Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชาวต่างชาติเขามองประเทศไทยของเราอย่างไร ณ ปัจจุบัน นี้

พิมพ์ PDF
มีผู้ส่งมาให้ ทาง อีเมล์ มีชื่อผู้เขียน น่าเชื่อถือ จึงนำมาเผยแพร่ต่อ

ชาวต่างชาติเขามองประเทศไทยของเราอย่างไร ณ ปัจจุบัน นี้

นายฟรังชัวส์ ผอ.สำนักกิจการพิเศษ และความร่วมมือ ประเทศฝรั่งเศส ท่านกล่าวว่า ประเทศไทยลงต่ำที่สุดเท่าที่รู้มาในเวลานี้ เหตุเพราะผู้นำขาดจริยธรรมในการบริหารงานราชการ จึงก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น

นายโมฮาเหม็ด ชาลี อับดุลลาห์ ศ.คณะวิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยทาซาห์ ประเทศตุรกี ท่านกล่าวว่า การไม่ยอมรับอำนาจของศาลนั้น คงเป็นไม่ได้ที่ผู้บริการฝ่ายการเมืองจะเดินหน้าบริหารต่อ เพราะนั่นคือจุดสิ้นสุดของรัฐบาลลงทันที เพราะการไม่เคารพศาลนั่นเอง

นางแคทธอรีน ผู้อำนายการเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ท่านกล่าวว่า นี่คือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่โลกต้องจารึกและจดจำต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย นี้ การมีมีฝ่ายการเมือง เข้ามาแทรกแซงกิจการอำนาจรัฐมันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเห็นได้ชัดเจน และนี่คือเป็นบทเรียนที่ดียิ่งสำหรับนานาชาติที่ควรแก่การศึกษา

นายชาน เหว่ยเปา ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย สถาบันเพื่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ประชากร มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า นี่คือเป็นเรื่องที่บอกและแสดงอย่างแจ่มแจ้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญการความล้มเหลวของฝ่ายการเมือง ที่ทำลายความสัมคสมานสามัคคีของไทย เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองก็ว่าได้

นายโอซากิ คัง ที่ปรึกษารัฐมนตรี ของญี่ปุ่น กล่าวว่า หมดความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง สำหรับประเทศไทย ที่มีต่อนานาชาติ เพราะผู้นำทำเสียเอง การแก้ไขปัญหาเป็นหน้าที่ของคนไทย ไม่ควรให้ชาวต่างชาติเข้ามาแทรกแซงอย่างยิ่ง ที่ผ่านมา นั้นถือว่าเป็นบทเรียนสำหรับคนไทยและคนไทยเองจะต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ หากไม่มีความร่วมมือปัญหาต่างๆคงไม่สามารถแก้ไขได้

วัฒนาพล

๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 16:51 น.
 

มธ. เตรียมเปิดคณะศึกษาศาสตร์ - เสนอมรรค ๘

พิมพ์ PDF

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่า ม. ธรรมศาสตร์วางแผนเปิดคณะศึกษาศาสตร์    จึงตอบรับทันที เมื่อได้รับการติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์

และจัดเวลาไปร่วมประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการ ในบ่ายวันที่ ๓ มี.ค. ๕๗    โดยเตรียมไปเสนอแนวทาง ๘ ประการ    หรือมรรค ๘

 

๑. จัดการเรียนรู้แบบ กลับทางห้องเรียน โดยต้องจัดระบบ ICT ให้รองรับ, และจัดการเรียนรู้แบบ Blended หลายรูปแบบ

๒. จัดการทำงานของอาจารย์เป็น PLC คือเป็นชุมชนเรียนรู้

๓. มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตไปเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง    คือจัดการศึกษาแบบ Transformative Education

๔. จัดการเรียนแบบบูรณาการ    ไม่แยกวิชาย่อยมากเกินไป    เรียนน้อยวิชา แต่จัดเป็นวิชาที่บูรณาการหลายศาสตร์

๕. มีเป้าหมายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการครบด้านไปพร้อมๆ กัน    ไม่ใช่เน้นเพียงเรียนวิชา     ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์, สังคม, จิตวิญญาณ, และด้านกายภาพ ไปพร้อมๆ กัน    เรียนรู้ฝึกฝนทั้งการเรียนรู้ด้านนอก และการเรียนรู้ด้านใน (จิตตปัญญาศึกษา)

