Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

KM วันละคำ : ๖๒๘. ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ผมไปร่วมประชุมคณะผู้เขียน (ที่เป็นทั้งคนไทย และต่างชาติ) หนังสือเรื่อง Tacit Knowledgein Health Policy and Systems Development ที่นำโดย นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งาติ หนึ่งในคณะผู้เขียน คือ ดร. วัลลา ตัยตโยทัย แห่ง Gotoknow

ผมมีหน้าที่ไปให้ความเห็นในภาพรวม และร่วมประชุมในช่วงแรกเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แล้วก็ต้อง กลับบ้านเพื่อเตรียมตัวไปนอร์เวย์ในคืนนั้น คณะที่ประชุมเรื่อง Tacit Knowledge เขาประชุมกัน ถึงวันที่ ๒๔

ผมเกิดความคิดขึ้นว่า น่าจะลองใคร่ครวญไตร่ตรองดูว่า ทำไมเราจึงต้องให้ความสำคัญแก่ TK การให้ความสำคัญแก่ TK และเอา TK มาใช้ประโยชน์เป็น มันก่อคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง เอาผลการ ใคร่ครวญตีความนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยไม่ยืนยันว่า สิ่งที่เอามาแลกเปลี่ยนจะถูกต้อง

ผมขอให้ความเห็นว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญแก่ความรู้ฝังลึก เป็นข้อๆ ดังนี้

  • ๑.เพื่อให้ความรู้ครบถ้วน สิ่งที่เรียกว่าความรู้นั้น จริงๆ แล้วเป็นสมมติ พัฒนาการความรู้ ที่มาทางสายวิทยาศาสตร์ เน้นพยานหลักฐาน (evidence) ที่ตรวจสอบหรือทำซ้ำได้ ทำให้คนเรายึดมั่นถือมั่นเฉพาะความรู้แนววิทยาศาสตร์ (scientific) ปฏิเสธความรู้ แนวประสบการณ์ (experiential) ที่มีลักษณะผูกพันอยู่กับบริบท (context) ที่จำเพาะ ที่เรียกว่า tacit knowledge แม้ Polanyi จะเสนอความสำคัญของ “personal knowledge” ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑
  • ๒.เพื่อให้เกิดพลังในการนำเอาความรู้มาสร้างการเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ชีวิตบอกผมว่า ในหลายกรณี ความรู้ทฤษฎี (Explicit Knowledge) ที่มีพยานหลักฐานสนับสนุนอย่างดี ไม่มีพลังเพียงพอในการ สร้างการเปลี่ยนแปลง หากนำเอาความรู้ฝังลึกเข้ามาช่วย หรือในหลายกรณี เอาความรู้ฝังลึกเป็นตัวหลัก ใช้ความรู้ทฤษฎีหนุน ก็สามารถขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลงยากๆ ในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เปลี่ยนวัฒนธรรม ได้ ดังตัวอย่าง ขบวนการ HA, ขบวนการ R2R ของไทย รวมทั้งที่เรากำลังใช้ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ ของบุคลากรสุขภาพ อยู่ในขณะนี้
  • ๓.เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ และวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้เพื่อการใช้งาน เน้นความรู้เพื่อ การทำงานให้เกิผลที่ต้องการ ไม่ใช่ความรู้เพื่อรู้แต่ไม่ทำ ไม่ใช่ความรู้เพื่อการอภิปราย หรือโอ้อวดว่าเป็นผู้รู้ โดยผลเสนอต่อที่ประชุม (และทุกคนเห็นด้วย) ว่า ให้นิยาม tacit knowledge ที่การกระทำ และระบุ TK จากผลของการกระทำ มอง TK ว่าเป็นความรู้ เพื่อการกระทำ และเป็นความรู้เพื่อการกระทำ
  • ๔.TK มีผลเสริมพลัง (empower) EK และในทางกลับกันก็สามารถใช้ EK ในการตีความ ทำความเข้าใจ TK ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดเป็นวงจรหมุนเกลียวความรู้ ยกระดับความรู้ ผ่านการปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช

๒๒ เม.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 พฤษภาคม 2014 เวลา 21:29 น.
 

