รูปนามตามนัยของการปฏิบัติ กับรูปนามตามนัยของปริยัติ จึงมีความแตกต่างละเอียดวิจิตรพิสดารมาก สุขุมคัมภีรภาพต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น รูป นัยปริยัติ บอกว่า รูป ๒๘ นาม นัยปริยัติ บอกว่า นามจิต กับนามเจตสิก รูปนามตามนัยของการปฏิบัติ หมายถึงรูปนามที่ใช้ปฏิบัติวิปัสสนา และรูปนามที่จะใช้ปฏิบัตินี้ เป็นรูปนามทางไหนบ้าง?รูปนามที่จะใช้ คือ รูปนามทางตา รูปนามทางหู รูปนามทางจมูก รูปนามทางลิ้น รูปนามทางกาย รูปนามทางใจ แค่นั้นเอง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจะต้องเรียนให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรคืออะไร ไม่ใช่ว่าไม่รู้และไม่เข้าใจ ยกกะบิขึ้นไป…ไม่ได้ ถ้าจะปฏิบัติวิปัสสนาต้องรู้ ต้องเป็น เพราะถ้าไม่รู้ ไม่เป็น ไม่เป็นวิปัสสนา และก็ไม่ถึงวิปัสสนา เมื่อเข้าใจแล้ว ก็เอาความเข้าใจเหล่านี้แหละไปปฏิบัติวิปัสสนา ฉะนั้นจึงเรียกว่า เราจะต้องศึกษาหาความรู้ให้ละเอียดขึ้นไปอีก ….รูปที่ใช้ปฏิบัติวิปัสสนา หมายถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของสติ และปัญญาทางทวารทั้ง ๖ เท่านั้น รูปที่เป็นอารมณ์ของสติ และปัญญาทางทวารทั้ง ๖ เท่านั้น ได้แก่อะไรบ้าง? ได้แก่ ๑. รูปทางตา .....คือรูปารมณ์ ได้แก่สิ่งเห็นเป็นสีต่างๆ ๒. รูปทางหู .....คือ สัททารมณ์ ได้แก่เสียงต่างๆ ๓. รูปทางจมูก ...คือ คันธารมณ์ ได้แก่กลิ่นต่างๆ ๔. รูปทางลิ้น ...คือ รสารมณ์ ได้แก่รสต่างๆ ๕. รูปทางกาย ...คือโผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง ๖. รูปทางใจ .....คือรูปที่อยู่ในท่านั่ง เรียกว่ารูปนั่ง รูปที่อยู่ในท่านอน เรียกว่ารูปนอน รูปที่อยู่ในท่ายืน เรียกว่ารูปยืน รูปที่อยู่ในท่าเดิน เรียกว่ารูปเดิน รูปทั้ง ๖ เหล่านี้เป็นอารมณ์ของสติและปัญญาโดยตรง ถ้าจะเจริญปัญญา …กำหนดรู้ รูปนั้น นามนั้น การกำหนดรู้รูปนั้น นามนั้น ตามนัยแห่งการเจริญนั้น เรียกว่า ..การเจริญสติปัฏฐาน หรือการเจริญวิปัสสนา ฉะนั้น จะเห็นความแตกต่าง พิสูจน์ได้ สัตวโลก มีเหมือนกันหมดทุกคน แต่ตอนปฏิบัติ ไม่เหมือนกันเลย ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ นั่งอยู่นี่ ..ชีวิตรูป มีทุกคน …อิตถีภาวรูป ผู้หญิง…ปุริสภาวรูป ผู้ชาย มีหมด เรียนให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าแจกแจงชีวิตออกมาเป็นแบบนี้ๆ แต่เวลาปฏิบัติ ตัวใครตัวมัน อตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ ตนนั้นเป็นที่พึ่งแห่งตน นาม นัยปริยัติ ได้แก่ นามจิต และนามเจตสิก แต่นาม ที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ ๘๙ หรือ ๕๒ นามที่ใช้ปฏิบัติวิปัสสนา หมายถึงนามที่เป็นอารมณ์ของสติ และปัญญาทางทวารทั้ง ๖ เหมือนกัน ๑. นามทางตา ...คือ
_/\_

Best regards,
นส.จิราภรณ์ เนื่องเจริญ *หน่อย*
Miss. Jiraporn Nuangcharoen *NOI*
Mobile:085-506-4499, 086-565-7599
081- 815-8598 ,087-134-6655
*สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ*

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 พฤษภาคม 2012 เวลา 16:00 น.
 