๖. มีการวิจัย เพื่อนำมาใช้พัฒนาบัณฑิต    โจทย์ข้อ ๑ คือ พัฒนาวิธีวัด Net Gain ของการเรียนรู้ใน ๑ ปี ของนักเรียนเป็นรายคน     เพื่อให้ครูในอนาคตนำไปใช้    และผลักดันการเเปลี่ยนแปลง เกณฑ์ความดีความชอบ และการเลื่อนชั้นของครู    จากประเมินกระดาษ เป็นประเมิน Net Gain ของการเรียนรู้ของศิษย์    และคณะศึกษาศาสตร์ มธ. ก็นำ Net Gain ของศิษย์ มาเป็นดัชนีตัวหนึ่งในการให้ความดีความชอบอาจารย์

๗. เรื่องการเลือกรับอาจารย์    ควรเลือกรับคนที่มีวิญญาณและทักษะของการเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)    เริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศอาจารย์ และมีการสัมมนาเรื่องการจัดการเรียนรู้ ประจำปีทุกปี    รวมทั้งมีการจัด การประชุมปฏิบัติการ สำหรับปฐมนิเทศ นศ. ใหม่ ให้เห็นคุณค่า และมีทักษะ ของวิธีการเรียนรู้แบบใหม่

๘. เรื่องการฝึกทักษะ Embedded Formative Assessment + Formative Feedback ให้แก่อาจารย์ทุกคน    และทดสอบทักษะจนเป็นที่พอใจ จึงจะรับเป็นอาจารย์ประจำ    ที่จริงประเด็นนี้อยู่ในข้อ ๗    แต่แยกออกมาเป็น อีกข้อต่างหาก เพราะมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้    และการฝึกให้บัณฑิต มีทักษะนี้    สำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันของการเป็นครู

 

ทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตออกไปปฏิบัติเช่นเดียวกันเมื่อทำหน้าที่ครู    คือไปสอนแบบใหม่ แบบกลับทางห้องเรียน    และติดนิสัยทำงานเป็นทีมในกลุ่มครู    ระหว่างทำงาน ก็เรียนรู้เป็นทีมไปด้วย    และทำหน้าที่เป็น change agent ในโรงเรียน และในระบบการศึกษา    เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในโรงเรียนจาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐    สู่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑   เพื่อให้ศิษย์ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่ต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    เน้นการผลิตผู้นำ     ไม่ใช่ผลิตผู้ตาม อย่างที่ระบบการศึกษาปัจจุบันทำอยู่

ข้างบนนั้น คือข้อความที่ผมเขียนเตรียมไปให้ความเห็น เขียนก่อนการประชุม

ในที่ประชุมมีผู้แสดงความเห็นพ้อง ว่า คณะศึกษาศาสตร์ มธ. ควรทำประโยชน์ในการเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย   และผลิตบัณฑิตออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    แต่สภาพปัจจุบัน บัณฑิตใหม่ที่มีไฟแรง และออกไปเป็นครูในระบบการศึกษาส่วนที่เป็นราชการ จะถูกระบบกลืนหรือครอบงำ ภายในเวลาเพียงสองสามปี    และอีกส่วนหนึ่งทนระบบไม่ไหว ก็ลาออกไปทำงานอื่น

มีผู้ให้ความเห็นรุนแรงว่า ตัวปัญหาของคุณภาพการศึกษาไทยคือระบบบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ    ถึงกับเสนอให้ยุบกระทรวงศึกษาธิการ คุณภาพการศึกษาไทยจึงจะมีลู่ทางกระเตื้องขึ้น

ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ครูควรมีความรู้วิชาหลักแน่น เลริมด้วยวิชาครู    จึงน่าจะเอาคนที่จบวิชาหลัก (เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา สังคมศาสตร์) มาเรียนปริญญาโท เพื่อเติมวิชาครู    หรือจัดหลักสูตร สองปริญญา (dual degree) ของวิชาหลัก กับวิชาการศึกษา

