Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๘. ปราบไม่หมด

พิมพ์ PDF
ยุทธศาสตร์ปราบเด็กเกเร ไม่มีวันได้ผล เพราะเป็นแนวทาง “วัวหายแล้วล้อมคอก” สายไปน่ะต๋อย แนวทางที่ได้ผลคือส่งเสริมพัฒนาการด้าน “ลักษณะนิสัย” ของเด็กทุกคน ดังคำนิยมหนังสือเลี้ยงให้รุ่ง

เช้าวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมวิ่งออกกำลังพร้อมกับฟังข่าวเปื้อนเพลง ๑๐๐.๕ ได้ฟังข่าวหัวโจก นักเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง รวมพวกลงทัณฑ์นักเรียนรุ่นน้องชั้น ม. ๓ ที่ไม่ช่วยเหลือพวกตน เมื่อคราวมีเรื่อง ทะเลาะวิวาทกับวัยรุ่นกลุ่มอื่น

โฆษกบ่นว่า นักเรียนเกเร หัวโจกก่อเหตุเช่นนี้ ปราบเท่าไรก็ไม่หมด

ผมจึงได้ความคิดเอามาเขียนบันทึกนี้ เพื่อจะบอกว่ายุทธศาสตร์ปราบเด็กเกเร ไม่มีวันได้ผล เพราะเป็นแนวทาง “วัวหายแล้วล้อมคอก” สายไปน่ะต๋อย แนวทางที่ได้ผลคือส่งเสริมพัฒนาการด้าน “ลักษณะนิสัย” ของเด็กทุกคน ดังคำนิยมหนังสือเลี้ยงให้รุ่ง

คนเราทุกคนต่างก็ต้องการเป็นบุคคลสำคัญ (somebody) หากเป็นคนสำคัญโดยการทำดีไม่ได้ กระแส impulsive control ผ่านแกน HPA จะกระตุ้นให้มีพฤติกรรมสร้างความเป็นคนสำคัญผ่านพฤติกรรมรุนแรง นี่คือธรรมชาติของมนุษย์ ที่คนเราทุกคนมีธรรมชาตินี้

หากไม่ดำเนินการเลี้ยงให้รุ่ง ก็เท่ากับเลี้ยงให้เป็นอันธพาล เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

วิจารณ์ พานิช

๑ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กันยายน 2014 เวลา 14:03 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๙. เด็กบ้านนอกกับกาบมะพร้าว

พิมพ์ PDF

เชื่อไหมครับ ว่าเด็กบ้านนอกอย่างผมสมัยกว่า ๖๐ ปีก่อน ใช้กาบมะพร้าวเช็ดก้น

กาบมะพร้าวมีสองส่วน คือส่วนแข็งที่อยู่ด้านนอก กับส่วนเยื่อที่อยู่ด้านใน ส่วนเยื่อก็มีสองส่วน คือส่วนที่เป็นเส้นใย กับส่วนที่เป็นเนื้อยุ่ยๆ ส่วนที่เป็นเส้นใยนี้เอามาฟั่นเป็นเชือกได้ เรียกว่า “เชือกกาบพร้าว” (ออกเสียงสำเนียงใต้) ที่บ้านผมเอามาใช้ผูกกับ “กะถุ้ง” (ออกเสียงสำเนียงใต้) แปลว่าถัง สำหรับตักน้ำจากบ่อ ชาวบ้านแถวบ้านผมมีทักษะในการ “ควั่นเชือกพร้าว” กันเกือบทุกคน เวลานี้อาจเรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

เมื่อต้องการใช้เชือกกาบพร้าว แม่ของผมก็จะบอกให้คนแถวบ้าน หรือลูกจ้างช่วย “ควั่น” ให้ เขาจะเอากาบมะพร้าวมาทุบ เพื่อแยกเอาส่วนที่เป็นเส้นใยออกมา เส้นใยนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งมิลลิเมตร ความยาวเท่าๆ กับขนาดของลูกมะพร้าว คือเป็นเส้นใยขนาดสั้น ยาวเพียงประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร แต่เมื่อเอามา “ควั่น” กันเข้า ก็จะได้เชือกยาวเท่าไรก็ได้ที่มีความแข็งแรง ขนาดใช้ล่ามควายได้ แต่ความแข็งแรงนี้ ขึ้นอยู่กับฝีมือคน “ควั่น” ด้วย