วิธีทวงเงินจากลูกหนี้

พิมพ์ PDF

ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดถ้ำขาม สกลนคร เคยเล่าให้ศิษยานุศษย์ฟังว่า ศิษย์ผู้หนึ่งของท่านมีความทุกข์ใจมาก เพราะถูกขอยืมเงินไปสองแสนบาท ซึ่งในเวลากว่า ๒๐ ปี มาแล้วนับว่าจำนวนมาก สัญญาว่าจะใช้คืนเมื่อนั้นเมื่อนี้ แต่ถึงเวลาแล้วก็ไม่ได้คืน จำเป็นต้องใช้ ไปขอคืนก็ปฏิเสธบิดพริ้วต่างๆ นานา เจ้าของเงินจำเป็นต้องใช้จริงๆ แต่ก็ไม่สามารถขอคืนได้ ได้อ้อนวอนขอให้ท่านอาจารย์ท่านช่วยภาวนาให้ได้เงินคืน เพราะจำเป็นต้องใช้จริงๆ ไม่ได้คืนต้องแย่แน่

ท่านอาจารย์ท่านได้เล่าว่า ท่านช่วยอะไรไม่ได้หรอก นอกจากจะบอกให้วิธีให้ช่วยตัวเอง ทำเองตามท่านบอกแล้วจะได้เงินจำนวนนั้นคืนแน่ และท่านก็บอกวิธีให้เขา เขาก็ทำตามและเขาก็ได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ให้ยืมไป วิธีท่านอาจารย์ฝั้นท่านบอกศิษย์ของท่านเพื่อให้ได้เงินคืนก็คือ ทุกครั้งที่สวดมนต์ไหว้พระแล้ว ให้อธิษฐานจิตขอให้ผู้เป็นลูกหนี้นำเงินจำนวนนั้นมาคืนเถิด อธิษฐานจิตให้แน่วแน่ แล้วก็หยุดความคิดถึงเงินนั้นให้เด็ดขาดไป เพ่งจิตไปที่คำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ นั้นเอง

ภาวนาไปเรื่อยๆ จะกี่วันกี่เดือนกี่ปี แล้วแต่จิตของเขาจะรวมได้เมื่อไร ก็เมื่อนั้นจะได้เงินคืนตามจำนวนที่เขาขอยืมไป ท่านอาจารย์เล่าว่าวันสองวันเท่านั้นศิษย์ของท่านก็ทำสำเร็จ เขามาหาท่านอย่างยิ้มแย้มแช่มชื่นมีความสุขและเล่าให้ท่านฟังว่า เขาได้เงินสองแสนที่ให้ยืมไปกลับคืนครบถ้วนแล้ว หลังจากทำตามที่ท่านอาจารย์สอน

ท่านบอกว่าเขาเล่าว่า เมื่อเขาอธิษฐานแล้วก็หยุดคิดถึงเงิน หยุดคิดถึงคำอธิษฐาน ตั้งใจภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น จนกระทั่งวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ ต่อมา จิตก็สงบ เกิดความสว่างไสวและลูกหนี้ก็นำเงินมาใช้คืนให้ครบถ้วน ไม่บิดพริ้วอีกต่อไป

เขาก็ได้ใช้เงินนั้นสบายใจ ไม่เดือดร้อนอีกต่อไป ท่านอาจารย์ท่านเบิกบานแจ่มใสเมื่อสอนศิษย์ต่อไปว่า ให้พากันช่วยตัวเองตามวิธีง่ายๆ ที่ท่านแนะนำเถิด จะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินขาดอีกต่อไป

 

