Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๓. จัดการอัตตา

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๑๗ ก.พ. ๕๗ มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ     กรรมการท่านหนึ่งกล่าวติดตลกว่า ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการบริหารอัตตา     ซึ่งหมายถึงอัตตาของคนดี   คนมีธรรมะ     แต่ยึดมั่นถือมั่นอาจารย์คนละสำนัก

หมายความว่า หอจดหมายเหตุพุทธทาสทำงานเผยแผ่ธรรมะ โดยไม่ยึดติดนิกาย ไม่ยึดติดอาจารย์    และถึงกับไม่ยึดศาสนา คือร่วมมือกับศานาอื่นก็ได้ ในการชักชวนให้คนมีธรรมะ

ตอนนี้ต้องเอ่ยเรื่องไม่ยึดติดกันหน่อย เพราะเพิ่งมีประกาศเปลี่ยนสีจีวรออกมาพอดี

ผมกล่าวต่อที่ประชุมว่า     หลังจากคณะกรรมการมูลนิธิมอบนโยบายให้ดำเนินการพัฒนาระบบการ จัดการ ของหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ให้ใช้การจัดการสมัยใหม่     และมีอาสาสมัครหลายท่านเข้ามาช่วยกัน พัฒนาระบบ     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณอนุวัฒน์ จงยินดี จาก SCG    ทำให้ระบบการจัดการของหอจดหมายเหตุ พุทธทาสฯ พัฒนาขึ้นมาก

เรามีเป้าหมายร่วมกันที่จะให้หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะแก่สังคม และแก่ เพื่อนมนุษย์     ให้มีความยั่งยืนถาวร    จึงต้องมีระบบจัดการ ระบบตรวจสอบ และระบบกำกับดูแล ที่เข้มแข็ง     การทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ งานอาสาสมัคร ก็ต้องมีระบบที่ดี ที่เข้มแข็ง     กิจการจึงจะมั่นคงยั่งยืน

ผมไปถึงหอจดหมายเหตุฯ ก่อนเวลาประชุมครึ่งชั่วโมง     ที่ลานชั้นล่างของอาคารมีลมโชยตลอดเวลา เป็นสถานที่สัปปายะอย่างยิ่ง     คุณนิคม เจตน์เจริญรักษ์ หนึ่งในห้าไวยาวัจกรของสวนโมกข์ และเป็นรอง ประธานกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุฯ ด้วย กำลังนั่งคุยกันกับอาจารย์โพธิพันธุ์ พานิช กรรมการอีกท่านหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการที่สวนโมกข์    ผมเข้าร่วมคุยด้วย     อีกสักครู่ คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ก็มาร่วมสนทนาอีกท่านหนึ่ง

ท่านเหล่านี้รู้ความเคลื่อนไหว ตื้นลึกหนาบางเรื่องเกี่ยวกับสวนโมกช์ในแง่มุมต่างๆ ในขณะนี้ดีมาก     ผมจึงมีโอกาสเรียนรู้ และสรุปกับตนเองว่า     ปัญหาที่สวนโมกข์เกิดจากขาดระบบการจัดการสมัยใหม่     และ ระบบการจัดการคณะสงฆ์และวัดในพระพุทธศาสนาของประเทศไทย เป็นระบบที่รวมศูนย์เกินไป     สวนโมกข์ที่ สามารถดำรงอยู่ที่ชายขอบของระบบรวมศูนย์ได้ด้วยบารมี และปรีชา ของท่านพุทธทาส     และยังต่อมาในสมัย ท่านอาจารย์โพธิ์ (พระภาวนาโพธิคุณ) ๒๐ ปี    บัดนี้ ดูจะทานอำนาจรวมศูนย์ได้ยาก     และมีผู้ใหญ่หลายท่าน บอกผมว่า เมื่อเข้าไปในสวนโมกข์ (ที่ไชยา)    รู้สึกว่าสวนโมกข์เปลี่ยนไป

ท่านที่นั่งคุยหารือกันบอกผมว่า ท่านพระอาจารย์สุชาติ เจ้าอาวาสสวนโมกข์องค์ปัจจุบันถามถึงผม    ท่านเหล่านี้บอกให้ผมลงไปที่สวนโมกข์สักครั้ง     ผมถามว่า จะให้ผมไปทำอะไร     เพราะผมเป็นคนที่คล้ายๆ คนนอก คนไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของกิจการของสวนโมกข์     แถมยังเป็นคนห่างวัดเสียอีกด้วย

