Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ดีเอสไอ กับการกลั่นแกล้ง - รับใช้ชาติ หรือรับใช้พรรคการเมืองที่เป็นรํฐบาล

พิมพ์ PDF

ดีเอสไอ กับการกลั่นแกล้ง - รับใช้ชาติ หรือรับใช้พรรคการเมืองที่เป็นรํฐบาล

แม้ จำเลย จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการใดๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่การใช้อานาจของจำเลย ต้องกระทำภายใตขอบเขตของกฎหมาย ไม่กระทำการในลักษณะกลั่นแกล้ง

ดีเอสไอ กับการกลั่นแกล้ง - รับใช้ชาติ หรือรับใช้พรรคการเมืองที่เป็นรํฐบาล

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 12:15 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๙๓. อุปนิสัยศึกษา

พิมพ์ PDF
คนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกจนเกิดอุปนิสัยที่เข้มแข็ง รู้เท่าทัน ต้านทานความเย้ายวนได้ ก็จะตกเป็นเหยื่อ และมีชีวิตที่ยากลำบาก ไร้ความสุข

 

ในสะดวกสาร พพ. ๘๓๙ เล่ม ๒  หนังสือเพื่อความพอเพียงของชีวิต ซึ่งออกเผยแพร่มา ๓ ปีแล้ว     มีเรื่องอุปนิสัยศึกษา เป็นเรื่องหลักเรื่องหนึ่ง    คำนี้ในภาษาอังกฤษคือ character development นั่นเอง

 

เมื่อค้น กูเกิ้ล ด้วยคำว่า อุปนิสัยศึกษา ก็ได้ผลการค้นจำนวนมาก โดยชิ้นแรกคือ ข่าวนี้

 

ที่จริง ตามหลักการศึกษาไม่ว่าในยุคสมัยใด    การพัฒนาอุปนิสัย เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการศึกษา     และโรงเรียน/ครู ต้องเอาใจใส่พัฒนาอุปนิสัยของนักเรียน    แต่มาระยะหลังนี้ ย่อหย่อนลงไปมาก    ผมโทษลัทธิ สอนเพื่อสอบ”    เน้นการสอบมาตรฐานส่วนกลาง    ซึ่งสอบได้เพียงวิชาความรู้เท่านั้น ไม่สามารถสอบอุปนิสัยได้

 

ทั้งๆ ที่ในยุคปัจจุบัน สถานศึกษา/ครู ยิ่งต้องเอาใจใส่ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอุปนิสัย    เพราะจะเป็นทุนชีวิต ช่วยให้เด็กมีชีวิตที่ดีในอนาคต เพราะโลกยุคทุนนิยมบริโภคนิยม และขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยตลาด    สังคมเต็มไปด้วยมายา กึ่งเท็จกึ่งจริง เพื่อกระตุ้นการบริโภค    ผู้อ่อนแอตกเป็นเหยื่อของมายาและกิเลสที่ถูกกระตุ้น ซึ่งในหลายๆ ครั้ง อย่างไร้จริยธรรมของการสื่อสาร

 

คนที่จิตใจอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกจนเกิดอุปนิสัยที่เข้มแข็ง รู้เท่าทัน ต้านทานความเย้ายวนได้    ก็จะตกเป็นเหยื่อ    และมีชีวิตที่ยากลำบาก ไร้ความสุข

 

ผมจึงไม่เห็นด้วย ที่วงการศึกษามอง อุปนิสัยศึกษา” เป็นเรื่องที่มีการดำเนินการ หรือจัดการเรียนรู้ แยกออกมาต่างหาก จากการศึกษาในหลักสูตรปกติ    ผมคิดว่า นั่นเป็นมิจฉาทิฐิของลัทธิแยกส่วน

 

ผมเชื่อว่า การศึกษาที่ดีต้องจัดการฝึกฝนเรียนรู้ด้านการสร้างอุปนิสัยที่ดี ที่เข้มแข็ง เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต    ที่เป็นส่วนหนึ่งของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑   ที่จะต้องฝึกฝนบูรณาการอยู่ในทุกสาระวิชา ทุกกิจกรรม    ไม่ใช่แยกออกมาเป็นวิชาหรือกิจกรรมต่างหาก

 

ผมเชื่อในการศึกษาแบบบูรณาการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

.๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 23:06 น.
 