มีผู้เสนอให้คณะศึกษาศาสตร์ มธ. ใช้เวลาเตรียม “ครูของครู” ให้ดีก่อน จึงเปิดระดับ ป. ตรี    จึงอาจพิจารณาเริ่มจากการเปิดหลักสูตร ป. โท ก่อน

และควรร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาทางเลือก ซึ่งเวลานี้มีอยู่กว่า ๔๐๐ สถาบัน รวมตัวกันเป็นสมาคม

ผมนั่งฟังผู้ให้ความเห็นอยู่ชั่วโมงเศษๆ ได้ความรู้มาก ทั้งด้านวิกฤติ และด้านโอกาส    เรื่องการศึกษาไทยนี่ซับซ้อนจริงๆ     เวลานี้การผลิตครูเกินพออย่างมากมาย    แต่ก็ขาดครูที่มีคุณภาพ    และที่ผลิตไม่ตรงความต้องการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 

การเรียนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ท่านคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ    ศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว  ต้องการปฏิรูปการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และในโรงเรียน     ร่วมกับปฏิรูปการเรียนการสอนในภาพใหญ่ของประเทศ     จึงเชิญผมไป “ปลุก” คณาจารย์ ให้ตื่น    โดยตั้งชื่อการบรรยายว่า “อวสานของครูสอน : การเรียนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑”

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่

ในที่ประชุม มีอาจารย์หลายท่าน เล่าประสบการณ์ที่ตนเองดำเนินการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เป็น active learning และนิสิตร่วมสร้างสรรค์เกิดผลงานเชิงนวัตกรรม ที่ตัวอาจารย์เองทำไม่ได้    ช่วยเสริมหรือ ยืนยันความเชื่อของผมว่า     นักเรียน/นักศึกษา เป็นผู้เรียนรู้จากการสร้างสรรค์ของตนได้    เกิดผลงานที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือต่อชุมชน    จะเท่ากับนักเรียน/นักศึกษา ได้ฝึกฝนปลูกฝังนิสัยเห็นแก่ผู้อื่น มุ่งทำประโยชน์ แก่ผู้อื่นและแก่ส่วนรวม     ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ก่อประโยชน์ไปตลอดชีวิต

โปรดสังเกตว่า การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (STEM – Science, Technology, Engineering and Mathematics) ไม่ได้มีเป้าหมายแคบแค่เรียน ๔ วิชานี้เท่านั้น    แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้บูรณาการ หรือครบ ทุกด้าน ของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    เรียนรู้ฝึกฝนเพื่องอกงามทั้งด้านนอก คือรู้โลก    และด้านใน คือจิตใจของตนเอง บังคับใจตนเองได้

เป็นการ “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา”

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 17:10 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๐. ไปจังหวัดเลย และอำเภอเชียงคาน

พิมพ์ PDF

สาวน้อยกับผมเดินทางโดยสายการบิน นกแอร์ เช้าวันศุกร์ที่ ๒๘ ก.พ. ๕๗ จากดอนเมือง ไปท่าอากาศยานจังหวัดเลย    นั่งเครื่องบิน SAAB 340B Plus 30 ที่นั่ง    เป็นเครื่องบินใบพัด ตอนขึ้นลงเสียงดังหน่อย    และทุกอย่างเล็กหมด (ยกเว้นที่นั่ง ซึ่งนั่งสบายกว่าเครื่องบิน แอร์เอเซีย ที่ไม่ค่อยมีที่ให้เหยียดขา)    ศีรษะของผมจึงโดนที่เก็บของเหนือศีรษะ ๒ ที    และเมื่อไปเข้า ห้องน้ำด้านหน้าเครื่องบิน ห้องน้ำแคบมากแทบกลับตัวไม่ได้    ในเครื่องบิน ห้องน้ำไม่ได้มีไว้ให้สำราญ เพียงมีไว้แก้ขัด

แต่เครื่องนี้มีการปรับความดันอากาศ และบินนิ่มดี    ชั่วโมง ๑๕ นาทีก็ถึงสนามบินจังหวัดเลย    อาจารย์ติ๋ว (กฤศนรัตน์) ซึ่งเป็นครูประจำการของโรงเรียนเลยพิทยาคม ที่มาเป็น นศ. ปริญญาเอกของ มรภ. เลย มารับพร้อมกับ อ. ประกิต สิงห์ทอง (ฝ้าย) ผอ. โรงเรียนประถมในจังหวัดเลย ที่มาเรียน ป. เอกที่ มรภ. เลย เช่นเดียวกัน มารับ    ทั้งสองคนบอกว่า จะได้มีโอกาสซักถามผม ระหว่างนั่งรถ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ที่กำลังเตรียมทำ     โดย อ. ติ๋วจะทำเรื่องโมเดลของการบริหาร จัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล

ที่จริง ผมกลับเป็นฝ่ายได้รับความรู้ ว่า สพฐ. กำลังเน้นจัดให้มีโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยมีโรงเรียนนำร่อง ๕๐๐ โรงเรียน    และโรงเรียนเลยพิทยาคม (ซึ่งถือเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดที่พ่อแม่ใฝ่ฝันให้ลูกได้เข้าเรียน) เป็น ๑ ใน ๕๐๐   ผมกลับมาค้นเรื่องนี้ที่บ้าน ก็พบว่า เป็นการ repackaging & rebranding การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั่นเอง    จิตอกุศล ชักให้ผมสงสัยว่า โครงการนี้มีการใช้งบประมาณอย่างไร    มีเงินทอนกี่เปอร์เซนต์

หลังจากพาไปรับประทานอาหารเช้าและคุยกับ ผศ. ดร. มัณฑนา อินทุสมิต อดีต ผอ. หลักสูตรปริญญาเอก ด้านบริหารการศึกษา    (ซึ่งในเวลาชั่วโมงเศษๆ เราคุยเรื่องการศึกษาไทยกันอย่างสนุกสนาน และทำให้ผมได้รับความรู้มาก)    อ. ติ๋ว กับ อ.ฝ้าย พาไปเที่ยววัดป่าห้วยลาด และอุทยานแห่งชาติภูเรือ แล้วจึงไปกินอาหารเที่ยงที่ ร้านอาหารที่อำเภอภูเรือ    ระหว่างนั่งกินอาหาร อ. ฝ้ายถือโอกาสสัมภาษณ์ผมเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่คาดว่าจะทำ    คือเรื่องตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ ๒๑

ผมชอบถนนเชื่อมระหว่างจังหวัดเลยกับอำเภอภูเรือมาก    คดเคี้ยวเลียบไหล่เขา มีหลายตอนที่มีต้นไม้ขึ้นสองข้างทาง ทำให้ถนนร่มครึ้ม   เรากลับมาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เพื่อมาเอาเสื้อผ้าของ อ. ติ๋ว และส่ง อ. ฝ้ายเอารถขับไปจังหวัดอุบลราชธานี ไปงานแต่งงานหลาน    แล้วเราเดินทางต่อไปเชียงคาน

ระยะทางจากตัวจังหวัดเลยไปอำเภอเชียงคานเพียง ๔๘ ก.ม.    ถนนกว้าง ๔ เลนเกือบทั้งหมด และบ้านเรือนสองข้างทางแสดงว่าผู้คนมีฐานะดี    รวมทั้งบ้านเรือนสะอาด    อ. ติ๋วบอกว่า ทางการในจังหวัดเลยรณรงค์ว่า เนื่องจากจังหวัดเลย เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงต้องช่วยกันดูแลบ้านเรือนให้น่าดู    เห็นได้ชัดเจนว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้ทำให้จังหวัดเลยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ และบ้านอยู่อาศัยเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา

คณะนักศึกษาปริญญาเอกเจ้าของงานจัดให้เราพักที่ เชียงคาน ริเว่อร์เม้าท์เท่น รีสอร์ท ซึ่งถือว่าหรูที่สุดในอำเภอเชียงคาน    และพักที่ห้อง ๒๑๑ ริมแม่น้ำโขง ซึ่งถือว่าเป็นห้องที่ดีที่สุดของ รีสอร์ท     จากห้อง มองไปเห็นแม่น้ำโขงและภูเขาใน สปป. ลาว อยู่ไกลๆ ท่ามกลางสายหมอก ตลอดวัน

