Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๗. ส่งเสริมการวิจัยยุทธศาสตร์ใหม่

พิมพ์ PDF
ผมจึงขอเสนอให้มีชุดโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาบ้านเมือง ในด้านการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางการศึกษา โครงสร้างทางพลังงาน โครงสร้างด้านสุขภาพ ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก ที่เป็น supply-side policy จากส่วนของสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐ

 

นสพ. เดอะ เนชั่น ฉบับวันที่ ๒๐ ก.ย. ๕๖ ลงข่าว Improve supply-side policies to sustain growth : BOT governor ผมอ่านข่าวนี้แล้วก็ปิ๊งแว้บขึ้นว่าในสภาพสังคมและการเมืองในปัจจุบัน  พวกเราที่เป็นภาคประชาชนต้องอย่าหวังพึ่งรัฐบาล    อย่าหวังพึ่งราชการ    ต้องหวังพึ่งตนเอง พึ่งพากันเองในภาคประชาชน    รวมตัวกันช่วยกันสร้างสรรค์บ้านเมือง     จากพลังของภาคประชาชน   ดังที่แนะนำไว้ในรายงานของคณะปฏิรูป ซึ่งอ่านได้ที่ 

 

ผมจึงขอเสนอให้มีชุดโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาบ้านเมือง ในด้านการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ  โครงสร้างทางการศึกษา  โครงสร้างทางพลังงาน  โครงสร้างด้านสุขภาพ  ฯลฯ     เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก    ที่เป็น supply-side policy จากส่วนของสังคมที่ไม่ใช่ภาครัฐ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ย. ๕๖

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:05 น.
 

ครูห้ามสอน

พิมพ์ PDF

นี่คือกฎของโรงเรียนบ้านนาแก้ว  อ. ท่าแพ  จ. สตูล    ดังมีรายละเอียดในบันทึกการไปเยี่ยมชม (จับภาพ)  การเรียนการสอนของโรงเรียนนี้ โดยทีมของมูลนิธิสดศรีฯ    เขียนโดยคุณแก้วใจ ศาสตร์ประสิทธิ์  และคุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส ที่นี่ โปรดอย่าข้ามเรื่องราวของโรงเรียนนี้ ตามที่คุณวรรณาไปพบเห็น นะครับ   มีเรื่องราววิธีคิด และวิธีจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจยิ่ง    รวมทั้งมีความประทับใจจากครูและพ่อแม่เด็ก ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวเด็กที่เรียนโดยวิธีใหม่นี้ชัดเจน

ในฐานะประธานมูลนิธิสยามกัมมาจล ต้องอวดเสียหน่อยว่า โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิสยามกัมมาจล

ห้ามครูสอน เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้แบบ Active Learning หรือเรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง    ด้วยแนวทางที่อาจเรียกว่า RBL (Research-Based Learning)    คือเรียนโดยการสร้างความรู้

จุดเด่นคือ มีวิธีการที่ทำให้ครูต้องรวมตัวกันเรียนรู้จากการปฏิบัติ    เช่นเดียวกันกับที่นักเรียนก็เรียนรู้ จากการปฏิบัติ    โดยมีขั้นตอนกำหนดวิธีดำเนินการชัดเจน ๑๐ ขั้นตอน

นี่คือนวัตกรรมการเรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑

ขอเพิ่มเติมว่า ในการปรึกษาหารือที่มูลนิธิสดศรีฯ คุณแก้วใจ กับคุณอ้อ (วรรณา) เล่าว่า ผอ. โรงเรียน บ้านนาแก้ว ชื่อยงยุทธ ยืนยง ผู้ริเริ่มจัดการเรียนรู้แบบนี้ ต้องเผชิญความท้าทายจากครูทั้งโรงเรียน ที่ไม่เห็นด้วย กับการเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้   ไปยุพ่อแม่เด็กว่าจะทำให้เด็กไม่ได้ความรู้ และจะสอบตก    และต่อมาครูยกทีม ลาออกทั้งโรงเรียน ยกเว้น ๑ คน    นำมาเล่าเพื่อให้ได้ทราบว่า ความสำเร็จของโรงเรียนบ้านนาแก้ว ไม่ใช่ได้มาอย่างราบรื่น

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:36 น.
 