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๑๐. นักเรียนยุคดิจิตัล (จบ)

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจาก Edge 6. The Youth Edge : Digital Learners Carrying Change in Their Pockets

นักเรียนในยุคปัจจุบันเกิดมาในยุคดิจิตัล และเติบโตมากับเครื่องเหล่านั้น เขามีทักษะในการใช้เครื่อง ไอซีที เป็นเรื่องปกติในชีวิต พูดง่ายๆ คือ เก่งกว่าครู

ชีวิตประจำวันของเด็กเหล่านี้ อยู่กับเครื่องมือ ไอซีที และหากได้รับการชักชวนให้ใช้เครื่องมือนี้ทำงาน สร้างสรรค์ที่ตนชอบ เขาจะทำอย่างกระตือรือร้น และเกิดการเรียนรู้สูงมาก มีความสามารถสร้างสรรค์สูงมาก อย่างไม่น่าเชื่อ

ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งคือ ให้/ใช้ นักเรียนเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนรู้ของตนเอง วิธีจัดการเรียนการสอนของครู และเปลี่ยนบทบาทของนักเรียน โดยเขาให้นักเรียนช่วยกันเขียน “บทบาทหน้าที่ (job description) ของนักเรียน” ตามแนวความคิดว่า นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนักเรียนจะต้องมีทักษะ/สมรรถนะ ดังต่อไปนี้


ทักษะ (skills)

/ ด้านสารสนเทศ

-มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีค้นหาและวิเคราะห์สารสนเทศที่ต้องการ โดยที่ทักษะด้านการอ่านและเขียนตามคตินิยมของการเรียนรู้แบบเดิม บูรณาการอยู่ในทักษะที่ซับซ้อนชุดนี้

-มีทักษะในการผลิตสื่อผสม (multimedia) โดยสามารถเลือกใช้และผสมคำ ภาพ และเสียง เพื่อสื่อสารเรื่องราว บทเรียน หรือแนวความคิด

/ ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้ชั้นเรียนเป็นเสมือนที่ทำงานสมัยใหม่ โดยทีมนักเรียนร่วมกันผลิตผลงานที่ทะเยอทะยานก้าวหน้ากว่าที่คนคนเดียวจะสร้างสรรค์ได้ มีความสามารถสื่อสารต่อกัน และทำให้ความร่วมมือกันสร้างสรรค์เป็นสิ่งสนุกสนาน มีความเคารพในความแตกต่างทางความคิดและความแตกต่างอื่นๆ


คุณลักษณะ (qualifications)

/ มีความสงสัยใคร่รู้รอบด้าน เกี่ยวกับโลก ความสนใจวิทยาศาสตร์ และกลไกการทำงานของสิ่งต่างๆ รวมทั้งสนใจวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปะ

/ อยากมาโรงเรียน และไปยังสถานที่เพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยมาโรงเรียนตรงเวลา และมีความพร้อมที่จะเรียน

/ รู้หน้าที่เรียนของตน

/ มีความขยันหมั่นเพียร มีความยืดหยุ่นยืนหยัดในสถานการณ์ยากลำบากและไม่ชัดเจน

ข้อที่ควรย้ำคือ ต้องเน้นที่ตัวนักเรียน เป็นผู้ลงมือทำเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในระหว่างเพื่อนๆ รวมทั้งตัวนักเรียนก็เอื้อเฟื้อต่อครู ให้การทำหน้าที่ครูมีความสนุกสนานภาคภูมิใจ

โรงเรียน กลายเป็น “ศูนย์เรียนรู้” ทั้งของนักเรียน ครู และคนในชุมชน เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ

วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

เครือข่ายการพัฒนาครู

พิมพ์ PDF

หนังสือ พลังเครือข่ายในพื้นที่เขียนโดย ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง บอกว่า เครือข่ายการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีพลัง หากดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการจัดการเครือข่าย ดังกรณีโครงการ LLEN ประสบความสำเร็จสูงยิ่งในการยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน สู่การเรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑ จากความสามารถในการจัดการโดย ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ สนับสนุนโดย สกว.

