Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ศาลรัฐธรรมนูญตอบ ศอ.รส.

พิมพ์ PDF
การที่ ศอ.รส. ได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าว นับว่าเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการที่อาจทําให้สาธารณชนเห็นได้ว่า มีการแทรกแซงการทํางานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จากฝ่ายบริหาร อันไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม และกดดันให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. วินิจฉัย หรือใช้ดุลพินิจไปในทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญตอบ ศอ.รส.

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 17:28 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๘. การพนันกับการเสพติด

พิมพ์ PDF

หนังสือ เยาวชนกับการพนันในมุมมองของจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น บอกเราว่า เรายังมีความรู้ทางชีววิทยาเกี่ยวกับการติด การพนันไม่ชัดเจน   โดยองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นโรคในกลุ่ม ผิดปกติในการควบคุมแรงผลักดัน (Impulse Control Disorder)    ซึ่งมีอยู่ ๔ โรคคือ โรคถอนผม โรคจุดไฟเผาตัวเอง โรคขโมยของ และโรคติดการพนัน    โรคกลุ่มนี้น่าจะเรียกง่ายๆ ว่า โรคขาดความยับยั้งชั่งใจ หรือ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง ตามคำของ นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรีฯ

หนังสือเล่มนี้เน้นมุมมองที่ความอ่อนแอทางจิตใจ และการเป็นโรค ที่นำไปสู่การติดการพนัน   เป็นมุมมองเชิงชีววิทยา การแพทย์  (bio-medical)   บอกว่า สาเหตุมาจาก (พันธุกรรม (สมอง (สารสื่อนำประสาท (ทักษะการแก้ไขหรือ จัดการกับปัญหาของบุคคล (ครอบครัวหรือแหล่งสนันสนุนทางอารมณ์ (สิ่งแวดล้อม ระบบการพนันออนไลน์ ()​ เพื่อน

และบอกปัจจัยเสี่ยงที่สนับสนุนให้ติดการพนันในเยาวชน ว่า ได้แก่ ()​ อายุน้อย (เพศชาย (พันธุกรรม (อิทธิพลจากครอบครัว ตัวแบบที่เล่นพนัน (การติดสารเสพติต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (บุคลิกภาพใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น ()เศรษฐฐานะยากจน

จะเห็นว่า ไม่มีการกล่าวถึงปัจจัยด้านการศึกษาโดยตรงเลย    ทั้งๆ ที่เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาในสาเหตุข้อ ๒, ๓, ๔, และ ๕    ผมจึงขอฟันธงว่า สาเหตุสำคัญคือความอ่อนแอของการศึกษาไทย    ที่ทั้งสังคม ทั้งในระบบการศึกษา และคนทั่วไป ไม่ตระหนักว่า การศึกษาที่ดี ที่ถูกต้อง เป็นเกราะ หรือภูมิคุ้มกันเยาวชน จากการติดการพนัน

การศึกษาในยุคสมัยใหม่ ที่เรียกว่า ศตวรรษที่ ๒๑ ต้องไม่ใช้ให้แก่นักเรียนเพียง รู้วิชา”    แต่ต้องเอื้อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” ครบด้าน    และด้านที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่คือ ทักษะชีวิต (Life Skills)    ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อน ชุดหนึ่ง    โดยที่องค์ประกอบสำคัญคือ ทักษะความยับยั้งชั่งใจ  ทักษะในการควบคุมตนเอง ไม่ให้ตกหลุมอบายมุข

ทักษะเหล่านี้ เด็กต้องได้ฝึกที่โรงเรียน และที่บ้าน (ในครอบครัว) ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนอนุบาล     และฝึกฝนเรื่อยไป จนตลอดชีวิต    แม้แก่เฒ่าขนาดผม ก็ยังต้องฝึกอยู่    ประมาทไม่ได้   เพราะความเย้ายวนล่อใจมันเปลี่ยนแปลงหาหนทาง ล่อหลอกเราตลอดเวลา     เราต้องเรียนรู้ ให้รู้เท่าทันสิ่งเหล่านั้น    แล้วเยาวชนของเราก็จะมี ภูมิคุ้มกัน” จากหายนภัย ที่เกิดจากการกระตุ้น โลภ โกรธ หลง ภายในตัวเราเอง     รวมทั้งมีภูมิคุ้มกันสิ่งยั่วยวนจากภายนอก รวมทั้งการพนัน และสิ่งเสพติดอื่นๆ

