Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

พิมพ์ PDF

ผมเพิ่งรู้จัก โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ เมื่อ ผศ. ดร. พิเชษฐ์ พินิจ แห่ง มจธ. ส่งร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ของโครงการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในแนว Project-Based Learning สำหรับโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ความยาว ๓๓๕ หน้า มาให้ผมให้ความเห็น ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็ทำให้ผมได้ความรู้มาก ขอขอบคุณ ดร. พิเชษฐ์ ไว้ ณ ที่นี้

นี่คือนวัตกรรมหลายชั้นในวงการศึกษาไทย ได้แก่ (๑) การเรียนควบสายอาชีพกับสายสามัญ คือ ปวช. ควบ ม. ปลาย (๒) เพื่อผลิตนวัตกร นักเทคโนโลยี หรือนักประดิษฐ์ (๓) เรียนฟรี รวมทั้งกินอยู่ฟรีในหอพักด้วย (บังคับให้ต้องอยู่หอพัก) เพื่อดึงดูดเด็กที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (๔) เรียนแบบ Project-Based Learning (PjBL)

โครงการ โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ในขณะนี้มี ๕ แห่ง รับนักเรียนแห่งละ ๓๐ คน ได้แก่

  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) ตั้งอยู่ที่อำเภอพานทอง สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม
  • วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จ. นครราชสีมา สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม
  • วิทยาลัยเทคนิคพังงา สาขาวิชาเทคโนโลยีการท่องเที่ยว
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

การริเริ่มมีมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ โดยความร่วมมือของ สวทน. กับ สอศ. แต่ในรายงานไม่ได้ระบุชัดว่า เริ่มรับนักเรียนในปีใด แต่ก็เดาได้ว่าดำเนินการมาหลายปีแล้ว เพราะนักเรียนของชลบุรีจบแล้ว ๓ รุ่น และอีก ๔ แห่งจบไปแล้ว ๑ รุ่น งานวิจัยชิ้นนี้เป็นทั้งการประเมินผล (ถอดบทเรียน) การดำเนินการ และการเสนอแนะแนวทางปรับปรุง

หัวใจอยู่ที่การจัดการเรียนรู้แบบใหม่ เป็น PjBL ที่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกลับหน้ามือ เป็นหลังมือสำหรับครู ที่คุ้นเคยกับการสอนแบบถ่ายทอดความรู้ (LBT – Lecture-Based Teaching) มาเป็นเวลานาน จึงเดาได้เลย ว่าการจัดการเรียนรู้แบบใหม่นี้ปัญหาอยู่ที่ครู และอยู่ที่การจัดการ การเปลี่ยนแปลง

ทีมวิจัยทำงานทบทวนวรรณกรรมเรื่อง PjBL มาดีมาก แถมยังไปดูงานการเรียนรู้แบบนี้ที่ฝรั่งเศส และเยอรมัน

หลักการที่สำคัญของการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือการเป็นระบบเปิด หรือระบบที่ยืดหยุ่น คือเส้นแบ่งระหว่างการศึกษา ต่างสายบาง หรือจางลงไป พูดง่ายๆ คือเรียนข้ามสายได้ คนที่เรียนสายอาชีวะ เมื่อไปพบว่าตนเองมีความถนัด และชอบงานด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ ก็เปลี่ยนสายได้ หรือเปลี่ยนกลับทาง จากสายวิชาการไปสู่สายอาชีวะ ก็ได้ โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์น่าจะเป็นฐานของความยืดหยุ่นนี้

ความยืดหยุ่นนี้ สามารถยกระดับขึ้นได้ เมื่อผสมผสาน CBL (Competency-Based Learning) เข้ากับ PjBL ซึ่งจะทำให้นักเรียนบางคนเรียนหลักสูตร ๓ ปี จบภายใน ๒ ปี หรือ ๒ ปีครึ่ง อาจใช้เวลาที่เหลือ ทำหน้าที่ “ผู้ช่วยครู” หรือทำงาน หรือเป็นผู้ช่วยนักวิจัย หรือไปทำงานรับใช้สังคม หรืออื่นๆ ซึ่งก็คือการเรียนรู้ในมิติอื่นนั่นเอง จุดสำคัญคือ สังคมไทยมีการทำงานจริง ให้เยาวชนได้เรียนรู้ในทุกด้าน และมี การประเมินผลการเรียนรู้ เอาไปเป็นหน่วยกิตเพื่อการเรียนต่อ หรือเพื่อรับใบรับรอง เช่นประกาศนียบัตรหรือ ปริญญา ได้ โดยที่มีกระบวนการทำให้ผลการประเมินนั้น แม่นยำ เชื่อถือได้ โดยมีระบบตรวจสอบความแม่นยำของการประเมินนั้น อย่างต่อเนื่อง

วิจารณ์ พานิช

๑๖ เม.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2014 เวลา 10:03 น.
 

