Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โครงการ DFC3 : ๓. ความท้าทายต่ออุดมศึกษาเยอรมัน

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๖ ช่วงเช้าเราประชุมที่โรงแรม  เพื่อเรียนรู้ความท้าทายต่อระบบอุดมศึกษาเยอรมัน จากวิทยากร ๒ ท่าน

ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน iPadที่ผมบันทึกระหว่างวัน

 

ตื่นตี ๔ ได้นอน ๖ ชั่วโมงฟ้าเริ่มสางพอ๔.๓๐ น. ก็สว่างเปิดหน้าต่างได้ยินเสียงนกร้องเซ็งแซ่เพราะโรงแรมStreignebergerอยู่ติดกับสวนสาธารณะเล็กๆอากาศเย็นไม่มาก

พยายามจำชื่อและความสนใจของผู้ร่วมเดินทางและคิดวางแผนการทำ AAR ในช่วงการเดินทางบนรถเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่สุดจะเสนอให้สมาชิกอาสาสมัครทำหน้าที่ "ดร. ลิขิต" ของ AAR ในแต่ละวันสรุปประเด็นจากการ AAR แต่ละวันเอามาสรุป ๒ - ๓ นาทีให้กลุ่มได้ใช้ต่อความรู้ในวันต่อๆไปและจะได้เป็นเอกสารของรุ่นด้วย

ได้ความคิดว่าน่าจะทำความตกลงหมุนเวียนกันอาสาสมัครทำหน้าที่จดสรุปสาระสำคัญของแต่ละsession  สำหรับทำเป็นรวมบันทึกประจำรุ่น


ช่วงเช้า

ฟังบรรยายที่โรงแรมเพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่รัฐบาลกลางเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของอุดมศึกษา  ด้วย Excellence Initiative  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ  (๑) บัณฑิตศึกษา  (๒) กลุ่มวิจัย  (๓) การสร้างความเข้มแข็งในอนาคต


ศ. ดร.ปิยะวัติบุญ-หลง

- เบอร์ลิน เป็นเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

- Excellence Initiative, - for the Future :เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลกลางใช้induce การเปลี่ยนแปลงในระบบอุดมศึกษา

ขอให้ฟังและทำความเข้าใจอะไร,ทำไม, บริบทคืออะไรมองลึกที่เบื้องหลัง, เอากลับไปใช้, หวังให้เกิดความร่วมมือกับเยอรมันที่เป็นรูปธรรม

Ingo Rollwagen: Doing More with Less ซึ่งดู pptการนำเสนอซึ่งซ้ำกับการนำเสนอที่อื่นของเขาได้ที่  และดู pptที่เขาใช้ประกอบการบรรยายในวันนั้นได้ ที่นี่

ในยุค knowledge-based economy มหาฯต้องเข้าไปทำหน้าที่ร่วมพัฒนาประเทศและพื้นที่ร่วมมือแสวงหาโอกาสใหม่ๆออกจากข้อจำกัดโดยเฉพาะ bureaucracy  ใช้พลังใหม่ๆเช่น ICT สาระที่สำคัญที่สุดของเขาคือ สถาบันอุดมศึกษาต้องหาทางทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากขึ้น โดยที่ต่อไปจะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากรัฐน้อยลง

Tim Flink : German University Paradox เสนอผลการวิจัยผลกระทบจากโครงการ Excellence Initiative เนื่องจากเขาเป็นนักสังคมศาสตร์  การศึกษาผลกระทบนี้จึงศึกษาทั้งโดยวิธีวิทยาแบบ quantitative และ qualitative

มหาฯต้อง differentiate ทั้ง vertical และ horizontal  กลไกกลางกระตุ้นด้วย Excellence Initiative  ผลคือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างแต่วัฒนธรรมเน้น Academic Excellence ของอจ. ไม่เปลี่ยนดู pptของ Tim Flinkได้ ที่นี่


ช่วงบ่าย

เยี่ยมเรียนรู้กิจการของ BSEL(Berlin School of Economics and Law) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มUniversity of Applied Sciences and Artsคือเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้โดย BSEL เน้นด้านสังคมศาสตร์นศ. ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้เน้นเพื่อการมีงานทำเป็นหลักเป็นมหาวิทยาลัยประเภทที่มีจำนวนมากที่สุดคือมี ๒๒๑​ แห่งทั่วประเทศ BSEL มีนศ. ๑ หมื่นคนศาสตราจารย์ ๒๐๐ เจ้าหน้าที่สนับสนุน ๗๐๐