จาก LLEN สู่โครงการ TC ก็จัดการเครือข่ายโดย ดร. เจือจันทร์ เจ้าเก่า คราวนี้เราเน้นที่ครูเป็นตัวหลัก และเน้นเทคนิคcoaching ที่ผมเน้นว่า ต้อง โค้ชด้วยการตั้งคำถาม (เชิงกัลยาณมิตร) มากกว่าด้วยการ “สอน” หรือแนะนำ ด้วยท่าทีที่เสมอกัน มากกว่าท่าทีของผู้รู้บอกผู้ไม่รู้ และต้องเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างครูกันเอง ที่เรียกว่า peer coaching

โดยมีเป้าหมายที่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จากเน้นถ่ายทอดความรู้ สู่เน้นให้นักเรียน ลงมือทำหรือปฏิบัติ เพื่องอกงามความรู้ขึ้นภายในตน มีเป้าหมายให้นักเรียนได้งอกงามพัฒนาครบด้าน ของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่หวังให้เรียนวิชาเพียงอย่างเดียว

ที่จันทบุรี ออกแบบการทำโครงการ TC โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเข้ามาทำหน้าที่ โค้ช ด้วย และให้ทีมของโรงเรียนหนึ่งไปโค้ช อีกโรงเรียนหนึ่ง สลับบทบาทกัน

โค้ช แบบพบหน้ากัน ทำได้ไม่บ่อย ก็ถ่ายวีดิทัศน์ ส่งไปให้ช่วยโค้ช

ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาครู พัฒนาให้เป็น โค้ช การเรียนรู้ของนักเรียนอีกต่อหนึ่ง

ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนี้ เรารณรงค์และส่งเสริมให้ครูลดบทบาท “ครูสอน” หันไปเน้นบทบาท “ครูฝึก” เน้นให้นักเรียนเรียนโดยลงมือปฏิบัติและคิดไตร่ตรอง

บ่ายวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมไปร่วมการประชุมประจำปี โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ที่ มศก. นครปฐม ได้ฟังครูสะท้อนให้ฟังว่า หลังเข้าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา (ซึ่งก็เน้นส่งเสริมให้ครูเปลี่ยนมาเป็น ครูฝึกเช่นเดียวกัน) ครูเปลี่ยนไปอย่างไร สรุปได้ว่า ครูพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ในเวลาปีเดียว พัฒนาความเป็นครู ทั้งด้านจิตวิญญาณของความเป็นครู และด้านทักษะของการเป็น “ครูฝึก”

จึงสรุปได้ว่า การรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียนรู้ เครือข่ายเรียนรู้ ของครู เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง โดยมีการจัดการเครือข่าย เป็นกระบวนการพัฒนาครูที่แท้จริง ดีกว่ากระบวนการพัฒนาครูในโครงการ SP2 ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ และดีกว่ากระบวนการพัฒนาครูโดยการสั่งให้ไปรับการฝึกอบรม ของกระทรวงศึกษาธิการ

การพัฒนาครูในรูปแบบโครงการ TC และโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา จะช่วยยกระดับคุณภาพครู ยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และช่วยลดความสูญเปล่าของงบประมาณพัฒนาครู

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มี.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 30 เมษายน 2014 เวลา 21:50 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๑๔๖. ฝึกทำเหมืองทอง

พิมพ์ PDF

มูลนิธิสยามกัมมาจลมีเจ้าหน้าที่หนุ่มสาวจำนวนหนึ่ง เข้าไปทำงานร่วมกับภาคี เพื่อพัฒนาเยาวชนโดยที่มูลนิธิฯ มียุทธศาตร์ทำหน้าที่เป็น catalyst เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ในด้านการพัฒนาเยาวชน ให้แก่สังคมไทย

มูลนิธิสยามกัมมาจล ทำงานมา ๗ ปี สั่งสมประสบการณ์และผลงานมากพอสมควรผมจึงปรึกษาผู้จัดการมูลนิธิ (คุณเปา - ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร) ว่าน่าจะทดลองตั้งวงคุยในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯในลักษณะของวงสุนทรียเสวนา (dialogue)เพื่อเรียนรู้จากงานที่ทำเป้าหมายสำคัญที่สุดคือ เรียนรู้คุณค่าของมันผมตั้งชื่อวงคุยนี้ว่า Morning Dialogue หรือสุนทรียสนทนายามเช้า คุยกันตั้งแต่ ๘.๐๐ - ๑๐.๐๐ น.โดยช่วง ๔๐ นาทีหลังจะเป็นการ AAR