From Professor Dr. Chetana Nagavajara

พิมพ์ PDF

rom Professor Dr. Chetana Nagavajara

Dear Friends,

You may have received news in the Western press concerning the coup d'etat in Thailand that took place on Thursday, 22 May, at around 4.30 p.m.. Perhaps an insider's view may help to clarify certain issues that are not easily comprehensible to outsiders.

Demonstrations against the government started about 6 months ago. The original target was the passage of an amnesty law that would exculpate former Prime Minister Thaksin Shinawatra, his successor and his gang of all criminal charges, including court verdicts already made. On several occasions, crowds of millions took to the streets demanding the resignation of the government.

Harassments usually take the form of armed attacks of limited scale, and during the past 6 months, 23 people have been killed and over 800 have been wounded, some seriously. Not a single arrest has been made by thepolice.

During the past few weeks huge illicit arms caches have been found by the military, particularly in Bangkok, and it has been proved beyond any doubt that a plan for a massacre of the demonstrators was afoot. This past week, the Commander in Chief of the army volunteered his services as the negotiator between the opposing political factions. One solution proposed was for the acting government to resign in order to make way for a neutral government to step in to carry out reforms, especially of the election law so as to prevent vote buying and rigging. The acting government would not budge. A coup d'etat was the last thing people wanted, and the military did not want it either. With an imminent mass murder or, worse still, a civil war, the military had to act. People like myself personally have opposed coups d'etat all along, but this time have had to stomach it as a measure to prevent loss of lives.

A civilian government will be installed soon, and the months ahead will be a fraught with all kinds of difficulties, economic as well as political. The new government's first task will be to pay back the government's debt owed to the rice farmers; its magnitude is astronomical, as the previous government has embezzled about two-thirds of the budget. To keep law and order and to prevent violence, it will have to rely on the military. On the diplomatic front, most of the Western countries will be reluctant to cooperate with an "appointed" government.

Parliamentary democracy in the Western sense (though the Senate is still functioning) is being suspended for a while as a matter of expediency, and in the eyes of our Western friends, this is a crime. We need time to put our house in order and to survive the legacy of 10 years of malicious and cunning corruption.

Do not condemn us, but do please pray for us.

Yours

Chetana

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

จากชาวไทย ถึงชาวโลก

พิมพ์ PDF

จากชาวไทย ถึงชาวโลก

อธิบายสภาพวิกฤติการเมืองไทยที่จะต้องแก้ไข ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๓ พ.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2014 เวลา 18:00 น.
 

ประเมินเพื่อมอบอำนาจ : ๓. การประเมินเพื่อพัฒนา

พิมพ์ PDF

บันทึกชุด “ประเมินเพื่อมอบอำนาจ” (การเรียนรู้) ๑๐ ตอน ชุดนี้ ตีความจากหนังสือ Embedded Formative Assessment เขียนโดยDylan Wiliam เพื่อเสนอใช้การทดสอบหรือการประเมินในทางบวก ต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบเนียนไปการกระบวนการเรียนรู้ของศิษย์ และเนียนไปกับการโค้ชศิษย์ เพื่อใช้ “การประเมินเพื่อพัฒนา” (formative assessment) ยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน ด้วยความเชื่อว่า การใช้ “การประเมินเพื่อพัฒนา” ที่ดำเนินการโดยครูในชั้นเรียน และดำเนินการอย่างถูกต้อง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียน (learning outcomes)

บันทึกตอนที่ ๓ นี้ ตีความจากบทที่ ๒ The Case forFormative Assessment เป็นการทบทวน ที่มาและนิยามของ formative assessment อย่างละเอียดมาก และชี้ให้เห็นว่าการประเมินจะ formative หรือไม่ขึ้นกับจุดมุ่งหมาย และวิธีการใช้การประเมินนั้นเมื่อไรต้องการใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ การประเมินนั้นก็จะเป็น formative และยิ่งกว่านั้น การประเมินแบบ summative ยังสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แบบ formative ได้ด้วย

อ่านข้อความในบทที่ ๒ นี้ทั้งหมดแล้ว ผมฟันธงว่า ต้นเหตุมาจากธรรมชาติของการเรียนการสอน ที่เป็นกระบวนการที่ไม่มีใครรู้ว่าผลที่แท้จริงจะออกมาอย่างไร คือเป็นกระบวนการ เคออร์ดิค (chaordic = chaos + order) แต่ที่ผ่านมา วงการศึกษาของทั้งโลกหลงผิด คิดว่าการศึกษาเป็นกระบวนการที่ตรงไปตรงมา (simple, linear)เช่นหลงคิดว่า