มนุษย์สัมพันธ์

พิมพ์ PDF

มนุษย์สัมพันธ์

มนุษย์เกิดมาไม่เท่าเทียมกัน มนุษย์จะต้องอยู่ด้วยกันอย่างสันติ และเป็นสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเก่งเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ บางคนเก่งเรื่องงาน จงถามตัวเองว่า เราเก่งเรื่องความสัมพันธ์ เป็นที่รักของทุกๆคน แต่งานไม่ดี จะทำอย่างไร หรือเราเก่งเรื่องงานแต่มนุษย์สัมพันธ์ไม่ดีจะทำอย่างไร จุดอ่อนของคนที่ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์  จะขาดการยอมรับ ไม่ค่อยจะมีคนช่วยเหลือ ไม่มีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ไม่ค่อยจะมีคนช่วยหรือร่วมงาน ถ้าเรามีปัญหามากๆในที่สุดเราก็อยู่ไม่ได้ หรืออยู่ไปแบบไม่มีความสุข ต้องหัดปรับตัวเองให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มนุษย์สัมพันธ์ เกิดขึ้นระหว่าง เพื่อนร่วมงาน  เรากับลูกน้อง  เรากับเจ้านาย เรากับผู้ที่มาติดต่อหรือลูกค้า เรากับภรรยา เรากับพ่อแม่ เรากับลูกหลาน เป็นต้น

การบริหารอารมณ์

ความสำเร็จของการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มาจากความอดทนในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ในแต่ละวันเราต้องทำงานหนัก และเหนื่อย อารมณ์จะขึ้นลงตามสถานการณ์ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการจัดการรับอารมณ์ของตนเอง จะมีความสำเร็จกว่า 90% บุคคลที่อารมณ์ร้ายจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน อารมณ์ที่ควบคุมได้ เริ่มจากการมีวินัยของตนเอง ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น สามารถทำงานหรือดำรงชีวิต ร่วมกับคนอื่นได้สบาย ปัจจัยเรื่องอารมณ์จะต้องเน้นมากๆ         โดยทั่วไปการทำงาน จะเน้นเรื่องงาน ข้อมูล ผลประโยชน์ แต่ละเลยเรื่องความรู้สึก ของนาย ของตัวเอง ของเพื่อนร่วมงานและของผู้รับบริการ การบริหารอารมณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องรู้ตัวเองว่าทำอะไรอยู่ ถ้าอารมณ์เริ่มรุนแรง ต้องควบคุมให้ได้ เมื่อเข้าใจตัวเองก็ต้องบริหารให้ได้ เช่น บริหารความโกรธ ความเจ็บปวด และบริหารความรู้สึก พยายามอ่านอารมณ์ของเพื่อนร่วมงาน และช่วยเหลือให้เพื่อนร่วมงานบริหารอารมณ์ของเขาให้ดีขึ้น การมีอารมณ์ที่ดี เริ่มจากการมีความคิดที่ดีต่อตัวเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อเจ้านาย ต่อลูกค้า ตลอดเวลา

เราต้องรู้ความรู้สึกของตัวเอง รู้อย่างแม่นยำ และมั่นใจตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มบริหารตัวเอง โดยการควบคุมตัวเองอย่างโปร่งใส ปรับตัวเอง  มีผลงาน  มีการริเริ่ม มีทัศนคติเป็นบวก เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องเข้าใจและห่วงใยความรู้สึกของคนอื่น มีความเข้าใจองค์กรว่าเกิดมาเพราะอะไร ต้องอยู่ร่วมกัน เกิดมาให้ ไม่ใช่รับ อย่างเดียว

การบริหารความสัมพันธ์ เริ่มจากการเป็นผู้นำที่จุดประกาย มีอิทธิพลในการพัฒนาตัวเองและคนอื่น บริหารการเปลี่ยนแปลง ลดการขัดแย้ง สร้างทีมงานและทำงานเป็นทีม การบริหารทีมต้องมีความจริงใจต่อกัน อธิบายและถ่ายทอดให้ทุกคนรับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้สึกร่วมกัน เคารพความหลากหลายของทีม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

20 เมษายน 2555

 


หน้า 532 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8607524

facebook

Twitter


บทความเก่า