เชือกกาบมะพร้าวที่ใช้ล่ามถังตักน้ำนี้ไม่ทนนัก น่าจะใช้ได้ไม่ถึงปี เพราะเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลา ทำให้ “ผุก” ง่าย คำว่า “ผุก” เป็นทั้งภาษาและสำเนียงปักษ์ใต้บ้านผม แปลว่าผุ เชือกกาบมะพร้าวนี้ หากใช้ในสภาพ ที่แห้ง ไม่โดนน้ำ จะทนนานหลายปี

ไฮไล้ท์ของกาบมะพร้าวกับเด็กบ้านนอก ไม่ใช่เรื่องเชือกกาบมะพร้าว แต่เป็นเรื่องวัสดุสำหรับเช็ดก้น หลังถ่ายอุจจาระ สมัยผมเด็กๆ ทุกคนใช้กาบมะพร้าวเช็ดก้น โดย “ส้วม” คือสุมทุมพุ่มไม้หลังบ้าน เครื่องมือในการไปถ่ายอุจจาระคือ “จอบงอ” กับกาบมะพร้าว

จอบงอ ใช้ขุดหลุมตื้นๆ สำหรับถ่ายอุจจาระแล้วกลบ กาบมะพร้าวใช้เช็ดก้น แต่เมื่อผมจำความได้ ผมใช้กาบมะพร้าวไม่บ่อยนัก เพราะมันบาดก้น ผมนิยมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มากกว่า เอามาขยำๆ ให้มันนุ่ม ก่อนใช้ หนังสือพิมพ์นี้คือ สยามรัฐรายวัน เพราะพ่อของผมบอกรับ และคอลัมน์ที่พ่อชอบอ่าน ที่สุดคือตอบปัญหาประจำวัน อ่านแล้วหัวเราะเอิ๊กอ๊าก ว่าคนตอบ (มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช) ฉลาดจริงๆ และคราวหนึ่ง พ่อบอกว่ามีคนถามปัญหา แล้วหม่อมคึกฤทธิ์ตอบว่า “ข้อนี้จน” แล้วพ่อก็เอิ๊กอ๊าก ผมจำไม่ได้เสียแล้วว่าคำถามอะไร

ช่วงดังกล่าว น่าจะอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๘ ผมอายุสิบขวบกว่าๆ ไม่เคยนึกเลยว่าชีวิต จะผกผันมาเป็นชาวกรุง ได้เป็นถึง “ศาสตราจารย์” เช็ดก้นด้วยกระดาษทิชชูอันอ่อนละมุน

วิจารณ์ พานิช

๒ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กันยายน 2014 เวลา 14:07 น.
 

การศึกษาของฟินแลนด์

พิมพ์ PDF

การศึกษาของฟินแลนด์

ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๒ กันยายน ๒๕๕๗ มีการประชุม “โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ฟินแลนด์ + ไทย เพื่อการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาโรงเรียน ในโครงการ ‘Project for Change’” มี่โรงเรียนรุ่งอรุณ

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ที่ปรึกษาอาวุโส โปรแกรมนวัตกรรมการศึกษา สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ได้เขียน บล็อกสรุปประเด็นสำคัญไว้อย่างดีมาก ที่นี่