ตอนค่ำเราไปเดินชมถนนคนเดิน ของอำเภอเชียงคาน    แล้วไปกินอาหารเย็นที่ร้าน ระเบียงริมโขง    กินเมนูปลาแม่น้ำโขงอันแสนอร่อย     และไปร่วมงาน ราตรี ดุษฎีอีสานสัมพันธ์ รุ่นที่ ๖” ที่ลานริมโขง หน้าที่ว่าการอำเภอเชียงคาน คณะเจ้าภาพของผม ดูแลสาวน้อยกับผมเต็มที่     เมื่อผมบอกว่า ผมไปกินอหารเย็นในงานเลยก็ได้ เพราะผมเป็นคนง่ายๆ    เธอบอกว่า อาหารในงานเลี้ยงเป็นโต๊ะจีน ไม่เป็นอาหารเชิงวัฒนธรรมเชียงคาน    มาเชียงคานต้องกินปลาแม่น้ำโขง

ถนนคนเดินของอำเภอเชียงคานก็คือบ้านเก่าริมน้ำโขง ที่เป็นชุมชนโบราณ    ทอดยาวเหยียดไปตามแม่น้ำโขง    สองข้างถนน    ทำให้ผมเดาว่า การตั้งบ้านเรือนของเชียงคานที่เราไปเห็นเก่าไม่เกิน ๕๐ ปี    ซึ่งเป็นยุคที่การคมนาคมทางถนน เข้าแทนที่การคมนาคมทางน้ำ     บ้านไม้เก่าเหล่านี้คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของเชียงคาน

ผศ. ดร. มัณฑนา บอกว่าท่านอยากให้เขาจัดให้สาวน้อยกับผมไปพักที่ เกสต์เฮ้าส์ในถนนคนเดิน จะได้บรรยากาศมากกว่า    แต่นักศึกษาเจ้าของงาน ต้องการให้เราได้พักในที่พักที่หรูที่สุดที่มี

ชัดเจนว่า เชียงคานขายความเป็นชุมชนโบราณ    การตกแต่งสถานที่ต่างๆ จึงนำเอาของเก่าๆ ออกมาวางประดับ เช่นรถยนต์เก่า  รถสามล้อเก่า  รถจักรยานเก่า  และอื่นๆ     รวมทั้งบนถนนคนเดินมีคุณยายอายุ ๖๕ มาขายหวานเย็นโบราณด้วย

แต่ก็มีวัฒนธรรมฝรั่งปนเข้ามา คือมีนักเรียนตัวเล็กๆ  ๕ ๖ คน มาตั้งวงดนตรี ขับกล่อมบรรยากาศและเปิดหมวก รับบริจาค เข้าใจว่ารายได้ไม่เลว    อ. ติ๋ว บอกว่า เป็นแนวทางหนึ่งของการฝึกจิตอาสาทำเพื่อผู้อื่นให้แก่เด็ก    โดยประกาศว่า รายได้นำไปทำประโยชน์อะไรแก่สังคม คนจะบริจาคมากขึ้น

ในงานราตรีดุษฎีอีสานสัมพันธ์ เราได้เรียนรู้ภาษาเลย และภาษาอีสานถิ่นอื่นๆ    พบว่าภาษาเลยสำเนียงหลายส่วน คล้ายสำเนียงปักษ์ใต้    เราร่วมชมการแสดงจนสองทุ่มเศษ ได้เวลานอน ก็ขอลากลับโรงแรม    ผมรู้สึกผิดหวัง ที่ช่วงนั้นอากาศร้อน และไม่มีลมเลย    อ. ติ๋วเตือนเราว่าให้เอาเสื้อหนาวไปด้วยเพราะตอนค่ำอากาศจะเย็น และมีลมพัดจากแม่น้ำ     ปรากฎว่ากว่าลมจะโชยมาอ่อนๆ ก็เลยสองทุ่มไปแล้ว    แต่ก็ยังร้อนอยู่ดี    แต่ตอนเช้ามืดวันที่ ๑ มี.ค. ผมออกไปนั่งทบทวนปรับปรุง PowerPoint ที่จะใช้บรรยาย ที่ชานด้านหน้าห้องนอน   อากาศเย็นสบายมาก