อคติของผมคือ เยาวชนไทย ส่วนใหญ่ติดการพนัน เพราะความอ่อนแอของระบบการศึกษา การเรียนรู้ฝึกฝน ให้มีความเข้มแข็งในจิตใจ ของสังคมไทยย่อหย่อน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

สาเหตุคือ เราไม่ตระหนักว่าเรื่องนี้แก้ไขได้    โดยการป้องกันที่ต้นเหตุจะได้ผลดีกว่า    การป้องกันนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบการเรียนรู้ที่ครบด้าน    ค่อยๆ พัฒนาทักษะชีวิตขึ้นมาตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน    และพัฒนาต่อเนื่องตลอดชีวิต

 

นี่คือมุมมองต่อการติดการพนัน ที่เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้

 

 

๑๓ มี.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 21:49 น.
 

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๗. Place-Based Learning

พิมพ์ PDF

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๗ นี้ ตีความจาก Edge 4. The Time/Place Edge : Learning Anytime, Anywhere   ต่อจากตอนที่ ๖

การเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องไม่ใช้วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ในเรื่องเวลาและสถานที่เรียน    แบบที่ ถือปฏิบัติมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ จนเคยชิน    เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องจำกัด อยู่ในโรงเรียน ตามเวลาโรงเรียนเปิด-โรงเรียนเลิก และตามภาคการศึกษา อีกต่อไป    สิ่งเหล่านั้น เป็นสมมติทั้งสิ้น

ของจริง คือชีวิตจริงที่เยาวชนจะต้องเผชิญต่อไปในชีวิต   การเรียนรู้ในชีวิตจริงจึงเป็นสิ่งจำเป็น   เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงในบ้าน (ครอบครัว)    และชีวิตจริงในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่    ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องหาทางจัดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับองค์กรหรือกลไกต่างๆ ในชุมชนและในสังคม

การเรียนรู้แบบโครงงาน (PBL – Project-Based Learning)    จึงบรรจบเข้ากับการเรียนรู้แบบ “สถานที่เป็นฐาน” (PBL - Place-Based Learning)    ซึ่งอาจเรียกว่า การเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning) ก็ได้

เกิดเป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริงได้มากมาย    ตั้งคำถาม และค้นคว้าเจาะลึก หรือเชื่อมโยง ปรากฏการณ์จริง เข้ากับความรู้เชิงทฤษฎีได้อย่างไม่สิ้นสุด    แล้วนำออกรายงานแก่ชุมชนเอง หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ออกไปใน วงกว้าง ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต    ก็จะมีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดสัมพันธ์กว้างขวางขึ้นไปอีก

นี่คือการเรียนรู้ ที่ออกนอกกรอบ “กาละ เทศะ” ที่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน หรือรั้วโรงเรียน และ “เวลาเรียน” ที่สมมติขึ้น    โดยหากเป็นไปได้ ควรให้นักเรียนทำโครงงานเป็นทีม ๓ - ๕ คน    จำนวนสมาชิก ของทีมต้องอย่าให้มาก จนมีคนหลบงานได้    ต้องให้สมาชิกในทีมทุกคนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ

หรือจริงๆ แล้ว แม้ภายในรั้วโรงเรียนนั่นเอง ก็สามารถ “แหกคอกเวลา” ได้     คือ นักเรียนเรียนโดย การปฏิบัติ หรือทำโครงงานภายในพื้นที่ของโรงเรียน    เช่นทำโครงการเกษตรในโรงเรียน    ซึ่งที่จริงโรงเรียนไทย จำนวนหนึ่งทำอยู่แล้ว    ในโครงการปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ เพื่ออาหารกลางวัน    หากครูชวนนักเรียนทำ  AAR การเรียนรู้ เชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้ ๘ หน่วยสาระ   เชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้ ๘ หน่วยพหุปัญญา    ก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยงได้