-เมื่อครูสอน นักเรียนต้องได้เรียนรู้

-เมื่อนักเรียนมีความรู้เรื่องนั้น ๔ หน่วย ครูสอนเพิ่มอีก ๑ หน่วย นักเรียนต้องมีความรู้เพิ่มเป็น ๕ หน่วย

การเรียนรู้ไม่ได้เป็นสิ่งตรงไปตรงมาเช่นนั้น แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมาก ยากที่จะเข้าใจ การประเมินกระบวนการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ นาทีต่อนาที วันต่อวัน จึงมีคุณค่าช่วยให้มีข้อมูลว่าการเรียนรู้ก้าวหน้าไปแค่ไหนผู้เดินเรือในมหาสมุทรต้องการเข็มทิศ เพื่อบอกทิศทางและตำแหน่งของเรือฉันใด การเรียนรู้ก็ต้องการการประเมินเพื่อพัฒนา สำหรับเป็นข้อมูล บอกทิศทางและความก้าวหน้าของการเรียนรู้ ฉันนั้น โดยผู้ใช้ข้อมูลนั้นมี ๓ ฝ่าย คือ ครู ตัวนักเรียนเป็นรายคน และเพื่อนๆ นักเรียนในชั้นครูใช้ปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ที่ตนวางแผนจัด นักเรียนแต่ละคนใช้ปรับปรุงการเรียนของตน นักเรียนทั้งชั้นใช้ในการร่วมกันปรับปรุงบรรยากาศการเรียนในชั้น

กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ครูจัดบรรยากาศการเรียน ให้นักเรียนได้เรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับครู กิจกรรมหรือกระบวนการนี้มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีผลของ formative assessment เป็นข้อมูลป้อนกลับ (feedback) สำหรับใช้ปรับตัวของครู ของนักเรียนแต่ละคน และของนักเรียนทั้งชั้น


การประเมินเพื่อพัฒนา

formative assessment แปลตรงตัวได้ว่า การประเมินเพื่อยืนยัน หมายความว่า ประเมินเพื่อบอก ความคืบหน้าของการเรียน แต่มีความสับสนในการใช้คำนี้ อาจทำให้ครูหลงใช้แบบไม่ก่อผลดีเท่าที่ควร เรื่องของคำ และความสับสนตอนใช้งานเครื่องมือต่างๆ นี้ หนังสือเล่มนี้เขียนดีอย่างน่ายกย่อง ผมคิดว่า Wiliam Dylan เขียนแบบคนรู้จริง เขาบอกว่า มีข้อพึงระวังในนิยามของการประเมินเพื่อพัฒนา

1.ใช้การประเมินเพื่ออะไร ไม่ใช่ประเมินอย่างไร คือตัว function ของการประเมิน เป็นตัวบอกว่าเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่รูปแบบ (form) ของการประเมิน คือดูที่ function เป็นหลัก ไม่ใช่ดูที่ form

2.ใครเป็นผู้ประเมิน ครูอาจเป็นผู้ดำเนินการประเมิน แต่ผู้ใช้ผลการประเมินเพื่อการตัดสินใจ ต้องเป็นทั้งครู นักเรียนแต่ละคน และนักเรียนทั้งชั้น

3.ต้องเน้นที่การตัดสินใจหลังได้ผลการประเมิน ไม่ใช่เน้นที่ความตั้งใจก่อนการประเมิน ถ้าการประเมินนั้นครูตั้งใจดีมาก ว่าต้องการใช้เป็น feedback ให้นักเรียนปรับตัว แต่เมื่อได้ผลการประเมิน ครูเก็บผลไว้กับตัวคนเดียว อย่างนี้ไม่เรียกว่าการประเมินเพื่อพัฒนา

4.ต่อจากข้อ ๓ ตัดสินใจแต่ไม่ทำก็ไม่ใช่ ต้องดูที่ผู้ลงมือดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนรู้ คือต้องมี ๓ ฝ่าย (ครู นักเรียนรายคน และนักเรียนทั้งชั้น)

5.ย้ำข้อ ๔ ว่าสิ่งที่ปรับปรุงคือ ทั้งการเรียน และการสอน

6.เป้าหมายของการปรับปรุงคือ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนดีขึ้น

Dylan Wiliam เขียนละเอียดยิ่งกว่านี้ เพราะเขาพบว่ามีการใช้ formative assessment ผิดๆ กันมาก เช่น มีบริษัทที่ปรึกษาขายชุดประเมินนักเรียน ที่เขาส่งแบบฟอร์มมาให้ครูประเมินนักเรียน แล้วส่งกลับไป ให้บริษัทตรวจ แล้วส่งผลกลับมาว่านักเรียนคนไหนที่มีสมรรถนะเพียงพอที่จะผ่านการทดสอบกลางของรัฐ (ในสหรัฐอเมริกา) อย่างนี้ไม่ใช่ formative assessment เพราะกว่าผลจะมาจากบริษัท การเรียนการสอน ก็เดินหน้าไปแล้ว