ไปเห็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตตัวจริง ที่สตูล

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๗ - ๑๘ ม.ค. ๕๗ ผมร่วมเดินทางไป จ. สตูล กับทีมงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น    ตามที่เล่าแล้วในบันทึกของวันที่ ๕ ก.พ. ๕๗

นอกจากไปพบแหล่งทำงานเชื่อมโยงสังคม ของมหาวิทยาลัยตามที่ได้บันทึกไว้แล้ว    ผมยังไปพบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวจริง    ที่กระทรวงศึกษาธิการไม่เข้าใจ    เพราะมัวหลงผิดว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องจัดโดยหน่วยงานของการทรวงศึกษาธิการเท่านั้น

การเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องแนบแน่นอยู่กับการดำรงชีวิตตามปกติ ของผู้คน    ไม่ใช่แปลกแยกออกไป อย่างกิจกรรมของกระทรวงศึกษาธิการ    ที่เน้นการสอนวิชา

การเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องอยู่ในการปฏิบัติของชาวบ้าน    ไม่ใช่อยู่ที่การสอนของครู หรือวิทยากร    ปฏิบัติแล้วสังเกตหรือวัดผล    และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน    โดยมี “พี่เลี้ยง” หรือ “คุณอำนวย” ช่วยจัดกระบวนการ    จัดให้มีการจดบันทึก    เพื่อต่อยอดความรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ

ชาวบ้านพูดเอง ว่าเมื่อก่อนมีโครงการเข้ามา เขาไม่ได้เรียนรู้ มุ่งทำตามข้อกำหนดของโครงการเท่านั้น    โครงการเสร็จก็จบ ชาวบ้านได้เรียนรู้น้อยมาก    แต่โครงการ“สร้างชุมชนบริหารจัดการตนเอง” นี้ ต้องการให้ชาวบ้านร่วมกันคิดเอง    วางเป้าหมายเอง เก็บข้อมูลเอง และร่วมกันวิเคราะห์ ใช้ข้อมูล    ทำให้ได้ความรู้มาก

ผมฟังแล้ว นึกถึงเมื่อเกือบสิบปีก่อน ไปฟังนักเรียนโรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญสุพรรณบุรี นำเสนอผลการเรียนรู้จากแปลงนาของตน   ตอนนั้นฟังสำเนียงสุพรรณ คราวนี้ฟังสำเนียงปักษ์ใต้    แถมยังมี ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปเรียนรู้วิธีทำนาปลอดสารพิษมาจาก มขข. ด้วย     จะเห็นว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวบ้าน ต้องรู้จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มของตนเอง และเรียนรู้ “ความรู้ปฏิบัติ” (tacit knowledge) จากคนที่ทำมาหากิน หรือดำรงชีวิตแบบเดียวกัน

และยังต้องรู้จักเรียนรู้จากหน่วยงานราชการในพื้นที่ด้วย     ในที่ประชุม ชาวบ้านจะเอ่ยถึงสำนักงาน ป่าชายเลนที่ ...  หลายตัวเลข ตามพื้นที่ของตน ที่ตนไปขอเรียนรู้ หรือขอความช่วยเหลือ

การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตนเองเป็นผู้กำหนด และดำเนินการ    ตัวช่วยสำคัญคือการรวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติ มีการจดบันทึก มีการเก็บ วิเคราะห์ และใช้ข้อมูล    ตัวช่วยที่ ๒ คือ “คุณอำนวย”    ตัวช่วยที่ ๓ คือ แหล่งเรียนรู้ ทั้งจากพื้นที่ และแดนไกล