สาระในหนังสือว่าด้วยการไปเรียนรู้จากป่าสงวนแห่งชาติ  (National Parks) ซึ่งในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนมากมายในทุกรัฐ   และมีระบบบริการให้ครอบครัวไปพักผ่อนเรียนรู้    รวมทั้งมีบริการให้โรงเรียน พานักเรียนไปเข้าค่ายค้างแรมและศึกษาธรรมชาติ    ป่าสงวนแห่งชาติของไทยแม้บริการจะไม่ดีเท่า แต่ก็ใช้ได้ทีเดียว ดังที่ผมเล่าประสบการณ์ ที่นี่ และ ที่นี่

การเรียนรู้ในชุมชนจากโจทย์ในชุมชน สามารถตั้งโจทย์และดำเนินการได้หลากหลายมาก  เช่นการจัดการขยะ  การจัดการแม่น้ำลำคลอง  การศึกษาและฟื้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น   จะช่วยดึงนักเรียน ออกจากการเรียนในที่แคบ สู่โลกกว้าง    ให้นักเรียนได้ลงมือทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่นักเรียนไม่มีโอกาสฝึก    เพื่อการเรียนรู้ทักษะที่หลากหลาย ที่เรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

สิ่งที่ครูและโรงเรียนไทยพึงพัฒนา คือการทำให้การทำโครงงานทั้งหลายในชุมชนนั้น เป็นการทำงาน และเรียนรู้ “แบบจริงจัง”     ที่หนังสือเล่มนี้เรียกว่า authentic learning     ไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้ได้ชื่อ ว่าได้ทำโครงงาน หรือเพื่อให้สอบผ่าน    หรือแม้แต่เพื่อหวังล่ารางวัล ก็ไม่ใช่เป้าหมายของ “การเรียนรู้แบบจริงจัง”

ผมขอเพิ่มเติมเองว่า ครู/นักเรียน ต้องอย่าหลงผิดในเรื่องการเรียนรู้แบบทำโครงงาน    หลงคิดว่าเมื่อโครงงานสำเร็จได้ผลดี นักเรียนย่อมได้เรียนรู้ครบถ้วนแจ่มแจ้งแล้ว    นี่คือความเข้าใจผิด    จะให้นักเรียนเรียนรู้แจ่มแจ้งครบถ้วนครูต้องชวนนักเรียนทำอีก ๓ อย่าง

 

๑. นักเรียนแต่ละคน เขียนบันทึกการทำงาน และการเรียนรู้ของตนเอง ในระหว่างการ ทำโครงงาน    โดยอาจเขียนทุกวันที่ทำโครงงาน หรือบ่อยตามสมควร    ที่สำคัญคือ ครูควรแนะให้นักเรียนเขียนบันทึกความในใจเรื่องเป้าหมายการทำงานและเรียนรู้ของตน   ความยากลำบากหรือความท้าทายที่เผชิญ   ความรู้สึกในใจเมื่อเผชิญความท้าทายนั้น    และวิธีการแก้ปัญหา    ค้นหาความรู้จากที่ไหนมาใช้    ผลเป็นอย่างไร ฯลฯ    ความบ่อยของการเขียนบันทึก ต้องอย่าให้ลืมความรู้สึกดังกล่าวไปเสีย    นี่คือการฝึกให้นักเรียนทบทวนไตร่ตรองด้วยตนเอง (ทำ auto-reflection)

๒. เมื่อทำโครงงานสำเร็จ    มีการนำเสนอผลงานต่อเพื่อนในชั้น    โดยนำเสนอเป็นทีม    สมาชิกของทีมเตรียมตัวร่วมกัน และร่วมกันนำเสนอ    โดยอาจนำเสนอเป็น presentation ก็ได้    หรืออาจนำเสนอเป็นหนังสั้น   เป็นการ์ตูนเล่าเรื่องราว    หรือเป็นละครก็ได้    การนำเสนอนี้เปิดโอกาสให้ทีมงานใช้ความสร้างสรรค์ได้ไม่จำกัด    แต่ครูต้องเตือนว่า อย่าหลงโชว์ฟอร์ม จนสาระไม่ชัดเจน

๓. ให้นักเรียนทั้งชั้นร่วมกันทำ reflection ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง    และอยากเรียนอะไรต่อไปอีก    โดยให้นักเรียนผลัดกันพูดทีละคน พูดทุกคน    ครูทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” ให้นักเรียนทำ AAR นี้ อย่างมีพลังของความใคร่รู้ และการเรียนอย่างสนุกสนาน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 21:52 น.
 