เน้นบริการนักศึกษาเพื่อให้มีงานทำสร้างคนให้หน่วยงานเอกชน - Cooperative Study Programmeแบบที่ นศ. เรียน ๓ เดือน ทำงาน ๓ เดือนสลับกัน  ได้รับเงินเดือนจากบริษัท  เรียน ๓ ปี เมื่อจบปริญญาตรี ๘๐% บริษัทรับเข้าทำงานประจำ  โดยที่ตอนคัดเลือก บริษัทเป็นผู้คัดเลือก  เป็น “สหกิจศึกษา” ที่เข้มข้นกว่าของบ้านเรามาก

ริเริ่มวิธีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการมีงานทำ หรือเป็นที่ต้องการของนายจ้าง  หรือเพื่อออกไปสร้างงานเอง หลากลายวิธี ได้แก่ บริการให้คำแนะนำปรึกษา (student counseling), การจัดฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติมด้าน soft skills, การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการทำงาน, ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ, หน่วยประสานงานกับนายจ้าง, เครือข่ายบริการการมีงานทำ, cross cultural mentoring

รุกไปร่วมมือต่างประเทศหลากหลายประเทศโดยร่วมกันจัดการศึกษาแบบ๒ ปริญญา ทั้งระดับปริญญาตรี และโท

สถานที่/campus ง่ายๆ

ความริเริ่มสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยแบบนี้ เน้นที่การพัฒนานักศึกษา  เพื่อการมีอาชีพที่ดี  เราได้เห็นความภาคภูมิใจ ในตัวตนของมหาวิทยาลัยเพื่อการมีงานทำของนักศึกษา  ความร่วมมือกับต่างประเทศก็เพื่อบรรลุผลการทำหน้าที่นี้


ช่วงเย็น

ชมอาคารรัฐสภาเป็น guided tour เฉพาะกลุ่มเราเป็นทัวร์ประวัติศาสตร์มากกว่าทัวร์อาคารได้เห็นวิธีคิดสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ที่ใช้ประโยชน์หรือเกิดคุณค่าหลายด้านต่อสังคมเยอรมันรวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย

หลังจากนั้นเดินไปบริเวณBrandenberg Gate ที่เคยกั้นระหว่างเยอรมันตะวันออกกับตะวันตกบริเวณกว้างบรรยากาศคึกคักมีรถจักรยานคนถีบ ๑๐ คนนั่งรอบเป็นวงกลมแต่มีกลไกให้ส่งแรงไปทางเดียวกัน

หลังกินอาหารเย็นที่ภัตตาคารแถวนั้นชื่อTucher am TorเดินไปHolocaust Memorial ให้ความรู้สึกสังเวชกับการที่มนุษย์เกลียดชังเข่นฆ่าเพื่อนมนุษย์แล้วนั่งรถกลับโรงแรมโดยรถพาวนไปชมย่านสถานทูตด้วย

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/542088
 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี“พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Mirabai Bush, Executive Director, The Center for Contemplative Mind in Societyเล่าเรื่อง Contemplative Practice Fellows ของศูนย์  ที่นำวิธีการปฏิบัติใคร่ครวญ หรือจิตตภาวนา ไปใช้กับ นศ.  แล้วเกิดผลดี ทำให้ นศ. เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนๆ และเข้าใจโลก

วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจิตตภาวนานี้ ควรนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ นศ. เกิดการเรียนรู้บูรณาการ / เรียนรู้แบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ตามปกติ ที่เรียกว่าวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

กล่าวใหม่ว่า ในอุดมศึกษา นศ. ควรได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ๒ สายไปด้วยกัน คือสาย Contemplative Inquiry  กับสาย Critical Inquiry  จะทำให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการ ๒ สาย และเกิดการเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีมิตรภาพ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้  เกิดความเจริญงอกงามครบด้าน (สมอง ใจ และวิญญาณ)

The Center for Contemplative Mind in Society มีทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วย อ่านได้ ที่นี่ สถาบันในประเทศไทยที่สนใจจริงๆ อาจลองติดต่อพูดคุยกับเขาได้

บทความนี้เล่าเรื่องศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ๓ คน  จาก ๑๔๕ คน ที่ได้รับการสนับสนุนเป็น fellow ฝึกจิตตภาวนา  และนำวิธีการจิตตภาวนาไปใช้ในชั้นเรียน