เป้าหมายของวงเสวนาแบบนี้ เพื่อล่อหรือส่งเสริมให่ความรู้ที่หายาก โผล่ออกมาโดยที่ความยากคือคนไม่คุ้น ไม่มีจริตและทักษะของการประชุมแบบสุนทรียเสวนา (dialogue)คอยแต่จะทำ presentation ตามด้วย discussion อยู่เรื่อยวงเสวนาจึงแข็งๆ เกร็งๆไม่ลื่นไหล ไม่เฮฮาไม่มีบรรยากาศ "ส้นเท้า" (S. O. L. E. - Self-Organized Learning Organization) ที่มีบรรยากาศผ่อนคลายมีอิสระ ปลอดความกังวลเรื่องถูก-ผิดสมาชิกวงเสวนามีความไว้วางใจซึ่งกันและกันว่าทุกคนมีอิสระ ที่จะเผย ความในใจของตนออกมา

เช้าวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗ เป็นครั้งที่ ๓ ของวง Morning Dialogueโดยคุณแจงกับคุณโจ้ เตรียมมาเล่าเรื่อง โครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อพัฒนาเยาวชน คุณโจ้เตรียม PowerPoint อย่างดี เตรียมมานำเสนอระหว่างรอเวลาเริ่ม ผมชวนคุณโจ้กับคุณแจงคุยเรื่องการเรียนปริญญาเอก ที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสร้าง บรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นกันเอง

โจ้เตรียมมานำเสนอเต็มที่แต่ผมขัดขึ้นว่า โจ้กับแจงใครเด็กกว่า (อายุน้อยกว่า)ควรได้รับเกียรติเป็นคนพูดก่อน ตามหลัก KMแจงจึงต้องเป็นคนพูดก่อนผมรู้ว่าแจงคงจะไม่ได้เตรียมมานำเสนอคงจะตกลงกันกับโจ้ให้โจ้เสนอแต่จริงๆ แล้ววงแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้ เราไม่ต้องการให้นำเสนอต้องการให้เล่าเรื่อง (storytelling)ดังนั้น เมื่อแจง “นำเสนอ”ผมก็บอกที่ประชุมว่าในวงสุนทรียสนทนา เราไม่นำเสนอความคิดและการตีความเราเล่าเรื่อง ว่าตนเองได้ไปทำอะไร ด้วยความมุ่งหมายอะไร และเกิดอะไรตามมาคนที่ร่วมวงจะช่วยกันตีความ

ในที่สุด แจงกับโจ้ก็ช่วยกันเล่าเรื่องการไปทำงานร่วมกันกับ “พี่หนู” แห่งสงขลาฟอรั่ม ข้อค้นพบคือ การทำงานร่วมกัน ๑ ปี ทำให้ “พี่หนู” เปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยวิธีการพัฒนาเยาวชนเปลี่ยนจากเน้นที่การจัดโครงการ ชักชวนเยาวชนมาเข้ารับการอบรมมาเป็นชักชวนเยาวชนให้ร่วมกันคิดตั้งโจทย์ทำกิจกรรมที่ตนชอบ สนใจ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน/ท้องถิ่น ของตน

คือเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเยาวชน จาก Passive Learning เป็น Active Learningเยาวชนเป็นผู้รวมตัวกัน ลุกขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มลงมือทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง เรียนรู้ และทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน/ท้องถิ่น ของตน

วงเสวนา เห็นพ้องกัน ว่านี่คือข้อค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทั้งของ “พี่หนู” และของมูลนิธิสยามกัมมาจลค้นพบว่า การพัฒนาเยาวชนที่ถูกต้อง ไม่ใช่การจัดฝึกอบรม (Training-Based Development)แต่เป็น Project-Based Youth Development)ที่เยาวชนเป็นผู้ร่วมกันคิดโจทย์ และลงมือดำเนินการโดยมีพี่เลี้ยงคอยช่วยโค้ชเน้นการโค้ชโดยการตั้งคำถาม

เราตั้งคำถามว่า วงการพัฒนาเยาวชนในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้กระบวนทัศน์ที่ถูกต้อง หรือใช้กระบวนทัศน์ที่ผิดคำตอบคือส่วนใหญ่ผิดโจ้เดาว่าที่ถูกน่าจะมีราวๆ ร้อยละ ๑๐เราจึงได้ปณิธานความมุ่งมั่นร่วมกันว่ามูลนิธิสยามกัมมาจลจะ ดำเนินการสร้างกระบวนทัศน์ที่ถูกต้อง ในการพัฒนาเยาวชน ให้แก่ประเทศไทยโดยดำเนินการร่วมกับภาคีที่กว้างขวาง

