Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สภาการหนังสือพิมพ์ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ

พิมพ์ PDF
เราขอคัดค้านการบังคับใช้ให้เป็นไปตามร่างกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมนี้ ขอสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการอันชอบธรรมที่จะคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างถึงที่สุด และขอเรียกร้องให้วุฒิสภา อันประกอบด้วยผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในคุณค่าของความดี และคนดีของสังคมนี้

สภาการหนังสือพิมพ์ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2556 สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์ หยุดทำร้ายประเทศชาติ ว่า “การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมิได้เป็นไปตามหลักการ มีลักษณะขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่นมากขึ้นในสังคมไทย อีกทั้งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ คนดีมีคุณธรรม และลดทอนคุณค่าของคุณงาม ความดี นับเป็นภัยร้ายแรงอย่างยิ่งสำหรับประเทศชาติในอนาคต

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อันเป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่ในการควบคุมกันเอง ส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชน ยึดถือความยุติธรรม และความเที่ยงธรรมเป็นหลักในการประกอบวิชาชีพ ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ ที่จะส่งเสริม และสนับสนุน ความดี และคนดี ภายใต้รัฐและผู้ปกครองที่ดี และแสดงให้เห็นประจักษ์แก่สังคมทั่วไป

รัฐที่ดีจะต้องปกครองด้วยกฎหมายมิใช่มนุษย์ และไม่ใช่ปกครองด้วยกฎหมายซึ่งมาจาก “เสียงข้างมาก” ที่ไม่ได้สะท้อนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง หากมุ่งหมายเพื่อตนเองและพวกพ้อง ในขณะเดียวกันอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารตามหลักการที่ถูกต้องได้ ในแง่ของความเป็นธรรม หรือหลัก “นิติธรรม” ซึ่งหมายถึงความเป็นธรรมที่มีอยู่ในกฎหมาย เป็นกฎ ระเบียบ แบบแผนที่สังคมยอมรับ และยินยอมพร้อมใจปฎิบัติตาม เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อหาและเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้แล้ว เห็นว่าขัดกับหลักการทั้งเรื่อง นิติรัฐ และนิติธรรมอย่างสิ้นเชิง

เมื่อกฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนทำผิดกฎหมาย ทั้งที่มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา สามารถที่จะยกเลิกเพิกถอนคำพิพากษานั้นได้ในภายหลัง หรือพ้นไปจากข้อกล่าวหาโดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิดใดๆ การปฎิบัติตามกฎหมายก็จะไม่สำคัญอีกต่อไป อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดโดยหลักการ ที่จะเป็นหลักประกันว่า บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และหากกระทำความผิดไม่ว่าคดีแพ่ง หรืออาญา ก็จะต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลเดียวกัน อย่างเสมอหน้ากัน ก็จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนได้อีก

เราเห็นว่า มติจากเสียงข้างมาก หากมิได้อยู่บนหลักการและพื้นฐานเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็ไม่สามารถรับรองความถูกต้องตามหลักการของการตรากฎหมาย ที่จะต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม และไม่สามารถที่จะอ้างความชอบธรรมได้ เราขอคัดค้านการบังคับใช้ให้เป็นไปตามร่างกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมนี้ ขอสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการอันชอบธรรมที่จะคัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างถึงที่สุด และขอเรียกร้องให้วุฒิสภา อันประกอบด้วยผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในคุณค่าของความดี และคนดีของสังคมนี้”

วิจารณ์ พานิช

๒ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:03 น.
 

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

พิมพ์ PDF

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

เดินหน้าค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ที่คอร์รัปชั่น

องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น เดินหน้าต่อต้าน พรบ. นิรโทษกรรม

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

องศ์กรต้านคอร์รัปชั่น ยื่นหนังสือ สถานทูตสหรัฐ เดินหน้าค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ที่คอร์รัปชั่น

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม รองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางเข้ามายื่นหนังสือแถลงการณ์ ให้กับสถานเอกอักคราชฑูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย

โดยคุณหญิงชฎา ได้บอกว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ประเทศไทย ต้องการแสดงจุดยืน ให้สังคมนานาชาติรับรู้ว่า องค์กรฯ พร้อมด้วยองค์กรจากภาคธุรกิจ การเงิน และการลงทุน รวมทั้งภาคประชาชน ให้ความสำคัญกับการต่อสู้ เพื่อแก้ไขปัญหาการคอรรัปชั่นภายในประเทศไทย

หลังจากเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มาตรา 3  มีเนื้อหาให้ความสำคัญในการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือมีความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รวมถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สืบต่อมาระหว่างปี 2547 จนถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2556

แต่อย่างไรก็ตามแม้สภาจะมีมติผ่านร่างในวาระ3 แล้ว แต่กฎหมายขณะนี้ก็ยังออกไม่ได้ เนื่องจากต้องรอการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการยื่นหนังสือครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณให้นานาชาติ  เห็นว่าพ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการล้างผิดคดีทุจริต และอาจจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลก ที่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับคดีอันเป็นความผิดฐานคอร์รัปชั่น แม้ประเทศจะมีการลงนามให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของประชาคมโลกในอนาคต

 

คัดค้านการนิรโทษกรรมแบบ “สุดซอย”

พิมพ์ PDF

เพราะไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีคอรัปชั่น

อ่านข่าวนักวิชาการคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับ “เหมาเข่ง” ที่นี่

ดูตามร่างกฎหมายฉบับนายวรชัย เหมะ ที่นี่ ไม่เห็นประเด็นเหมาเข่ง หรือสุดซอย เลย    คนไม่ติดตามข่าวอย่างผมจึงสงสัยว่า   ฉบับสุดซอย คงจะมาจากคณะกรรมาธิการ    เป็นเล่ห์กลทางการเมืองอย่างไร ผมไม่เข้าใจ

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 08:08 น.
 