ความเข้มแข็งของชุมชนกับคุณภาพของโรงเรียน

พิมพ์ PDF

ในการประชุมจับภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการพัฒนาเยาวชนท้องถิ่น ๔ ภาค    ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗   ได้เห็นคุณค่าของการที่โรงเรียนเข้าร่วมกับกลไกอื่น ของชุมชน ได้แก่ “บ้าน - วัด - โรงเรียน”    ในการร่วมกันพัฒนาเยาวชน ในท้องถิ่น

ประชาคมในพื้นที่นั้น เห็นแล้วว่า การที่โรงเรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันสำคัญอย่างไร    และรู้สึกเสียดายที่ผู้อำนวยการโรงเรียนถึงคราวเกษียณอายุราชการ    และข่าวร้ายคือมีข่าวว่า คนที่จะย้ายมาเป็นผู้อำนวยการแทนเป็นคนไม่ดี คอรัปชั่น และไม่ทำงาน

ผู้นำชุมชนจึงไปเจรจากับเขตพื้นที่การศึกษา ว่าชุมชนต้องการคนดีที่ทำงานจริงมาเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน   และบอกตรงๆ ว่า ไม่เอาคนที่มีข่าวลือว่าจะมารับตำแหน่ง

ในที่สุดโรงเรียนนี้ ก็ได้ผู้อำนวยการที่มีคุณสมบัติตามที่ชุมชนต้องการ

นี่คือตัวอย่างความเข้มแข็งของชุมชน    ที่สามารถเจรจาต่อรอง ปฏิเสธผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นคนเลวได้    ผมขอแนะนำว่า ครูเลวก็ควรถูกปฏิเสธด้วย

และชุมชนอื่นๆ ควรปกป้องผลประโยชน์ของชุมชน    เพื่อให้มีโรงเรียนที่มีคุณภาพดี ในทำนองนี้

เยาวชนเป็นสมบัติที่มีค่า ต่ออนาคตของท้องถิ่น/ชุมชน    ชุมชนที่เข้มแข็ง จึงต้องมีแกนนำลุกขึ้นมาดำเนินการพัฒนาเยาวชน    ชุมชนไหนทำไม่เป็น ปรึกษาหัวหน้าโครงการ คือ อ. ทรงพล เจตนาวณิชย์ ได้    หัวใจคือ นายก อบต. ต้องเห็นความสำคัญ และมีบุคลากรของ อบต. ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ในการดำเนินการพัฒนาเยาวชน    ให้แกนนำเยาวชน ได้มีส่วนในกิจกรรมของชุมชนทุกเรื่อง     แล้วเยาวชนจะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเยาวชน    ไม่ใช่เป็นผู้ก่อปัญหาสังคม

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 21:55 น.
 

พบสหายธรรม ว.วชิรเมธี ณ ไร่เชิญตะวัน

พิมพ์ PDF

รับนิมนต์หลวงพี่ ว. วชิรเมธี สหายธรรมที่รู้จักกันมานานเนิ่น ไปบรรยายในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน หลักสูตร "๙ วันที่ฉันตื่น" ณ มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เชียงราย ในหัวข้อ "เรียนให้เลิศล้ำ ทำงานให้เลิศลอย" แก่ลูกเณรภาคฤดูร้อนจำนวนกว่า ๒๕๐ รูป หลังจากที่ไม่เคยบรรยายให้สามเณรฟังมาเกือบ ๑๐ ปีแล้ว เพราะเลยวัยฯ การไปครั้งนี้ นอกจากจะไปเล่าอดีตความหลังเมื่อครั้งที่ตัวเองเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ แล้ว ยังถือโอกาสนิมนต์ท่าน ว. มาแบ่งปัน "สันติธรรม" กับเหล่านิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษาในเดือนมิถุนายน เรื่อง "อภัยมุนี" ณ โครงการสันติศึกษา มหาจุฬาฯ วังน้อยด้วย ทั้งนี้ ได้มอบปัจจัยที่ท่านถวายจากการบรรยายทั้งหมดในวันนี้แก่ลูกเณร และถวายปัจจัยเพิ่มเติมอีกจำนวน ๖,๕๐๐ บาท สนับสนุนโครงการที่ทรงคุณค่าเช่นนี้ด้วย

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 22:00 น.
 


หน้า 361 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8614183

facebook

Twitter


บทความเก่า