นี่คือ “ทอง” ที่เราช่วยกัน “ขุด” หรือ “ถลุง” ออกมาจากประสบการณ์ของการทำงานได้เป็นสมบัติ (Knowledge Asset) ที่มีค่ายิ่ง ต่อการทำงานพัฒนาเยาวชน และต่อประเทศไทย

เมื่อได้ “ทอง” นี้แล้ว เราจะเอามาใช้ทำประโยชน์ต่อประเทศไทยต่อไปอย่างไร

ขอบันทึกเชิง AAR ว่าเหตุการณ์ในเช้าวันนี้ ช่วยให้ผมเรียนรู้มาก ในเรื่องวิธีจัดการประชุมเพื่อ “สะกัด” ความรู้ปฏิบัติ ออกมาจากทีมงานปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ “ความรู้ฝังลึก” โผล่ออกมาคือ

บรรยากาศอิสระ หรือ S. O. L. E.

มีเป้าหมายที่ทรงคุณค่าร่วมกัน

กระบวนการสุนทรียสนทนา

การมีประสบการณ์ร่วมกันและมีส่วนที่ประสบการณ์ต่างกัน

“คุณอำนวย” ที่มีทักษะสูง

วิจารณ์ พานิช

๒๕ มี.ค. ๕๗

บนรถตู้เดินทางไปจันทบุรี

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 เมษายน 2014 เวลา 08:49 น.
 

การปฏิรูปการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทย เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

พิมพ์ PDF

หัวข้อข้างบน คือข้อสรุปของผม หลังจากกลับมาจากจันทบุรีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ของ โครงการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching - TC) โดยมีหลักการคือ ครูต้องไม่เน้นสอน หรือถ่ายทอดวิชาแต่ต้องจัดการเรียนรู้แบบ active learningให้ศิษย์ได้เรียนรู้วิชาไปพร้อมๆ กันกับการพัฒนา ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ขึ้นในตัว

เราเคยได้ยินว่า ผู้บริหารโรงเรียนถือว่าตนเองไม่มีหน้าที่รับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนครูจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องรับรู้นี่คือคำติฉินนินทาที่ผมได้ยิน เรื่อยมา

แต่เมื่อผมไปจันทบุรีระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗ผมได้เห็นกับตา ได้ยินกับหู ว่าทีมงานของ มรภ. รำไพพรรณี สามารถชักชวนผู้อำนวยการโรงเรียนของทุกโรงเรียน ที่มาเข้าโครงการ TC ให้เข้ามาทำหน้าที่โค้ช ให้ครูเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอนคือไม่ใช่แค่มารับรู้แต่เข้ามาเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง

แถมยังมีรูปแบบ ที่โรงเรียนรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ผลัดกันทำหน้าที่ โค้ชและในโรงเรียนก็เกิด กิจกรรม peer coachingคือครูโค้ชกันเองครูกับโค้ชมีเวลาพบกันน้อยไป ก็ใช้วิธีถ่ายวีดิทัศน์บรรยากาศ ในห้องเรียนส่งไปให้โค้ชให้คำแนะนำมีการปรึกษาหารือกันผ่าน social media

เมื่อใจของครู ใจของผู้บริหาร อยู่ที่การเรียนรู้ของศิษย์คุณภาพการศึกษาย่อมพัฒนาขึ้นได้พัฒนาขึ้นโดยพฤติกรรมของครู และพฤติกรรมของผู้บริหาร ที่เปลี่ยนไป

ในวงการศึกษานานาชาติ มีคำเด็ดคือ student engagementว่าเป็นหัวใจของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑แต่ที่จันทบุรี ผมไปเห็น teachers engagement และ directors engagementที่เป็นแม่เหล็กดึง student engagement

การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เหล่านี้แหละที่จะเป็นเชื้อ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ

ในการประชุมนี้ คณะกรรมการชี้ทิศทางของโครงการ ได้แสดงความพึงพอใจอย่างยิ่ง ในความก้าวหน้า ของโครงการ TC มีจังหวัดจันทบุรีโดยเฉพาะวิธี “เข้ามวย” หรือกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานเป็นตัวอย่างของ change management ชั้นครูแม้หัวหน้าโครงการจะยังสาวอยู่ คือ ดร. หฤทัย อนุสสรราชกิจ ผมเรียก ยุทธศาสตร์นี้ว่า “ยุทธศาสตร์ comprehensive engagement”

ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร แนะนำว่าทีมนักวิจัยในโครงการ TC ทุกโครงการกำลังทำ change managementดังนั้น ทีงานจึงควรเข้าใจเรื่อง KM และรู้จักใช้ KM เป็นเครื่องมือจัดการการเปลี่ยนแปลง ท่านเพิ่งฟังผมพูด เรื่อง KM สำหรับผู้บริหาร ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารของ มช.เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗จึงแนะนำให้ผู้บริหารและทีมงานของโครงการ TC ทุกโครงการได้ทำความรู้จักสามารถฟัง narrated ppt ของการบรรยายนั้นได้ ที่นี่

ท่านชื่นชมโครงการที่ให้ครูเขียนบันทึกการสอน และบันทึกการเปลี่ยนแปลงโดยแนะนำว่า การคิดมาจากการเขียนเป็นหลักเป็นกลไกช่วยการตกผลึกความคิดที่จริงผมเองก็เชื่อว่า หากให้นักเรียน เขียนบันทึกการเรียน แล้วนำมา ลปรร. กัน (เรียกว่าทำ reflection) จะเกิดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงและลึกซึ้ง ขึ้นอีกมาก

ดร. กฤษณพงศ์ท่านแนะนำให้ทำความเข้าใจแรงต้านการเปลี่ยนแปลงและวิธีหักมุม ให้แรงต้าน กลายเป็นแรงผลักทำให้ผมคิดว่าน่าจะมีคนทำวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ และวิธีการทำแรงลบให้เป็นแรงบวก

มีการพูดกันถึงเครื่องมือวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งควรทำไป ๒ ทางพร้อมๆ กันคือครูในวง TC รวมกลุ่มกันสร้างขึ้นกับ สกว. / สพฐ. ร่วมกันจัดทีมนักวิชาการดำเนินการพัฒนาแล้วจัด workshop เป็นระยะๆ เพื่อหลอมรวมเครื่องมือวัดจาก ๒ ทางเข้าด้วยกัน

ผมเองมีความเห็นว่า เครื่องมือวัดนี้ควรพัฒนาขึ้นจากการปฏิบัติ ให้น้ำหนัก ๒ ส่วนที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎี ให้น้ำหนัก ๑ ส่วนแล้วนำมาหลอมรวมกันเป็นแนวทางย้ำว่าเป็นแนวทาง ไม่ใช่เป็นมาตรฐานตายตัวเพื่อให้ครูเอาไปใช้และพัฒนาขึ้นไปอีก

ตัวสำคัญในการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่เครื่องมือไม่ใช่คอมพิวเตอร์แต่เป็นคน คือครู ย้ำว่าครูคือบุคคลสำคัญที่สุดที่จะทำหน้าที่ประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของศิษย์เป็นรายคนเพราะจะต้องประเมินทั้งส่วนที่เป็น objective และส่วนที่เป็น subjectiveโดยผมเชื่อว่า ในสัดส่วน objective : subjective = 1 : 2คือส่วน subjective ต้องมีน้ำหนักสูงกว่าส่วนนี้วัดได้โดยมนุษย์สัมผัสมนุษย์แต่คนที่เป็นผู้ประเมินต้องมีทั้งความรู้เชิงทฤษฎี และมีทักษะในการประเมินนี่คือ EmbeddedFormative Assessment ที่ครูทุกคนต้องมีและต้องใช้อยู่ตลอดเวลาเพื่อเอามาเป็นสารสนเทศ/ความรู้ ในการให้ Formative Feedback ให้ศิษย์คิดไปข้างหน้า คิดมุ่งมั่นปรับปรุงตนเองด้วยความมั่นใจว่าตนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้นั้นได้

ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย เสนอว่า คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้อง Transform ตนเองเปลี่ยนหลักสูตร ผลิตครูเน้นที่ทักษะการเป็น Learning Person ของครูและทักษะในการสร้าง Learning Culture ในโรงเรียน

โครงการ TC เป็นโครงการเล็กๆ สามารถเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครูที่วิธีคิดของครูและที่รอยต่อระหว่างครูกับศิษย์ ได้โดยที่โครงสร้างเดิมไม่เปลี่ยนจึงเกิดความท้าทายว่า ทำอย่างไร การเปลี่ยนแปลงนี้จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ของครู และของวงการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 เมษายน 2014 เวลา 08:16 น.
 


หน้า 358 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8656581

facebook

Twitter


บทความเก่า