ผมขอเพิ่มอีก ๒ เรื่องที่ผมคิดว่าลึกซึ้ง และสำคัญมาก น่าจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษา และเป้าหมายของการพัฒนาบ้านเมืองของเราในทุกๆ ด้าน คือ (๑) การเป็น trust-based education และ trust-based society คือมุ่งสร้างความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจต่อกัน ต่างจากสังคมหวาดระแวงต่อกัน อย่างที่สังคมไทย การศึกษาไทยกำลังมุ่งหน้า (๒) Equity หรือความเป็นธรรม เท่าเทียมกัน ทั้งด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ ในสังคม เขาไม่เน้นแข่งขัน หาคนเก่ง สร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนกีฬา ฯลฯ แบบบ้านเรา แต่เน้นให้เด็กทุกคนทุกขีดความสามารถด้านต่างๆ เรียนด้วยกัน เอาใจใส่เด็กที่เรียนตามไม่ทัน อย่างเป็นระบบ มีระบบช่วยเหลือ

ผมเคยได้ฟังเขาเล่าตอนไปเยี่ยมโรงเรียนที่ฟินแลนด์ ตามที่เล่าไว้ ที่นี่ ว่าในช่วงเวลาของการศึกษา ภาคบังคับ ๙ ปี นักเรียนฟินแลนด์ส่วนใหญ่ คือร้อยละ ๗๐ ได้รับการช่วยเหลือจากระบบช่วยเหลือ การเรียนเป็นพิเศษในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง คือเขามองปัญหาในการเรียนเป็นเรื่องปกติ และต้องมีระบบ ช่วยเหลือให้กลับไปเรียนร่วมกลุ่มกับเพื่อนได้

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 09 กันยายน 2014 เวลา 14:11 น.
 

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๖. CE กับ KT

พิมพ์ PDF

การทำงาน “พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” (Community – University Engagement หรือเรียกย่อๆ ว่า Community Engagement - CE) ต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ Knowledge Translation (KT) เขาให้ความสำคัญต่อ KT มากถึงขนาดตั้งหน่วยงานชื่อ Knowledge Translation Australia (www.ktaustralia.com)

ผมรู้จักคำว่า Knowledge Translation มานานหลายปี จากวงการสุขภาพ เมื่อไปประชุมเรื่อง University Engagement ที่ออสเตรเลีย และมีการประชุมห้องย่อยเรื่องนี้ก็สนใจ อยากรู้ว่าวงการอื่นเขามอง KT อย่างไร ก็ไปพบว่าวิทยากรเอาความรู้เรื่องนี้มาจากวงการสุขภาพของประเทศแคนาดา ที่เป็นต้นตอของโลก ในเรื่องนี้

เขาบอกว่ามีคำที่ใช้พ้องกับ KT รวม ๗ คำ คือ Knowledge Mobilization, Knowledge Transfer, Knowledge Exchange, Knowledge Translation, Research Utilization, Research Translation, และ Engaged Scholarship ผมขอเพิ่มเติมว่า ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เรียกว่า Translational Science หรือImplementation Science

KT เป็นกิจกรรมที่มีพระเอก (หรือนางเอก) ๒ คน คือนักวิจัย/นักวิชาการ กับผู้ใช้ความรู้ ที่นักวิจัย/ นักวิชาการสร้างขึ้น ดังนิยามของ KT ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำงาน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน

ผมชอบนิยามของกองทุนวิจัยระบบสุขภาพแคนาดา มากกว่านิยามขององค์การอนามัยโลก (ดังรูปที่ ๑) เพราะนิยามของแคนาดา เน้นความร่วมมือสองฝ่ายดังกล่าวในย่อหน้าบน แต่ขององค์การอนามัยโลกดูจะเน้น บทบาทของนักวิชาการมากกว่า

เหตุที่ต้องมีศาสตร์ว่าด้วยการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ก็เพราะผลงานวิจัยด้านสุขภาพ ที่เป็นความรู้ใหม่ กว่าจะเข้าไปแทนที่วิธีปฏิบัติเดิม ก็ใช้เวลาถึง ๑๗ ปี (โดยเฉลี่ย) นี่เป็นผลการวิจัยที่ทำให้มีการให้ทุนวิจัย สนับสนุนการวิจัยเพื่อเอาความรู้ หรือผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์

สำหรับนักวิชาการแนว CE/KT แล้ว เมื่อมีผลงานวิจัยหรือความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะไม่ทำเฉพาะ knowledge dissemination แต่จะทำ knowledge exchange ด้วย หรือทำเป็นกิจกรรมหลัก