ตัวช่วยไหนๆ ก็ไม่เท่าความมั่นใจในตนเอง มุมานะที่จะเรียนรู้ต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง

คณะของเราไปนั่งฟัง เพื่อช่วยเสริมความมั่นใจแก่ชาวบ้าน ว่าดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ตลอดชีวิตของตน มาถูกทางแล้วการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้คนไม่ว่าในบริบทชาวบ้านหรือชาวเมือง    เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (adult learning)    ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้

๑. มีประสบการณ์ หรือลงมือทำ ด้วยตนเอง (concrete experience)

๒. มีการสังเกตหรือตรวจสอบผล แล้วทบทวนไตร่ตรอง (reflection)

๓. เกิดเป็นหลักการ ที่เป็นนามธรรม (forming abstract concepts)

๔. นำไปทดสอบหรือใช้ในสถานการณ์ใหม่ (testing in new situations)

 

คนที่เป็นชาวบ้าน ต้องการพี่เลี้ยง ช่วยให้คำยืนยันแนวทางใหม่ๆ ของตน ว่าดำเนินไปถูกทางแล้ว    ด้วยการร่วมกันตีความผลที่เกิดขึ้น    ตามขั้นตอนที่ ๒   เพื่อเคลื่อนไปสู่หลักการที่เป็นามธรรม ในขั้นตอนที่ ๓   สำหรับให้ชาวบ้านนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์ใหม่    เกิดวงจร 1-2-3-4 วงจรใหม่    เรื่อยไปไม่รู้จบ

ที่ผมไปเห็นที่สตูล  ชาวบ้าน   (๑) บ้านหลอมปืน  ม. ๑๔  ต. ละงู  อ. ละงู  ทำโครงการจัดการพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย ในหลากหลายมิติ   รวมทั้งการพัฒนาคน   (๒) สภาองค์กรชุมชน ต. ขอนคลาน  อ. ทุ่งหว้า ทำโครงการจัดการพื้นที่ทางทะเล    ร่วมกับภาคีในพื้นที่อย่างกว้างขวาง    มีการเก็บข้อมูลด้วย GPS   และข้อมูลด้านรายได้ รวมแล้วชาวบ้านตกใจมาก    เพราะรวมแล้วได้ถึงปีละ ๒๕ ล้านบาท   (๓) บ้านบุโบย  ม. ๓  ต. แหลมสน  ทำโครงการธนาคารปูม้า  ศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยของปู   และกำหนดเขตอนุรักษ์   (๔) บ้านบ่อเจ็ดลูก  ทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษ  พัฒนาวิธีปลูกแบบลดต้นทุน  และวิธีการจัดการด้านการตลาด ส่งผลผลิตไปมาเลเซีย, ตลาดหัวอิฐ นครศรีธรรมราช, หาดใหญ่, พัทลุง, ตรัง

ได้ไปเห็นร่องรอยของการเรียนรู้ เป็นวงจรต่อเนื่อง    น่าชื่นชมยิ่ง    เห็นภาพการมี adult learning skills ชัดเจนมาก

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 23:09 น.
 

สัมภาษณ์ พล.ร.อ. สุรวุฒิ มหารมณ์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ

พิมพ์ PDF
ตั้งแก๊ง สอนให้เกลียดชังคนอื่น ทำมานาน

สัมภาษณ์ พล.ร.อ. สุรวุฒิ มหารมณ์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ

ชม ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๕ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 02:11 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๙๑. สะท้อนคิดจากการดูวีดิทัศน์ R2R

พิมพ์ PDF

แผ่น DVD 2 แผ่น    คือเรื่อง วิถี R2R สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กับเรื่อง ร่วมสร้างวัฒนธรรม R2R สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แผ่นหนึ่ง     กับอีกแผ่นหนึ่ง เรื่อง วิถี R2R เรียบง่าย คุณภาพ ครบวงจร ที่จัดทำโดยโครงการ R2R ประเทศไทย     ผมดูแล้วหวนคิดถึงชีวิตของตนเอง