ท่านแรกเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์  ให้ นศ. วาดแผนที่และรูปตอนเป็นเด็ก  เพื่อสะท้อนความประทับใจของตน  จะเป็นรูปบ้าน อะพาร์ตเม้นท์  โรงเรียน  ห้องเรียน  บ้านเพื่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ได้  สำหรับอธิบายความประทับใจชีวิตวัยเด็กของตน  ศาสตราจารย์ท่านนี้ นำประสบการณ์มาเล่าในการประชุม Uncovering the Heart of Higher Education ว่าการเรียนรู้แบบดังกล่าวช่วยให้ นศ. เข้าใจความหมายของการสร้าง และการดำรงชีวิตที่มีความหมายในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ว่าเป็นอย่างไร

นศ. สถาปัตยกรรมศาสตร์ เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งก่อสร้าง กับการดำรงชีวิตที่มีความหมาย ในท่ามกลางโครงสร้างทางวัตถุนั้น  ทำให้สถาปนิก มีการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน  เข้าใจสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นศาสตร์แข็งหรือปัญญา (สมอง) เท่านั้น  แต่เข้าใจลึกและครอบคลุมส่วนที่เป็นศาสตร์อ่อน คือ ใจ และวิญญาณ ด้วย

อีกท่านหนึ่ง เป็นรองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา สอนวิชา Food and Hunger : Contemplation and Action โดย นศ. ออกไปทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือผู้หิวโหยในพื้นที่  และไปฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้หิวโหย

รศ. ท่านนี้รายงานต่อที่ประชุมว่า นศ. เข้าใจจิตใจและอารมณ์ของตนดีขึ้น  รวมทั้งเข้าใจเรื่องความอดหยากหิวโหย ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงขึ้น

อีกท่านหนึ่งเป็นทั้งศาสตราจารย์และเป็นกวี  ได้รับ fellowship ให้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหาร เวสต์ พ้อยท์  โดยเลือกสอนวิชาร้อยกรอง และสมาธิภาวนา แก่นักเรียนนายร้อยที่ต่อมาถูกส่งไปสมรภูมิที่อิรัก  หลังจากนั้น ศ. ท่านนี้ (เป็นผู้หญิง) ได้รับอีเมล์จากศิษย์กลุ่มนี้หลายคน  ว่าวิชาที่ได้เรียนรู้ทั้ง ๒ วิชานี้ ช่วยเขาในยามวิกฤตอย่างไร

Contemplative Practice Fellows 145 คน จาก ๑๐๑ สถาบันการศึกษา นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Fetzer Instituteเขาทำงานร่วมมือกับทั่วโลก เพื่อขยายพลังของความรักและการให้อภัย  ผมเอามาลงไว้เผื่อบางมหาวิทยาลัยจะติดต่อทำงานร่วมมือกับเขา

เขาบอกว่า วิธีการฝึกจิต (จิตศึกษา, จิตตปัญญาศึกษา) นี้ เขาทำหลายวิธีแตกต่างกัน  เช่น ทำสมาธิ,  ฝึกจี้กง,  โยคะ,  lectio divina,  เป็นต้น   เป็นการฝึกจิตให้เปิดรับโอกาสใหม่ๆ  สร้างเสริมปัญญาจากการเปิดรับความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในโลก  สร้างจิตที่เห็นแก่ผู้อื่น และเสียสละ ผ่านความเข้าใจความเชื่อมโยงถึงกันหมดของสรรพสิ่ง และทุกชีวิต  เป็นการเรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า การฝึกจิต ช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาข้ามศาสตร์ เช่นการตัดสินใจ สมาธิ ปัญญาญาณ ความจำ  รวมทั้งทักษะด้านอารมณ์ เช่น ความมีสติ การควบคุมตนเอง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จะเห็นว่า การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ช่วยให้การศึกษานำไปสู่การสร้างมนุษย์ที่มีใจสูง เพิ่มศักยภาพในการทำความดี  ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพิ่มอำนาจทำลายล้าง

การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ที่เรียนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แนววิทยาศาสตร์ และการคิด  ช่วยพัฒนามนุษย์ทั้งตัว ให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ  การเรียนรู้ตามแนวกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันพัฒนามนุษย์ได้เต็มศักยภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539791

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๓๐. เรียนรู้จากอดีตประธาน สมศ.