ผมสรุปกับตัวเองว่า formative assessment ต้องทำโดยครู ร่วมกับนักเรียน และทำในขั้นตอนของ การเรียนรู้ตามปกตินั่นเอง ผลของการประเมิน จะเป็นเสมือน GPS ของ “การเดินทาง” ของการเรียนรู้นั้น การศึกษาที่ดีเป็นกระบวนการที่ครูและนักเรียนร่วมกันเดินทางแห่งการเรียนรู้ และร่วมกันสร้าง GPS เพื่อตรวจสอบเส้นทาง ทิศทาง และผลของการเรียนรู้นั้น กระบวนการสร้าง “GPS เพื่อการปรับการเรียนรู้” นี้ เรียกว่า การประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment)

โปรดสังเกตว่า ผู้ใช้ข้อมูลจากการประเมินแบบนี้คือ ทั้งครู และนักเรียน ครูใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงการสอน นักเรียนใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงการเรียน การประเมินเพื่อพัฒนา จึงเป็นตัวเชื่อมการสอนกับการเรียนเข้าหากัน

ผมประทับใจข้อความในหนังสือ ที่เล่าผลงานวิจัย ว่าชั้นเรียนที่ครูใช้การประเมินเพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนจะเป็นเกือบ ๒ เท่าของชั้นเรียนที่ไม่ใช้การประเมินเพื่อพัฒนา และหากครูใช้โดย มีการปรึกษาหารือเป้าหมายการเรียนรู้ระหว่างครูและนักเรียนก่อนบทเรียนด้วย ผลสัมฤทธิ์จะยิ่งเพิ่มขึ้น เป็นเกือบ ๓ เท่า

ยุทธศาสตร์ในการใช้การประเมินเพื่อพัฒนา ให้เกิดผลเต็มที่มี ๕ ยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นสาระในบันทึก ๕ ตอนข้างหน้า ตอนละ ๑ ยุทธศาสตร์

วิจารณ์ พานิช

๓ ม.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๖๔. เยาวชนสร้างสรรค์

พิมพ์ PDF

มูลนิธิสยามกัมมาจล ทำงานส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ทำมา ๗ ปี ก็เริ่มชัดเจนขึ้น ว่าสังคมไทยต้องการการเปลี่ยนมุมมองต่อเยาวชนในลักษณะ "เปลี่ยนกระบวนทัศน์"

คือเปลี่ยนจากมองว่าเยาวชนเป็นตัวปัญหา เป็นมองเยาวชนเป็นโอกาส เปลี่ยนจากมองเยาวชนว่าเป็นผู้รับหรือผู้เสพ เป็นมองเยาวชนเป็นผู้ให้หรือผู้สร้างต้องมองเยาวชนในมุมมองเชิงบวกเช่นนี้ และหาทางส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาตนเอง ตามแนวทางนี้ เราก็จะได้เยาวชนสร้างสรรค์เต็มแผ่นดิน และเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อสังคม

การเปลี่ยนมุมมอง ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่อเยาวชน คือหัวใจของการพัฒนาเยาวชน

หากไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ การพัฒนาเยาวชนตามกระบวนทัศน์เดิมจะไร้ผล หรือจะยิ่งสร้างปัญหาทับถมให้แก่เยาวชน หรือให้แก่สังคมด้วยซ้ำไป

กล่าวอย่างไม่เกรงใจกัน ปัญหาเยาวชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน เกิดจากมิจฉาทิฐิ และมิจฉาปฏิบัติ ของสังคมต่อเยาวชน ทำให้เยาวชนขาดแรงบันดาลใจ ขาดจินตนาการ ขาดความมั่นใจตนเองที่จะทำสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม กลายเป็นผู้รอรับการหยิบยื่นจากผู้อื่น แทนที่จะรวมตัวกันลงมือทำสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม เพื่อการเรียนรู้และวางรากฐานชีวิตของตนเอง

นส. รัตติกา เพชรทองมา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน มูลนิธิกองทุนไทย กล่าวว่า "ที่ผ่านมา เราเป็นคนออกแบบเองว่าจะให้เยาวชนเรียนรู้อะไร แต่ครั้งนี้เขาเป็นคนเลือกเองว่าเขาสนใจอะไร เห็นเลยว่า ทักษะ หรือคุณลักษณะที่เราอยากให้เกิด มันเกิดจากที่เยาวชนได้ลงมือทำ ผิดบ้างถูกบ้าง แต่เขาโตขึ้น" ผมคัดคำพูดนี้มาจากรายงานของมูลนิธิ สยามกัมมาจล ที่เสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๗

วิจารณ์ พานิช

๓ พ.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2014 เวลา 17:33 น.
 


หน้า 352 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8656579

facebook

Twitter


บทความเก่า