Knowledge Dissemination เป็นกิจกรรม KT แบบ producer-push ได้แก่การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร วิชาการ, การนำเสนอในการประชุมวิชาการ, การเผยแพร่ข้อสรุปเป็นภาษาธรรมดาที่ไม่ใช่ภาษาวิชาการ, และ การเผยแพร่ใน โซเชี่ยลมีเดีย

ตรงกันข้ามกับ KT แบบ producer-push คือ KT แบบ users-pull คือผู้ใช้ความรู้แสวงหาความรู้มาใช้ สำหรับกำหนดนโยบาย หรือใช้ในการดูแลผู้ป่วย

KT แบบที่มีพลังที่สุดคือแบบ Knowledge Exchange ซึ่งหมายความว่า มีความร่วมมือใกล้ชิดระหว่าง ผู้ผลิตและผู้ใช้ความรู้ ในที่ประชุมจึงมีการย้ำในโอกาสต่างๆ ว่า ต้อง Exchange ไม่ใช่ Disseminate

พูดง่าย แต่จริงๆ แล้วหากจะให้เกิดผลจริงๆ ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ของ นักวิชาการ และต้องมีการเปลี่ยนแปลง (หรือเพิ่มเติม) ในเชิงโครงสร้างของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัย/ วิชาการ เพื่อให้มีกลไกส่งเสริมและช่วยอำนวยความสะดวกแก่กิจกรรม KT โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนด KPI ของผลงาน ทั้งในระดับบุคคล และระดับหน่วยงาน

กลไกสำคัญคือหน่วยงาน/บุคคล ที่ทำหน้าที่ Knowledge Broker หรือทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างฝ่าย นักวิชาการ/สถาบันวิชาการ กับฝ่ายชุมชน/ผู้ใช้ความรู้เชิงวิชาการ โดยที่ Knowledge Broker ต้องรู้จักและเป็นที่ ไว้วางใจของทั้งสองฝ่าย ช่วยสร้างความสัมพันธ์ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งช่วยสร้างสภาพ ความสัมพันธ์ ที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ติดตามชมภาพประกอบกด link ;http://www.gotoknow.org/posts/575487

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 21:45 น.
 

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๗. CE กับ Collaborative Networks

พิมพ์ PDF

​เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๗. CE กับ Collaborative Networks

การทำงาน “พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” (Community – University Engagement หรือเรียกย่อๆ ว่า Community Engagement - CE) ต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ Collaborative Networks ซึ่งผมกลับมาค้นหาความรู้ที่บ้านได้ความรู้จากแหล่งต่อไปนี้

ผมตีความว่า เนื่องจาก Engagement Australia ทำงานเป็น collaborative network ผู้มาร่วมงาน จึงควรเข้าใจหลักการและวิธีปฏิบัติของ CN ซึ่งถือว่าเป็น “องค์กร” ในรูปแบบใหม่ จุดสำคัญที่สุดคือ ไม่ใช้วัฒนธรรมอำนาจควบคุมสั่งการ หรือวัฒนธรรมรวมศูนย์ พลังของเครือข่าย คือคุณค่าร่วม (Shared Values) ต้องการบรรลุอุดมการณ์ ที่มีความหมายร่วมกัน ซึ่งในกรณีของการประชุมนี้ คือการทำประโยชน์ ให้แก่สังคม

อย่างไรก็ตาม CN จะมีพลังได้ ต้องมีการจัดการ ผมชอบที่บทความที่ ๒ เรียกชื่อผู้จัดการ CN ว่า choreographer ซึ่งมีความหมายไปในทางทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สอดประสาน และเสริมพลัง (synergy) กัน เน้นความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง หรือเป็นพลวัต ในบทความนี้ระบุหลักการสำคัญของ CN 5 ประการ น่าอ่านมาก

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 21:52 น.
 


หน้า 325 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632979

facebook

Twitter


บทความเก่า