ท่านเหล่านั้นบอกว่า ไปในฐานะคนที่ได้รับความเชื่อถือ     ทำให้ผมงงมาก    ว่าเชื่อถือในฐานะอะไร

กลับมาไตร่ตรองที่บ้าน ว่าที่ผ่านมา ผมโชคดีมากที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำงานที่มีคุณค่าสูง     และ ทำให้ผมได้เรียนรู้สูงด้วย    จำนวนมากมายหลายเรื่อง    ทั้งๆ ที่ผมไม่น่าจะทำงานเหล่านั้นได้    ในที่สุดผมก็ค้นพบ วิธีทำงานแบบที่ผมเรียกว่า Value-Based Work    คือมุ่งทำงานเพื่อค้นหาคุณค่า     ไม่ใช่ทำงานเพื่อชื่อเสียงหรือ     ผลงานของตน    ส่วนนั้นยกให้คนอื่นหรือน้องๆ    เพราะเขายังอยู่ในวัยที่ต้องการผลงาน และยังต้องการชื่อเสียง เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว    หรือเพื่อผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น

คนแก่ขนาดผม ได้มีงานที่มีคุณค่าสูงทำ ก็พอใจแล้ว     มีความสุขความพอใจอยู่ที่คุณค่าของงาน     และผมยิ่งสนุกตรงที่เรื่องคุณค่านี้มันมีความซับซ้อน และมองได้หลายแง่หลายมุม    ผมจึงได้โอกาสทำความเข้าใจ หรือขุดคุ้ยหาคุณค่าในงานเหล่านั้น    แล้วนำออกมาสื่อสาร ให้กำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง     เป็นการทำงานเติมพลัง ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง     ซึ่งแปลกมาก ที่ไม่ค่อยมีคนทำ  หรืออาจทำไม่เป็น

ที่จริงผมก็ทำไม่เป็น    แต่เมื่อค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ     ผมรู้สึกว่า ผมมองเห็นคุณค่าของงาน เพื่อประโยชน์ของสังคม และงานสร้างสรรค์ ในมิติต่างๆ ชัดขึ้น     โดยผมเข้าใจว่า หากเราแยกตัวเราออกจาก ผลประโยชน์ในกิจการงานนั้น    เราจะมองเห็นกิจการนั้นในมิติที่ลึกและหลากหลายขึ้น     และเข้าใจคุณค่า ในมิติที่หลากหลายและลึกขึ้นด้วย    ไม่ทราบว่า ผมเข้าข้างตัวเอง หรือยกหางตัวเองหรือเปล่า

โดยกระบวนการนี้ ผมเข้าใจว่า ผมจัดการอัตตาของตนเองได้ดีขึ้น    ไม่ทราบว่าความเชื่อถือที่ผมได้รับ มาจากปัจจัยนี้หรือเปล่า

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2014 เวลา 20:53 น.
 

เลือกตั้งไทย

พิมพ์ PDF

เลือกตั้งไทย

อ้างแต่เเค่เลือกตั้ง

เอาโจรนั่งสภาไทย

ตั้งโจรอย่างตั้งใจ

อ้างกันไปทำไมกัน

ตั้งวอกหลอกชาวนา

ยังทำท่ามาขบขัน

ดักดานดื้อด้านดัน

ทำด้นดั้นสันดานเดิม

งุบงิบงบประมาณ

ทำหักหาญยันฮึกเหิม

ตั้งตอแล้วต่อเติม

จนเหิมเกริมอย่างเหี้ยมกรียม

เลือกตั้งผู้แทนตน

เหมือนเริ่มต้นและตระเตรียม

แทนไทยได้แทนเทียม

ตามธรรมเนียมท่วงทำนอง

มีพรรคเขาซื้อพรรค

ไทยเรามักไม่มามอง

นายทุนมาขุดทอง

เพื่อสนองเจ้าของทุน

สส. รอเข้าคอก

อีกหนึ่งดอกที่เสียดุล

เสียงใครที่เป็นคุณ

ช่วยกันหนุนนายทุนโกง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2014 เวลา 21:17 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๒. ชีวิตของทฤษฎี

