Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทย เป็น potential conflict of interest

พิมพ์ PDF

สภามหาวิทยาลัยไทย มีองค์ประกอบเป็นไตรภาคี  คือมีฝ่ายคณาจารย์หรือบุคลากร  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  ฝ่ายละเท่าๆ กัน

ที่จริง ไม่ว่ากรรมการจากสภามหาวิทยาลัยจากฝ่ายไหน ต่างก็มี potential conflict of interest ทั้งสิ้น  เช่นกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจมี potential conflict of interest ที่ต้องการดึงมหาวิทยาลัยไปทำประโยชน์ให้แก่กิจการที่ตนสนใจ หรือตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง  หรือต้องการเอาพรรคพวกของตนเข้าทำงานในมหาวิทยาลัย  หรือต้องการให้มหาวิทยาลัยเปิดสอนสาขาที่พวกตนต้องการ

สภาพตามย่อหน้าบน อาจเป็น conflict of interest หรือไม่ก็ได้  ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และเจตนาของผู้นั้น   เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่มีเส้นแบ่งชัดเจน  นี่คือความยากในเรื่องเชิงจริยธรรม

หลักการที่ง่ายที่สุด ในการดูแลไม่ให้เกิด conflict of interest คือ กรรมการสภามหาวิทยาลัยทุกคน ต้องเข้ามาทำหน้าที่โดยยึดถือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นที่ตั้ง  ไม่เข้ามาเอาตำแหน่งกรรมการสภาฯ เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์อย่างอื่น   นี่คือหลักการ ที่ฟังดูง่าย  แต่ในทางปฏิบัติ ทุกคนที่เป็นปุถุชน ก็เบี่ยงเบนได้ง่าย  ต้องมีการเตือนสติ มีกลไกให้ระมัดระวัง  และหากมีสัญญาณว่าเกิดพฤติกรรมที่ส่อว่า กรรมการท่านใดท่านหนึ่งกำลังทำสิ่งที่เน้นประโยชน์ตนเหนือประโยชน์ขององค์กร  ก็ต้องมีคนเตือน โดยเพื่อนกรรมการสภาฯ ด้วยกันช่วยเตือน  และบุคคลที่สำคัญที่สุดคือนายกสภาฯ

จริงๆ แล้ว potential conflict of interest สูงที่สุดในคนที่ทำงานในมหาวิทยาลัยนั่นเอง  คือทั้งกรรมการสภาฯ ผู้แทนฝ่ายบริหาร  ผู้แทนคณาจารย์  และผู้แทนบุคลากรสายสนับสนุน ต่างก็มีโอกาสเกิด “ผลประโยชน์ขัดกัน” ได้ง่าย  และที่ร้ายที่สุดคือ ตอนตัดสินเลือกผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดขององค์กร

จึงเกิดความรวนเร ไม่สงบ ทะเลาะเบาะแว้ง ได้บ่อย ในการสรรหาอธิการบดี  ในสภาพปัจจุบัน มหาวิทยาลัยที่มีวัฒนธรรมความดีงามเข้มแข็ง ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเคารพเชื่อถือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ  โอกาสที่ความขัดแย้งจะสงบโดยเร็วก็สูง  แต่ยังมีมหาวิทยาลัยอีกจำนวนมากในประเทศไทย ที่สภาพไม่เป็นเช่นนั้น  โอกาสที่ความขัดแย้งลุกลามจึงสูง

ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า  องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัยไทยแบบไตรภาคี อย่างในปัจจุบัน ยังจะต้องมีวิวัฒนาการต่อไปอีก  และเดาว่า ต่อไปจะต้องเป็นสภาฯ ที่องค์ประกอบเป็นกรรมการภายนอกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด  โดยที่คนเหล่านี้ต้องเสียสละทำงานให้แก่สังคม และต้องรู้และมีทักษะด้านการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา

 

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ค. ๕๖

คัดลอก http://www.gotoknow.org/posts/543565

 

สมุดปกขาว (White Paper)

พิมพ์ PDF

ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ: ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” โดย
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ที่มาและความสาคัญ

การพัฒนาโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เข้มแข็งจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืนไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีทางการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด หากพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะพบว่าภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันโดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภาคบริการมีอัตราส่วนสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2553 (ภาคบริการร้อยละ 45.1/ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 43.3: World Economic Outlook Database ค.ศ. 2010) ยิ่งไปกว่านั้น ภาคบริการถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ทั้งนี้ โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็มีภาคบริการเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น โดยการเจรจาการค้าในปัจจุบันต่างให้ความสาคัญกับการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ประเทศไทยเองไม่เพียงแค่เจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียนเท่านั้นแต่ยังเจรจาเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศอื่นๆ ในกรอบการเจรจาแบบทวิภาคี กระแสการเปิดเสรีทางการค้ามีแนวโน้มที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ จึงไม่สามารถแยกบริบทด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนออกจากกัน รวมทั้งภาคบริการยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี นวัตกรรม การเคลื่อนย้ายของทุน การเงินและทุนมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ประเทศไทยจัดตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 จุดเน้นของประเทศคือการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สาหรับภาคบริการนั้นปัจจุบันยังไม่ปรากฏแนวทางหรือแผนแม่บทในการพัฒนาธุรกิจภาคบริการในภาพรวมทั้งๆ ที่แนวโน้มการเจริญเติบโตในภาคบริการมีมากขึ้น ในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศหันมาเน้นธุรกิจภาคบริการมากขึ้น หนึ่งในสาเหตุหลักเนื่องมาจากเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ในมือของประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร การพัฒนาธุรกิจบริการจึงมีความสาคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อหลุดพ้นจากสถานะประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Country) แต่ธุรกิจบริการไทยต้องประสบปัญหากับกรอบนโยบายและทิศทางที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ อาทิเช่นมาตรฐานการให้บริการ กฎระเบียบและข้อกฎหมายบางประการนั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ทำให้กลไกการพัฒนาภาคบริการโดยรวมไม่สามารถที่จะใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจบริการเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและสร้างความคุ้มกันต่อความผันผวนภายนอกเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)

กระบวนการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนซึ่งเริ่มเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นเป็นลำดับตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ 1-7 และจากชุดที่ 8-11 ระดับการเปิดตลาดจะทวีความเข้มข้นขึ้น โดยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการทุกสาขาได้เกินกึ่งหนึ่งเริ่มตั้งแต่ข้อผูกพันการเปิดตลาดฯ ชุดที่ 8 และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในสาขาบริการเร่งรัด และทยอยยกเลิกอุปสรรคในการเข้ามาให้บริการทั้งหมดตามที่อาเซียนกำหนดเมื่อปี 2558 ขณะเดียวกันอาเซียนยังดำเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการกับคู่เจรจาอื่นๆ และประเทศไทยเองมีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการแบบทวิภาคีกับคู่เจรจาในหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องกาหนดยุทธศาสตร์มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการให้สอดรับกับกระแสการเปิดเสรีและสถานะของธุรกิจบริการไทยเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การเปิดเสรีในกรอบอาเซียนทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันในระดับที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคมีทางเลือกในการใช้บริการ ถ้าหากภาคบริการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะเติบโตได้มากในอนาคต ประเทศไทยจึงควรที่จะใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคบริการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบธุรกิจบริการทั้งหมด ตลอดจนส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศเพื่อเปิดรับโอกาสและการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น
เนื่องด้วยการพัฒนาธุรกิจบริการไทยจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการสี่กลุ่มหลักคือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมฯ ซึ่งมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้นได้นำมารวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
พฤศจิกายน 2555

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 27 กรกฏาคม 2013 เวลา 23:56 น.
 

ปล่อยกลิ่นเต่า ด้วยรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัย

พิมพ์ PDF

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งหนึ่ง มีการนำเสนอรายงานประจำปี ๒๕๕๕ อย่างมีรายละเอียดครบถ้วนและสะท้อนผลสำเร็จของมหาวิทยาลัยอย่างดีมาก

แต่กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ แนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า มหาวิทยาลัยชั้นดีอย่างนั้น ต้องจัดพิมพ์รายงานประจำปีที่มีบุคลิกแตกต่างออกไป  คือต้องแสดงทิศทางเป้าหมายที่ใฝ่ฝันให้ชัดเจน  และบอกว่าเดินมาถึงไหนแล้ว  มีผลงานอะไรที่น่าภาคภูมิใจตามทิศทางเป้าหมายนั้น  และจะดำเนินการอะไร/อย่างไร ต่อไปอีก