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๑ พ.ค.. ๕๖ ผมมีโอกาสคุยกับ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ อดีตประธาน สมศ. ที่หมดวาระเพราะอายุครบ ๗๐  ได้มีโอกาสร่วมกัน AAR การทำหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานอิสระของรัฐ  ท่านบอกว่า ท่านมัวเสียเวลาแก้ปัญหา จนไม่มีเวลาคิดเรื่องใหญ่ๆ

ท่านพูดอย่างนี้ เพราะผมเล่าให้ท่านฟังเรื่องการไปบรรยายเรื่อง คุณภาพการศึกษา และผู้จัดประชุมขอให้ผมพูดโยงไปยังมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  และผมได้เสนอให้ยุบ สมศ. ดัง บันทึกนี้ โดยผมอธิบายให้ ดร. ชิงชัยฟังว่า ผมมีความเห็นว่า การประเมินคุณภาพการศึกษาที่เน้น จัดการประเมินระดับชาติ เพื่อประเมินนักเรียนเป็นรายคนนั้น เป็นวิธีที่ผิด  วิธีที่ถูกคือฝึกครู ให้ประเมินเด็กได้แม่นยำ  และมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการประเมิน แก่ครูและโรงเรียน  กลไกประเมินในระดับชาติทำหน้าที่พัฒนาและตรวจสอบว่า ครูและโรงเรียน ประเมินได้แม่นยำ น่าเชื่อถือจริงๆ  ดร. ชิงชัยบอกว่า เห็นด้วยกับหลักการที่ผมเสนอ  และปรารภว่า ตอนที่ท่านเป็นประธาน สมศ. ท่านไม่มีโอกาส คุย หรือพิจารณาเรื่องใหญ่ๆ เชิงสร้างสรรค์แบบนี้เลย  หมดเวลาไปกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร

ทำให้ผมหวนกลับมาคิดว่า ตนเองเป็นคนมีบุญ  ที่ไม่ว่าไปทำงานที่ใด เมื่อจากมา ก็จะทิ้งร่องรอย และผลงานดีๆ ไว้ให้คนที่มาทำต่อ ได้สานต่ออย่างสร้างสรรค์  ไม่มีการสร้างปัญหาไว้ให้คนอื่น

คิดอีกที เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  หากเรามีศีล ไม่ทำเรื่องที่เป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง  และมุ่งทำงานที่ก่อประโยชน์ส่วนรวมจริงๆ  ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองท่านจะเห็น และจะเข้ามาช่วยกันทำงาน หรือช่วยสนับสนุน

คิดต่ออีก ผมโชคดี ที่ชีวิตได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานตั้งใหม่ถึง ๓ หน่วยงาน  จึงได้มีโอกาสเรียนรู้ และวางระบบงาน วางวัฒนธรรมองค์กร  คิดถึงทีไรมีความสุขเมื่อนั้น


วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539260

 

รศ.๑๑๒ เงินถุงแดง ช่วยรักษาเอกราชกรุงสยาม

พิมพ์ PDF
๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
ครบรอบวิกฤติร.ศ. ๑๑๒ อภิมหาสงครามที่กรุงรัตนโกสินทร์เกือบเสียเอกราชให้แก่ฝรั่งเศส
กรุงสยามภายใต้รัชกาลอันยาวนาน ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมที่ประเทศตะวันตกต่างแสวงหาเมืองขึ้นไปทั่วโลก ประเทศต่างๆในย่านสุวรรณภูมิต่างตกเป็นอาณานิคมจนหมดสิ้น ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ จึงดำเนินพระราโชบาย พัฒนาประเทศให้ทันสมัยและปรับปรุงกองทัพขนานใหญ่ มีการสร้างป้อมยุทธนาวี หลายป้อม อาทิ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมผีเสือสมุทร เวลานั้นสยามก็มีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องต้องการจะนำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไทยหวั่นเกรงว่าจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติจึงปฎิเสธไป
และแล้ว ในเวลา ๑๗ นาฬิกา ของวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ...ศกนั้นเรือรบชองฝรั่งเศสสองลำ ก็ลุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาของสยาม
แม้มีการยิงเตือนตามธรรมเนียมจากฝ่ายไมยก็มิอาจหยุดยั้งฝรั่งเศสผู้กระหายเลือดได้ แถมยังชักธงรบขึ้นสู่เสากาฟแสดงว่าพร้อมรบเต็มที่ ปืนรบทั้ง ๗ กระบอกจากป้อมพระจุลจอมเกล้า คำรามทั่วท้องน้ำเจ้าพระยา เรือรบทั้ง ๙ ลำของสยามซึึ่งมีขนาดเล็ก นำโดยเรือมกุฎราชกุมารระวางขับน้ำ ๖๐๙ ตัน พร้อมป้อมปืน ๒ กระบอกที่ลอลลำอยู่จึงเข้าสัประยุทธ์กับ กองทัพเรือฝรั่งเศส ในการยุทธครั้งนี้ทหารไทยพลีชีพไป ๘ นาย สามารถถล่มเรือนำร่องของฝรั่งเศสท้องทะลุ ทหารฝรั่งเศสตายไป ๓ คน เรือปืนของฝรั่งเศส สามารถมาจอดทอดสมอที่หน้าสถานฑูตฝรั่งศส หันปากกระบอกปืนทั้งหมดไปที่พระบรมมหาราชวัง พร้อมยื่นข้อเสนอ ๖ ข้อ โดยไทยยินบอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พร้อมกับถูกปรับเป็นเงินค่าปฎิกรรมสงครามอีก ๒ ล้านฟรังซ์ พร้อมยึด เมืองจันทบุรีเป็นประกัน 
วิกฤติร.ศ. ๑๑๒ ครั้งนี้ ทำให้เงินใในท้องพระคลังหมดเกลี้ยง ต้องเบิกเงินถุงแดง ซึ่งเป็นเงินล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บสะสมไว้พระราชทานให้แก่แผ่นดินเพื่อเวลามีวิกฤติเกิดขึ้นออกมาใช้ เหตุการณ์คราวนี้ทำให้พระปิยมหาราช ทรงโทมนัสเป็นที่ยิ่ง จนทรงพระประชวรจนถึงขั้นไม่ปรารถนาจะทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อไป จน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงถวายข้อคิด ทำให้ทรงมีกำลังพระทัยกลับมาและ เริ่มพลิกแผ่นดินสยามพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ โดยไม่เพิ่งกำลังและปัญญาของต่างชาติอีกต่อไป...
(3 photos)
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๔๕.เรียนรู้จากคณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๒๒พ.ค. ๕๖ ผมไปทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯเป็นครั้งแรก โดยกรรมการชุดนี้ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจากคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุฯ อย่างเป็นทางการ  แต่มีมติแต่งตั้งผมเป็นประธาน และแต่งตั้งกรรมการผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งแล้ว  นอกนั้นให้ไปหากันเอาเอง  เราปรึกษากันแล้วนัดประชุมเลย  เพื่อช่วยทำให้ระบบการจัดการเข้มแข็ง และเป็นระบบมากขึ้น