รุ่งขึ้นเรานัดออกจากโรงแรม ๖ โมงเช้า    ไปชมแก่งคุดคู้ แหล่งท่องเที่ยวริมโขงแห่งหนึ่ง ของ จ. เลย     แล้วไปตักบาตร ในบรรยากาศคล้ายที่หลวงพระบาง     เราไปที่ริมโขงหน้าวัดท่าคา    มีเสื่อปูริมถนน และมีชุดตักบาตรวางไว้ให้เสร็จเรียบร้อย    เข้าใจว่าชุดละ ๘๐ บาท    ผมรู้สึกว่าบรรยากาศมันเป็นธุรกิจไปหน่อย     พระบางวัดมากับศิษย์วัดผู้ใหญ่ที่เตรียมรถเข็นใส่ของ มาพร้อม    มาถ่ายของจากบาตรพระใส่รถกันตรงนั้น    อ. ติ๋วบอกว่าวัดนั้นเอาอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้าหรือยากจน    รูปตักบาตร และคำอธิบายที่นี่บรรยากาศต่างจากที่เราไปพบ

เสร็จจากตักบาตร เรากลับไปกินอาหารเช้าที่โรงแรม    โดยทีมของ อ. ติ๋ว ไปซื้อเครื่องในหมูเอามาให้กินที่โรงแรมด้วย    อาหารยอดนิยมของเรากลายเป็นข้าวจี่ กับหมูปิ้ง กินร้อนๆ อร่อยจริงๆ

หลังการบรรยาย เรื่อง การบริหารการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นเวลาสองชั่วโมงครึ่งรวด ไม่มีพัก  และถ่ายรูป กับทีมจากหลากหลายจังหวัด    เราไปกินอาหารเที่ยงที่ร้าน เลอ ดานัง    ชื่อบอกชัดเจนแล้ว ว่าเป็นอาหารเวียดนาม    และเป็นอาหารเวียดนามที่อร่อยมาก

นอกจากได้รับการต้อนรับดูแลอย่างดียิ่งแล้ว    เรายังได้รับของฝากใส่กล่องเอาขึ้นเครื่องบินกลับมาเป็นมะขามหวานสีทอง  หมูยอ และถั่วคั่วทรายลุงวินัย ของฝากจากนาแห้ว    ผศ. ดร. มัณฑนา กรุณาฝากข้าวฮางหอมทอง สกลทวาปี ๑ ขวด ๔ กก.   เป็นข้าวปลอดสารพิษ ผลิตโดยกลุ่มเกษตรกรบ้านนาบ่อ  ต. ปลาโหล  อ. วาริชภูมิ  จ. สกลนคร  โทร ๐๘๖ ๐๑๕ ๑๑๐๔    เราเพิ่งได้กินข้าวฮางหอมนิล สกลทวาปี ไปหยกๆ (มีคนให้เป็นของขวัญปีใหม่)   โดยเราตัดสินว่า เป็นข้าวที่กินอร่อยที่สุดเท่าที่เราเคยกิน   การได้ข้าวหอมทองสกลทวาปีมาลิ้มรส จึงสร้างความคึกคักอย่างยิ่ง

ขากลับ เครื่องบินลำใหญ่ ๗๐ ที่นั่ง เป็นเครื่อง ATR 72-500 นั่งนิ่มกว่าขาไป    โดยเฉพาะตอนเบรคหลังล้อแตะพื้น นิ่มกว่า SAAB 340B Plus มาก    ผมนั่งหลับตลอดทาง

ในฐานะนักกินหมูยอ    ผมขอรับรองว่า หมูยอของจังหวัดเลยอร่อยจริงๆ    เสียดายไม่มีตราบอกร้านผลิต

ตอนพิธีเปิดงานการประชุมสัมมนา และการนำเสนอวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิขาการบริหารการศึกษา ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด มากล่าวเปิดงาน    ท่านกล่าวดีมาก ทำให้ผมได้เข้าใจว่าหน้าที่ของฝ่ายปกครองในยุคปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง    เปลี่ยนจากกระบวนทัศน์ ปกครอง” มาเป็น เอื้อความเจริญ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญ ทางเศรษฐกิจ    การที่ มรภเลย รับเป็นเจ้าภาพงานนี้    ทางจังหวัดจึงถือว่าเป็นการทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัด    เพราะมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ทางหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดจึงร่วมกันอำนวยความสะดวกต่างๆ