สงครามกลางเมือง

พิมพ์ PDF
พฤติการณ์ของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นบทที่น่าอัปยศอดสูที่สุดบทหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เพราะสามารถเอาชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงเหนือพรรคอื่น ๆ พรรคเพื่อไทยจึงสามารถตั้งน.ส.ยิ่ง ลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีหุ่น (โดยมี (พ.ต.ท.)ทักษิณ ชินวัตร)เป็นนายกรัฐมนตรีตัวจริง) และเมื่อยึดรัฐสภาและรัฐบาลได้แล้ว สมุนของ (พ.ต.ท.)ทักษิณก็รุกคืบต่อไปด้วยการแก้ไขรัฐธรรม นูญและออกกฎหมายนิรโทษกรรม รัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น เห็นได้ชัดว่าทำเพื่อเสริมอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ส่วนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่ง ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและได้ส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาแล้วนั้น ก็เห็นได้ชัดเช่นกันว่าทำเพื่อนิรโทษหรือล้างผิดโดยปราศจากเงื่อนไขให้แก่อาชญากรที่ปล้น ฆ่าและโกงบ้าน โกงเมือง โดยมี(พ.ต.ท.)ทักษิณเป็นหัวหน้าอาชญากร

สงครามกลางเมือง

โดย วสิษฐ์ เดชกุญชร   อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:45 น.
 

อธิการบดี ๑๔ สถาบัน ออกแถลงการณ์ ค้านกฎหมายนิรโทษกรรม

พิมพ์ PDF
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เห็นว่า การที่ ร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มีเนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเท่ากับเป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริตคอรัปชั่นมิใช่สิ่งร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็สามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ด้วยการนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรม การกระทำความผิด ในเรื่องทุจริตคอรัปชั่นจะทำให้การต่อสู้กับปัญหาคอรัปชั่นในสังคมไทยในปัจจุบันไม่ประสบผลสำเร็จและจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับการกระทำในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต

อธิการบดี ๑๔ สถาบัน ออกแถลงการณ์ ค้านกฎหมายนิรโทษกรรม

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ย. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 พฤศจิกายน 2013 เวลา 20:48 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๒๕. สร้างสะพานข้ามหุบเหวมรณะให้แก่ประเทศไทย

พิมพ์ PDF

เมื่อวันที่ ๑๘ก.ย. ๕๖ สภามหาวิทยาลัยมหิดล อนุมัติการจัดตั้ง MITI (Mahidol Institute of Technology Transfer and Innovation - สถาบันวิวัฒน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นหน่วยงานอิสระ   มีบอร์ดของตนเอง   ทำหน้าที่ “วิเคราะห์และยกระดับกลไกการผลักดันงานวิจัยสู่นโยบายระดับชาติ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคสังคมและธุรกิจ”

 

ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ผมตีความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล กำลังจัดตั้ง “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (social enterprise) ทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งของหุบเหวมรณะ   ที่ขวางกั้นระหว่างการสร้างสรรค์ทางวิชาการ หรือวิจัยและพัฒนา     กับฝั่งการนำไปประยุกต์เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม หรือการทำประโยชน์แก่สังคม ในเชิงนโยบาย หรือด้านอื่นๆ    หรือที่ผมเรียกว่า เป็นการทำ downstream management ของการวิจัยและพัฒนานั่นเอง

 

ทำให้ผมนึกถึง UCLB ที่ผมเพิ่งไปดูงานที่ลอนดอน   และคณะผู้วางรูปแบบ MITI เอ่ยถึง Cambridge Enterprise และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอื่นๆ ที่ต่างก็มีบริษัทจัดการเทคโนโลยีและความร่วมมือกับฝ่าย “ผู้ใช้” ทั้งสิ้น   โดยทำงานอย่างมืออาชีพ   มีความเข้าใจความต้องการของฝ่าย “ผู้ใช้”   ที่ ดร. พานิช เหล่าศิริรัตน์ ที่จะมาเป็นผู้อำนวยการ MITI กล่าวว่า จะทำงานแบบ outside-in   และมีเป้าหมายเลี้ยงตัวเองได้    และในที่สุดเป็นหน่วยสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล

 

แม้จะชื่อ MITI ผมก็เชื่อว่าในที่สุดแล้วหน่วยงานนี้จะไม่เพียงทำงานให้แก่นักวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น best replica rolex  แต่จะทำงานให้แก่หน่วยงานวิจัยทั้งประเทศ    หรือทำงานให้แก่ประเทศไทยนั่นเอง

 

ผมเชื่อว่า MITI จะริเริ่มสร้างสรรค์ และสั่งสมความรู้และทักษะของประเทศ   ในการข้ามหุบเหวมรณะแห่งการวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ทางการค้า และประโยชน์สาธารณะ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2013 เวลา 21:16 น.
 


หน้า 428 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8610543

facebook

Twitter


บทความเก่า