รายงานประจำปีชิ้นนี้ เน้นความครอบคลุม  และจัดทำแบบราชการ โชว์ input & process และผู้บริหาร ในเบื้องต้น  output มาทีหลัง  และยังไม่แยกแยะ output ที่เด่นเป็นพิเศษ ตามปณิธานความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัย

คำแนะนำของกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แสดงปณิธานความมุ่งมั่นที่ชัดเจนออกมาเช่นนี้ สำหรับผม คิดว่าเป็นการปล่อยเสน่ห์ หรือ pheromones ให้ partners หรือภาคีความร่วมมือ “ได้กลิ่น”  ดึงดูดเขาเข้ามาหา

ผลการวิจัยบอกว่า กลิ่นเต่า ของคน คือตัวดึงดูดเพศตรงข้าม  เป็นการดึงดูดแบบไม่รู้ตัว  ไม่ได้ใช้สมอง แต่ผ่านระบบฮอร์โมนหรือระบบสารเคมี

สมัยนี้ มหาวิทยาลัยต้องมีวิธีดึงดูด partners ที่จะร่วมมือกัน  เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มหาวิทยาลัยต้องไม่ทำงานแบบโดดเดี่ยว  ต้องหาทางร่วมมือกับภาคีที่หลากหลาย  ทั้งภาคีที่เป็นผู้ใช้/จ้าง บัณฑิต  ภาคีวิจัย/พัฒนา  และภาคีในต่างประเทศ เพื่อสร้างทักษะนานาชาติให้แก่ นศ./บัณฑิต

วิธีปล่อยเสน่ห์ (pheromones) ของสถาบันอุดมศึกษา ทำโดยสื่อสารผลงาน  วิธีนี้มหาวิทยาลัยไทยถนัด  โดยบางครั้งก็สื่อสารแบบโอ้อวดเกินจริง

วิธีที่มหาวิทยาลัยไทยไม่ถนัด คือวิธีปล่อยเสน่ห์ด้วยปณิธานความมุ่งมั่น หรือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่  ผสมกับหลักฐานว่า มีทั้งฝันและทั้งทำจริง มีผลงานจริง  ไม่ใช่ฝันลมๆแล้งๆ  ช่องทางของการปล่อยเสน่ห์แบบนี้ มีทั้งในรายงานประจำปี  ในเว็บไซต์  และในสื่อมวลชน  รวมทั้งต่อนักวิชาการ หรือผู้สนใจ ที่มาเยี่ยมเยือน

คน/สถาบันอุดมศึกษา ที่ถือว่า “มีดี” นั้น  ไม่ใช่อยู่ที่ผลงานเท่านั้น  แต่อยู่ที่เป้าหมายหรือความฝันที่ยิ่งใหญ่ บวกกับความมานะบากบั่นที่จะบรรลุจัดหมายที่ยากนั้น  “ของดี” เช่นนี้ ต้องหาทางให้มันขจรขจายออกไปแบบเดียวกับ pheromones หรือ “กลิ่นเต่า”

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543253

 

งานที่ดี

พิมพ์ PDF

งานที่ดีนั้นแท้จริงคืองานที่เราทำแล้วมีความสุขต่างหาก จะเห็นได้ว่าถ้าเราได้ทำงานอย่างมีความสุข มีสถานที่ทำงานที่เหมาะสม และชุมชนโดยรอบมีความสมานฉันท์ก็จะสร้างคำว่า "งานที่ดี" ให้เกิดขึ้นได้

 

การ ที่เราร่ำเรียนอย่างหนัก ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถม มัธยม เรื่อยไปถึงระดับอุดมศึกษา  ก็เพื่อที่จะได้งานดีๆมีความมั่นคง มีรากฐานของอนาคตที่แข็งแกร่งและสมบูรณ์        แต่ถ้าถามว่างานดีๆ คืออะไร หลายคนย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป บางคนว่า การได้ทำงานบริษัทใหญ่ๆระดับโลกหรือระดับประเทศถือว่าเป็นงานดี บางคนก็บอกว่าการได้รับเงินเดือนเยอะๆต่างหากล่ะ คืองานดี แต่พอหันไปถามอีกคนก็บอกว่าการได้ทำงานในองค์กรภาครัฐ หรือการได้รับราชการ ที่มีความมั่นคงสูงต่างหากคืองานดีที่สุด ซึ่งความคิดเหล่านี้คงบอกไม่ได้ว่าความคิดไหนผิดหรือความคิดไหนถูก เพราะแต่ละคนต่างมองจากมุมของตน