พิมพ์ PDF

บทวิจารณ์หนังสือในชื่อเรื่อง In the Shadow of Genius วิจารณ์หนังสือ The Perfect Theory แต่งโดย Pedro G. Ferreira ศาสตราจารย์วิชาดาราฟิสิกส์ (Astrophysics) แห่งมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด    ให้ทั้งความสนุก และประเทืองปัญญา     เป็นการจับประเด็นจากหนังสือหนา ๒๘๘ หน้า มาลงในหนังสือพิมพ์หน้าเดียว

เป็นการย่นย่อพัฒนาการของฟิสิกส์ทฤษฎีในช่วงเวลากว่าร้อยปี มาให้เราอ่านในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง    โดยมีพระเอกเป็นอัจฉริยะอันดับหนึ่งของโลก คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์    โดยบทความบอกเราว่า อัจฉริยะผิดได้

ทฤษฎีที่ว่าคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่ไอน์สไตน์ จนกลบผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบล (photoelectric effect) โดยสิ้นเชิง

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมีชื่อเสียงได้รับความสนใจมาก เพราะมีประเด็นโต้แย้งมาก    และที่สำคัญ ตัวไอน์สไตน์เองก็บอกว่า ทฤษฎีนี้เป็นเรื่องของสิ่งที่ยังไม่จบ    ยังมีอะไรบางอย่าง ที่ยิ่งใหญ่กว่า    หนังสือ The Perfect Theory เล่มนี้นี่แหละ ที่อธิบายสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

ศ. เฟอร์ไรรา บอกว่า อัจฉริยภาพของไอน์สไตน์อยู่ที่เขามีปัญญาญาณด้านฟิสิกส์ (physical intuition)    คือคิดขึ้นมาได้เอง จากสามัญสำนึก โดยไม่ต้องทดลองอะไรทั้งสิ้น    แล้วต้องหาวิธีอธิบายด้วยภาษาวิทยาศาสตร์ คือเป็นสมการคณิตศาสตร์ non-Euclidian geometry   ซึ่งเขาไม่มีความรู้    จึงต้องศึกษาเพื่ออธิบายทฤษฎีนี้ ให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อ    เป็นการเสนอทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่กลับหัวกลับหางกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป    นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อไอน์สไตน์อายุเพียง ๒๖ ปี

ทฤษฎีนี้ต่อยอดมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะด้าน (Special Relativity Theory) โดยเอาเรื่องแรง โน้มถ่วงเติมเข้าไป    ทำให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่ทฤษฎีที่มีอยู่ไม่สามารถอธิบายได้    แต่เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ก้วหน้าไป    ก็เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปก็มีข้อจำกัด    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกทัศน์ว่าจักรวาลเป็นสิ่งคงที่

เวลานี้เรารู้ว่า จักวาลเป็นสิ่งที่กำลังขยายตัว    โดยจุดเริ่มต้นของจักรวาลคือ The Big Bang และเรารู้ว่า จักรวาลส่วนที่เราพอจะรู้จัก เป็นเพียงร้อยละ ๔ ของทั้งหมด    อีกร้อยละ ๙๖ เป็น  “หลุมดำ” หรือ dark matter และ dark energy   ซึ่งหมายความว่าเรายังค้นไม่พบวิธีทำความรู้จักมันนั่นเอง

ชีวิตของทฤษฎีสัมพัทธภาพ บอกเราว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนของจักรวาล    ความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติหลายส่วนมีช่วงชีวิต เกิดมาแล้วก็จางไป   มีความรู้ใหม่เพิ่มเติมเข้ามา หรือเข้ามาแทนที่

ศ. เฟอร์ไรรา บอกว่า กำลังจะมีการค้นพบความรู้ใหม่เกี่ยวกับจักรวาล ที่เป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เปลี่ยนโลกทัศน์ของเราเกี่ยวกับจักรวาลโดยสิ้นเชิง

สำหรับผม ที่เรารู้ว่าส่วนที่เราไม่รู้มีถึงร้อยละ ๙๖   ที่รู้แล้วมีนิดเดียว    ก็ถือเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่    เพราะมันช่วยเตือนสติให้มนุษย์ลดอหังการ์ลงไป

หรือมองในเชิงบวก นี่คือโอกาสทำงานวิจัยหาความรู้ที่ขอบฟ้าใหม่ ที่เรียกว่า Blue Sky Research

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:15 น.
 