ผมได้ไปเห็นปรากฏการณ์ ความเจริญของประเทศ ย้ายไปอยู่ที่พื้นที่ชายขอบ ที่เป็นพรมแดนติดต่อกับประเทศอื่น    สมัยก่อนชายแดนเป็นที่ห่างไกลความเจริญ เดี๋ยวนี้ ชายแดนหลายที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ    ทั้งการค้า และการท่องเที่ยว

ยุคนี้ รายได้ที่ดีที่สุด มาจากภาคธุรกิจบริการ    เน้นที่ธุรกิจท่องเที่ยว    พื้นที่ใด หรือจังหวัดใดดึงดูดนักท่องเที่ยวมาได้    ถือเป็นโอกาสดี    จังหวัดเลยอยู่ในกลุ่มนี้    จึงมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างขันแข็ง     ผีตาโขน เป็นรูปธรรมที่ได้ผล    และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ก็ได้รับการประชาสัมพันธ์    ผมชอบเอกสาร คู่มือท่องเที่ยวจังหวัดเลย ของ ทททมาก     เสียดายที่ค้นใน อินเทอร์เน็ตไม่พบ   แต่ก็พบ เว็บไซต์ ที่นี่ ซึ่งดีกว่า เว็บไซต์ของจังหวัดเลย ที่น่าชื่นชมมากคือ การดูแลความสะอาดของบ้านเมือง

 

วิจารณ์ พานิช

๒ มี.ค. ๕๗

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 17:15 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๑๖. ร่วมกันต่อต้านคอรัปชั่น

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๑ ก.๕๗ ผมไปเข้ารับการอบรมหลักสูตร ACEP (Anti-Corruption for Executive Programรุ่นที่ ๙  จัดโดย IOD

เนื่องจาก IOD และ CAC (Coalition Against Corruption - โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต)เป็นหน่วยงานหรือกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชน   เรื่องราวในหลักสูตรจึงจำกัดหรือเน้นที่ภาคธุรกิจเอกชน

เรื่องการต่อต้านคอรัปชั่นนี้ ในประเทศไทยทำกันหลายกลุ่มหลายโครงการ     ที่โด่งดังที่สุดน่าจะได้แก่ องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น(ACT) เพราะทำกิจกรรมเชิงรุกหลากหลายด้านในสังคม และร่วมมือกับหลายองค์กร หลายภาคส่วน    ยิ่งประธานองค์กร คือคุณประมนต์ สุธีวงศ์ โดนยิงบ้าน (ดังข่าว) องค์กรนี้ยิ่งโด่งดัง

ปปช. ร่วมกับ ทปอ. ดำเนินการเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น โดยที่การมี ปปช. ก็เป็นการสร้างสถาบัน ดำเนินการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น   โดยมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมาก ทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ   ทั้งด้านบวกและด้านลบ    ด้านบวกคือการส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริตในสังคม    เสียแต่ชื่อเน้นด้านลบ คือปราบปรามการทุจริตมากไปหน่อย

ที่ผมไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรมเป็นของ แนวร่วมปฏิบัติ (CAC)    ซึ่งเน้นชักชวนองค์กรธุรกิจ มาเป็นแนวร่วมปฏิบัติ    ในการประกอบธุรกิจแบบไม่ให้สินบน และไม่รับสินบน    เขาทำเรื่องเดียว คือต่อต้านสินบน   โดยขบวนการนี้ได้รับ การสนับสนุนจาก CIPE(Center for International Private Enterprise)     จึงพอจะเข้าใจได้ว่า วงการธุรกิจนานาชาติเขามองว่า สินบนเป็นศัตรูตัวร้ายของระบบทุนนิยมสะอาด     ที่แข่งขันกันทำธุรกิจด้วยฝีมือ เป็นการแข่งขันกันอย่างมีคุณธรรม    ไม่ใช่แข่งผ่านการติดสินบน