แต่ถ้าให้ทุกคนมองกันใหม่ในมุมเดิม แล้วลองเติมความคิดเพิ่มขึ้นไปอีกนิดว่าถ้าเราทำงานในบริษัทใหญ่ และมีเงินเดือนเยอะ หรืออาจทำงานในหน่วยงานภาครัฐที่มีความมั่นคงสูง แต่กลับไม่มีความสุขเสียเลย เช้าตื่นขึ้นมาด้วยความเบื่อหน่ายท้อแท้ เห็นโลกทั้งโลกเป็นสีเทาไปหมด ในระหว่างทำงานก็รู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง นับรอเวลาพักเที่ยง เที่ยงรีบทานข้าวแล้วนั่งถอนหายใจ พอบ่ายหน่อยก็เริ่มคิดถึงหมอน ตกเย็นก็เฝ้ามองนาฬิกาว่าเมื่อไหร่จะเลิกงานเสียที  เสาร์ อาทิตย์ หยุดพักผ่อน แต่พอเริ่มต้นสัปดาห์อีกครั้งในวันจันทร์ก็รู้สึกว่าพลังที่มีอยู่มากมายใน ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ถูกดูดมลายหายสิ้นเหลื่อไว้แต่ความน่าเบื่อหน่าย อารมณ์มาทำงานเหมือนโดนบังคับให้ออกรบทัพจับศึกฉันใดก็ฉันนั้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้บอกว่าบริษัทใหญ่ๆที่ให้เงินเดือนเยอะๆหรืองานราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นงานที่ไม่ดี แต่ที่กำลังจะบอกและเป็นสาระสำคัญก็คือ งานที่ดีนั้นแท้จริงคืองานที่เราทำแล้วมีความสุขต่างหาก จะเห็นได้ว่าถ้าเราได้ทำงานอย่างมีความสุข มีสถานที่ทำงานที่เหมาะสม และชุมชนโดยรอบมีความสมานฉันท์ก็จะสร้างคำว่า "งานที่ดี" ให้เกิดขึ้นได้ แม้องค์กรที่เราอยู่นั้นจะไม่ได้ให้เงินเยอะ หรือองค์กรเองก็ไม่ได้ใหญ่โตเหมือนองค์กรอื่นๆ

ต้นไม้จะเติบโต แผ่กิ่งก้านร่มเงาและให้ผลผลิตที่ดีได้นั้น ขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธ์ที่นำมาปลูกด้วยครึ่งหนึ่ง ส่วนครึ่งที่เหลือคือการดูแลเอาใจใส่ให้น้ำให้ปุ๋ย ถึงจะทำให้ต้นไม้นั้นเติบโตแข็งแรงงอกงามได้

เช่นเดียวกัน การจะสร้างองค์กรให้มีความสุขนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น CEO หรือ HR เองต้องเตรียมเมล็ดพันธ์แห่งความสุขมาหว่านลงในหัวใจของคนในองค์กรเสียก่อน และหน้าที่ต่อไปก็คือการประคับประคองดูแล และใช้น้ำจิตน้ำใจหล่อเลี้ยงหัวใจของกันและกันอย่างสมดุล ทั้งในส่วนองค์กรและคนทำงานจึงจะทำให้องค์กรเกิดความสุขขึ้นมา

เรียบเรียงจากข้อมูลในหนังสือ "เมล็ดพันธ์แห่งความสุข" โดย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

23 กรกฎาคม 2556

 

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 600. สิ้นยุค Learning Organization

พิมพ์ PDF

ตั้งคำถามในการสนทนาแบบพิเศษ ที่ส่งเสริมหรือเอื้อ ให้ความรู้ฝังลึกอยู่ภายในปัจเจกชน ออกมาเป็นความรู้ร่วมกันของกลุ่ม เกิดเป็นปัญญาปฏิบัติรวมหมู่

KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ  : 600.  สิ้นยุค Learning Organization

หนังสือ The Inquiring Organization : Tacit Knowledge, Conversation, and Knowledge Creation Skills For 21st Century Organization ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004  บอกว่าบริษัทหรือองค์กรที่จะอยู่รอดในยุคที่การเปลี่ยนแปลง สารสนเทศ ความรู้ เพิ่มรวดเร็ว  การเป็นองค์กรเรียนรู้ไม่เพียงพอเสียแล้ว  ต้องแสวงหาหรือตั้งคำถาม (inquire) เพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่คู่แข่งยังไม่รู้

ความรู้ชนิดแจ้งชัด (Explicit) นั้นใครๆ ก็เข้าถึงได้  จึงไม่ใช่ปัจจัยของการแข่งขัน  ปัจจัยของการแข่งขัน คือความรู้ชนิดฝังลึก (Tacit) ซึ่งทำให้โผล่ออกมายาก  และเอามาใช้ประโยชน์ต่อการแข่งขันได้ยาก  ผู้เขียน จึงเขียนหนังสือเล่มนี้ แนะนำวิธีทำให้ความรู้ฝังลึกโผล่ออกมา และออกมาทำคุณประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ และความาสามารถในการแข่งขันของบุคคลและองค์กรได้

เขาให้คำแนะนำว่า การสนทนา เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้ความรู้ฝังลึกโผล่ออกมา  โดยที่การสนทนานั้นต้องเป็น การสนทนาแบบรังสรรค์ (generative conversation)  จึงจะมีพลังให้ความรู้ฝังลึก โผล่ออกมาได้อย่างมีประสิทธิผล

ในการสนทนาแบบรังสรรค์ คู่สนทนา หรือกลุ่มสนทนาต้องมีความเคารพ ไว้เนื้อเชื่อใจกัน  การตั้งคำถาม (inquiring) จึงจะก่อผลกระตุ้น ให้ความรู้ฝังลึกโผล่ออกมา  คำถามเดียวกัน ในบรรยากาศตรงกันข้าม ที่ผู้ร่วมสนทนามีความกลัว หรือระแวง จะให้ผลตรงกันข้าม คือกดไม่ให้ความรู้ฝังลึกโผล่ออกมา

ความยากลำบากของชีวิตในโลกสมัยนี้คือ information explosion  สารสนเทศและความรู้มีมากเกิน  มีการนำมาสื่อสารซ้ำๆ กันจนมั่วไปหมด  โดยที่เรื่องเดียวกันอาจสื่อสารแตกต่างกัน ต่างกันไปตามอคติของผู้สื่อสาร

ในยุคปัจจุบัน ทักษะเรียนรู้ไม่เพียงพอ ต้องเลยไปสู่ทักษะสร้างความรู้เอามาใช้งาน เพื่อแข่งขัน ให้ล้ำหน้าคู่แข่ง   ซึ่งก็คือทักษะในการมองสรรพสิ่งในมุมมองใหม่ ที่แตกต่างไปจากมุมมองของผู้อื่น

การดึงความรู้ฝังลึกออกมาใช้งานนั้น  ต้องเข้าใจว่า ความรู้ฝังลึกไม่ได้มีอยู่ภายในตัวคนรายคนเท่านั้น  แต่มีความรู้ที่ฝังลึกอยู่ระหว่างตัวคนด้วย  การเรียนรู้และการสร้างความรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ จึงเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างคน  ต้องมีการสร้าง “พื้นที่” ให้คนที่ทำงานร่วมกันมามีปฏิสัมพันธ์กัน  เพื่อร่วมกันตั้งคำถามไปสู่ความรู้ใหม่ ที่จะช่วยให้กิจการล้ำหน้าคู่แข่ง

Inquiring Organization คือองค์กรที่รู้จักวิธีนำเอาความรู้ฝังลึกในสมาชิกทุกระดับขององค์กร  ออกมาเชื่อมต่อเสริมพลังกัน   ให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ล้ำหน้าคู่แข่ง

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.ค. ๕๖

 

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/543050
 


หน้า 462 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630133

facebook

Twitter


บทความเก่า