ถอนยาพิษต่อการเรียนรู้

พิมพ์ PDF
ความเครียดทำให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมา ได้แก่ คอร์ติซอล และ นอร์อะดรีนาลิน ฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อการเชื่อมโยงใยประสาทในสมอง โดยเฉพาะที่สมองส่วน EF

ถอนยาพิษต่อการเรียนรู้

บทความเรื่อง Treating a Toxin to Learning เขียนโดย Clancy Blair ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2012    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่ายาพิษคือความเครียด   และเด็กที่ถูกอาบยาพิษคือเด็กจากครอบครัวยากจนหรือมีความเครียดจากสาเหตุอื่น   และส่วนของสมองที่ถูกพิษมากที่สุดคือส่วน Executive Function (EF)   ที่อยู่ตรงสมองส่วน neocortex ตรงหน้าผาก

นี่คือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เด็กจากครอบครัวยากจน มักมีผลสัมฤทธิ์ของการเรียนต่ำ

เขานำผลการวิจัยมาเล่า ว่าจริงๆ แล้ว ความเครียดเป็นยาพิษต่อสมองและการเรียนรู้ ในทุกอายุ   แต่ในวัยเด็ก มันจะก่อผลถาวรที่พัฒนาการของ EF   และต่อทักษะด้านการเรียนรู้ที่สำคัญมาก (critical cognitive skills)

พิษร้ายนี้ทำให้เราควบคุมอารมณ์ยาก ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ดี และไม่มีสมาธิ   และหากอาบพิษเรื้อรัง จะมีผลร้ายต่อสุขภาพ    ทั้งสุขภาวะทางกาย  ทางอารมณ์ และทางปัญญา

ในเด็ก ผลร้ายต่อพัฒนาการของสมอง เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องแม่

ความเครียดทำให้ต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมา   ได้แก่ คอร์ติซอล และ นอร์อะดรีนาลิน  ฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อการเชื่อมโยงใยประสาทในสมอง   โดยเฉพาะที่สมองส่วน EF

ในบทความนี้ เขาบอกว่า EF มีส่วนสำคัญต่อการคิดอย่างมีเหตุผล การวางแผน  การแก้ปัญหา  การกำกับอารมณ์ และความสนใจ (สมาธิ)

ที่จริงความเครียดเล็กน้อย ทำให้ตื่นตัว และทำงานซับซ้อนได้ดีขึ้น   แต่เมื่อระดับความเครียดเลยขีดพอดี ก็เกิดผลร้าย

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:55 น.
 

กระบวนการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ความเห็นของอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา

พิมพ์ PDF
ขอยืนยันว่า ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนี้ ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 122 มาตรา 142 และมาตรา 197

กระบวนการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ความเห็นของอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา

มีคนส่งต่อ อี-เมล์ มีข้อความดังต่อไปนี้

.....ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ผ่านการพิจารณาวาระที่สามจากสภาผู้แทนราษฎรไปเรียบร้อยแล้ว ตามความต้องการของทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคเพื่อไทย

.....กระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ก็ต้องส่ง ร่าง พรบ ฉบับนี้ ไปให้วุฒิสภาพิจารณา ถ้าวุฒิสภาเห็นชอบก็ถือว่า ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็ต้องส่งคืนสภาผู้แทนราษฎร และต้องทั้งสองสภาตั้งกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา แล้วเสนอต่อสภาทั้งสอง ถ้าสภาทั้งสองเห็นชอบก็ส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ฯลฯ แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบก็ให้ยับยั้งไว้ก่อน ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 147

 

.....ขอยืนยันว่า ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนี้ ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 122 มาตรา 142 และมาตรา 197

 

.....ดังนั้นเมื่อร่าง พรบ ฉบับนี้ ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ส.ส. ส.ว. หรือสมาชิกของทั้งสองสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ มีสิทธิเสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทน ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา ว่า ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนี้ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง(1)

.....ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนี้ มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ร่าง พรบ ฉบับนี้เป็นอันตกไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสาม ซึ่งก็หมายจะไม่มีผลที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 

...........ขอให้ใจเย็น ๆ ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินเหตุ ในความเป็นนักกฎหมายค่อนข้างเชื่อมั่นว่า ร่าง พรบ นิรโทษกรรม ฉบับนี้ยากที่จะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย ครับ !

ชูชาติ ศรีแสง

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:01 น.
 


หน้า 427 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611012

facebook

Twitter


บทความเก่า