ในเวลา ๕ ปี (๒๕๕๑ ๒๕๕๖) CPI (Corruption Perception Indexของประเทศไทย     ตกอันดับจากอันดับที่ ๘๘ ไปเป็น ๑๐๒    อยู่ในกลุ่มประเทศชั่วร้าย น่าอับอายขายหน้ายิ่ง    ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยตกลงไปอีก    แต่ ดร. บัณฑิต นิจถาวร มองแง่ดีว่า เมื่อ ๕ ปีมาแล้วเรายังค่อนข้างดี   แสดงว่าปัญหาใหม่นั้น ยังแก้ให้กลับคืนดีได้    แต่ก็มีข้อมูลจาก เอแบคโพล บอกว่า นศ. ร้อยละ ๖๐ ยอมรับคอรัปชั่น    ผมโทษคุณทักษิณ ว่าเป็นตัวการสร้างความเสื่อมเสียศีลธรรมนี้    เพราะตัวของเขาเอง โกงแล้วโกงอีก    โครงการรับจำนำข้าวฟ้องอย่างโจ่งแจ้ง

ผมได้เรียนรู้เรื่องฉาวโฉ่ของบริษัท ซีเมนส์ ของเยอรมัน ในเรื่องการประกอบธุรกิจโดยให้สินบน    และโดนธนาคารโลกเล่นงาน    จนต้องปรับตัว ลงโทษผู้ทำผิด และยอมจ่ายค่าปรับถึง ๑,๖๐๐ ล้านเหรียญ ดังข่าว , สิ่งที่น่าตกใจคือ วีดิทัศน์ สารภาพความจริงของเจ้าหน้าที่ของบริษัท ที่ว่าใครๆ ในบริษัทก็ทำเป็นเรื่องปกติธรรมดา    การกวาดล้างและปรับตัวครั้งใหญ่ ทำให้บริษัท ซีเมนส์ กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่งใน ๔ ปีต่อมา

เรื่องความซื่อสัตย์ ไม่ทำสิ่งที่ทุจริต และต่อต้านการทุจริตนี้ เป็นเรื่องที่ลึกอยู่ในมาตรฐานสังคม (social norm)    และการปลูกฝังความคิดความเชื่อตั้งแต่ยังเยาว์   คือ การอบรมทำตัวอย่างในครอบครัว การเรียนรู้จากการปฏิบัติและ reflection ที่โรงเรียน   และตัวอย่างที่ดีในสังคม

สมัยผมทำหน้าที่ผู้บริหารและดูแลงานก่อสร้างที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๑ มีความย่อหย่อนในการควบคุม   และมีคนรับผลประโยชน์โดยมิชอบ อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย    เมื่อผมไปจัดการให้เป็น ไปตามระเบียบก็มีคนมาบอกว่า เขาทำกันอย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไร”    แต่ผมก็มีคำอธิบาย และยืนยันให้ดำเนินการตรงไปตรงมา    ข้ออ้างของผมคือ   มหาวิทยาลัยเป็นที่สร้างคนให้แก่ประเทศ    จึงต้องเป็นตัวอย่างด้านความซื่อสัตย์ภาคปฏิบัติ

กลับมาที่หลักสูตรต่อต้านคอรัปชั่นสำหรับผู้บริหาร ของแนวร่วมปฏิบัติฯ    เป็นการทำความเข้าใจวิธีการเข้าเป็นแนวร่วม ของบริษัท โดยองค์กรที่สมัครจะต้องกรอกแบบสอบถามเพื่อประเมินตนเอง ในเรื่องนโยบายไม่(รับและ)จ่ายใต้โต๊ะ แล้วให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทลงนามรับรอง    เมื่อผ่านการตรวจสอบโดยคณะกรรมการของ CAC (พิจารณาทุกๆ ๓ เดือน) ก็จะได้รับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ซึ่งมีอายุ ๓ ปี    ก็ต้องสมัครและกรอกแบบสอบถามใหม่

ถามว่า การเป็นสมาชิกแนวร่วมฯ ได้อะไร    ผมตอบเองว่า ได้ร่วมกันจรรโลงความซื่อสัตย์สุจริตในบ้านเมือง    และได้ร่วมกันทำให้การประกอบธุรกิจเป็นการแข่งขันกันด้วยฝีมือและคุณภาพ    ไม่ใช่แข่งขันกันด้วยการจ่ายใต้โต๊ะ    จะมีผลให้ธุรกิจไทยเข้มแข็ง

นี่คือกระบวนการหนึ่ง ที่ภาคธุรกิจเอกชนไทย ลุกขึ้นมาทำดีเพื่อบ้านเมือง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2014 เวลา 00:17 น.
 


หน้า 367 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8617312

facebook

Twitter


บทความเก่า