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส

พิมพ์ PDF

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส

 

 

ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรห่วง

หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ

และห่วงรายได้กันมากๆ แล้ว

จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้

ความดี ความเจริญ ของเด็ก

ความห่วงในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆ บั่นทอน

ทำลายความเป็นครูไปจนหมดสิ้น

จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอที่ตัวเอง

จะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้

ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่

ให้ใครเคารพบูชาอีกต่อไป

 

 

พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเฝ้าฯ

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๑

 

คัดลอกจากป้าย ที่โรงเรียนนวมราชานุสรณ์  จ. นครนายก

 

หรืออ่านได้จาก ที่นี่

 

 

๒๐ ก.พ. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:10 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๑. ชีวิตนักแขวน

พิมพ์ PDF

ผมสังเกตสมองของผม ว่าในช่วงหลังๆ นี้ สามารถ “แขวน” (suspend) เรื่องยุ่งใจไว้ได้     ไม่เอามาคิดให้รกสมอง รอไว้จังหวะเหมาะ จึงค่อยเอามาไตร่ตรอง

เพื่อกันลืม ผมใช้วิธีจดเตือนไว้ในปฏิทินใน iPad    ซึ่งเมื่อให้มันเข้าไปอยู่ใน อีเมล์ ของผม    ก็เปิดดูได้จาก Galaxy Tab  และ MacBook    รวมทั้งใน iPad 3 ตัวที่บ้าน    สาวน้อยจึงเห็นด้วย    พฤติกรรมของสาวน้อย ทำให้ผมนึกเปรียบเทียบกับใจผม     ว่าผมฝึกใจให้นิ่งอยู่กับเรื่องยุ่งๆ ได้    รวมทั้งให้ใจแข็งไม่เปิดเผยความลับ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเมียถาม

ใจผมบอกว่า “แขวนไว้” อย่าไปยุ่งกับมัน    หรืออย่าเพิ่งไปยุ่งกับมัน    กับสาวน้อย ผมบอกว่า เรื่องนี้ตกลงกันไว้ว่าเป็นความลับ ห้ามเอ่ยเด็ดขาด    แล้วผมก็จบ    วันหลังเขาถามอีก ผมก็ตอบด้วยรอยยิ้ม

ทำใจให้นิ่ง ไม่เข้าไปยุ่งหรือคิดเรื่องกวนใจ     ทำให้เรามีสมองสำหรับคิดไตร่ตรองเรื่องสำคัญ    เท่ากับผมฝึกกำกับ working memory ของผม    ให้ใสสว่างว่างสิ่งรบกวน    ทักษะนี้ ผมน่าจะได้จากการฝึก KM    หรือฝึก Dialogue ตามแนวของDavid Bohm ฝึกฟังแล้วรับเอามาแขวนไว้ ที่เรียกว่า suspend     ไม่ตัดสิน ไม่คิดแย้ง     ฝึกบ่อยๆ เข้า คงจะสามารถกำกับ working memory ได้ในระดับหนึ่ง

สมัยเรียนที่จุฬาฯ ผมบ้าอ่านหนังสือชีวประวัติบุคคลสำคัญ     ติดใจประวัติของนโปเลียน โปนาปาร์ต ว่ามีสมาธิสูงมาก    โดยนโปเลียนอธิบายว่า สมองของท่านเสมือนมีลิ้นชักเก็บเรื่องราว    เมื่อจะนอนก็ปิด ลิ้นชักหมด นอนหลับสบายไร้กังวล    เมื่อตื่นขึ้นมาต้องการคิดเรื่องอะไรก็เปิดลิ้นชักนั้น    เอามาคิดทีละเรื่อง ไม่ปนกัน    ผมอ่านเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน พร้อมกับคิดว่า นั่นมันเรื่องของคนพิเศษ

ตอนนี้ผมคิดใหม่ ว่าคนเราฝึกเป็น “นักแขวน”    หรือฝึกชักลิ้นชักสมองได้ทุกคน    ขอให้หมั่นฝึก ก็จะทำได้

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:35 น.
 


หน้า 370 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5608
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8614393

facebook

Twitter


บทความเก่า