แต่ก่อนอื่นผมขอเชิญชวนให้ดูวีดิทัศน์ ๓ เรื่องนี้    ซึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพงาน    พัฒนาโดยพนักงาน ตัวเล็กตัวน้อยหน้างาน    ที่ทำให้คนเล็กคนน้อยกลายเป็น ผู้ยิ่งใหญ่” ในการพัฒนางานของตน    เพื่อรับใช้หรือทำประโยชน์แก่ผู้อื่น

คนเราทุกคนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้    โดยไม่ต้องยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ไม่ต้องอยู่ในฐานะหัวหน้าควบคุมคนอื่น    แต่มุ่งทำงานของตนให้ดีขึ้นกว่าเดิม    หาวิธีการใหม่ๆ เอามาปรับปรุงงาน    โดย R2R เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง    ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ ของการพัฒนางาน    ความสำเร็จในการพัฒนางานของตน และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่   เป็นผู้นำ น่าชื่นชม

วัฒนธรรมคุณภาพ เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ ตอนทำงานเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงปี ๒๕๒๘ - ๒๕๓๒    ที่ขบวนการ QCC (Quality Control Circle) กำลังเบ่งบานในสังคมไทย   ทำให้ผมได้เรียนรู้และเชื่อมั่นว่า กระบวนการคุณภาพ มุ่งพัฒนาคุณภาพงานของตนอย่างต่อเนื่อง (CQI – Continuous Quality Improvement) เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ ที่องค์กรใด และบุคคลใดสามารถปลูกฝังไว้ในตนได้    จะเป็นคุณไปตลอดชีวิต

คุณประโยชน์หลัก อยู่ที่มันปลุกความมั่นใจในตัวเอง ของคนทุกคน   รวมทั้งคนที่ทำงานอยู่ในระดับที่เรียกว่า แรงงานไร้ฝีมือ เช่นพนักงานทำความสะอาด    ผมได้ประจักษ์กับตา ว่าเมื่อเขาได้รวมทีมกันทำกระบวนการ QC   ทำความเข้าใจเป้าหมายงานของตน    และร่วมกันตั้งเป้าหมายใหม่ ที่ดีกว่าเดิม    แล้วใช้กระบวนการ PDCA เพื่อบรรลุเป้าหมายใหม่นั้น    ชีวิตการทำงานของพนักงานเหล่านี้เปลี่ยนไป    เขาไม่ได้ทำงานจำเจอีกต่อไป    แต่ทำงานสร้างสรรค์วิธีทำงานใหม่ๆ ที่ให้ผลดีกว่าเดิม    ศักยภาพความเป็นมนุษย์ของเขาได้รับการปลุกขึ้นมา

ดังนั้น เมื่อผมไปเป็นผู้ช่วยคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ไปรับใช้ศิริราช    ในการคลำหาทางต่อยอดคุณค่าของชิ้นงาน จำนวนมหาศาลของศิริราช ให้กลายเป็นผลงานวิจัย / วิชาการ    เมื่อประมาณ ๙ ปีที่ผ่านมา    กระบวนการพูดคุย หรือที่เราเรียกกันว่า เป็นการ โค้ช งาน    ก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป้า     จากเป้าผลงานวิชาการ เป็นเป้ายกระดับคุณภาพงานประจำ    และเกิด R2R เป็นเครื่องมือในที่สุด

R2R จึงเป็นหลายอย่างในเวลาเดียวกัน   แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นเครื่องมือพัมนาวัฒนธรรมคุณภาพ

จะทำอะไรก็ตาม ต้องทำอย่างมีคุณภาพ    คุณภาพสูงอาจไม่ได้ในทันที    แต่เมื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง    ในที่สุดก็จะได้ผลงานที่คุณภาพสูง

ความมานะพยายาม และดำเนินการต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง    ชำนะอุปสรรคทั้งปวง

 

 

วิจารณ์ พานิช

.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 02:16 น.
 


หน้า 389 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603893

facebook

Twitter


บทความเก่า