ที่จริงเดิม ท่านองคมนตรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. เกษม วัฒนชัย เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้  คณะกรรมการบริหารชุดที่ผมเป็นประธานจึงเป็นชุดที่ ๒  และในขั้นนี้ประกอบด้วย  (๒) นายนิคม เจตน์เจิญรักษ์ รองประธาน  (๓) นายบรรยง พงษ์พานิช  (๔) นายโพธิพันธุ์ พานิช  (๕) นายเอนก วาสนาสมปอง  (๖) นายศานติ วิชิตพันธ์  (๗) นายวิรไท สันติประภพ  (๘) นายวุฒิ วิพันธ์พงษ์  (๙) นายบัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ  (๑๐) นายกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวัฒนชัย ผู้ช่วยเลขานุการ  (๑๑) นายไพโรจน์ สิงบัน ผู้ช่วยเลขานุการ

หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ เริ่มเปิดดำเนินการในปี ๒๕๕๓  คือยังไม่ครบ ๓ ปี  แต่กิจการได้ก้าวหน้ากว้างขวางไปมากอย่างไม่น่าเชื่อ  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถในการจัดการของทีมงาน

ผมได้กล่าวต่อที่ประชุมตอนจบเป็นการนอกรอบว่า  ที่ผ่านมาหอจดหมายเหตุฯทำงาน ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่เกินคาดแต่ความสำเร็จนั้นเองบอกเราว่า เราจะทำงานอย่างเดิมไม่ได้  ต้องยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  คือให้มีระบบการจัดการ และระบบบัญชี ที่เข้มแข็งขึ้น  มีระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง  และมีการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ และมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งต้องมีระบบการระดมทุนมาดำเนินการเพิ่มขึ้น  เพราะตามคาดการณ์ด้านการเงิน หากเป็นไปตามแนวโน้มเดิม  สิ้นปีหน้าเงินจะขาดมือ ไม่พอใช้  เราตกลงกันว่าจะถือตามหลักของสวนโมกข์ คือไม่มีการเรี่ยไร  แต่จะรับบริจาค  และคณะกรรมการระดมทุนจะเริ่มทำงาน  โดยเป้าหมายคือต้องระดมทุนเพิ่มขึ้นจากรายรับที่มีอยู่เดิม ปีละ ๑๐ - ๒๐ ล้านบาท

ขณะนี้หอจดหมายเหตุฯ มีพนักงาน ๓๐ คน  ปีหน้าจะเพิ่มเป็น ๓๗ คน

ผมเคยเขียนบันทึกเรื่อหอจดหมายเหตุพุทธทาสไว้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541472

 


หน้า 465 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630241

facebook

Twitter


บทความเก่า