Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สังคมศาสตร์กับความเข้าใจสังคม

พิมพ์ PDF

บทความ Social science palooza IV ใน International New York Times วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ บอกว่ามีคนคอยรวบรวมผลการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ส่งให้ผู้บอกรับ ผู้เขียนบทความนี้หยิบเอาบางส่วน มาเล่าต่อ

เป็นการบอกทางอ้อมว่า ความรู้ด้านสังคมศาสตร์มีคุณค่ายิ่ง และเป็นที่สนใจของผู้คน คุณค่าดังกล่าว คือคุณค่าต่อการดำรงชีวิตด้านต่างๆ

ตัวอย่าง เรื่อง Moral stories don’t necessarily make more moral children เป็นงานวิจัยง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ให้ผลที่มีความหมายมาก ว่าในเด็กอายุ ๓ ขวบ แรงจูงใจด้านลบ มีพลังสู้แรงจูงใจด้านบวกไม่ได้

เรื่อง Too much talent can be as bad as too little talent อ่านแล้วผมนึกถึง หลักทางสายกลาง หรือความพอดี ไม่ว่าเรื่องอะไร มากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี รวมทั้งต้องเหมาะสม ต่อบริบท หรือสภาพแวดล้อมด้วย ซึ่งก็มาตรงกับถ้อยคำ linear relationship ในบทความ เมื่อไรก็ตาม เรามองสิ่งต่างๆ อย่างซับซ้อน ความสัมพันธ์จะไม่เป็นเส้นตรง

เราต้องไม่ลืมว่า การอ่านบทความนี้ เป็นการอ่าน ความรู้มือสอง” คือฟังต่อมาอีกทอดหนึ่ง ไม่ใช่อ่านจากรายงานผลวิจัยโดยตรง จึงเท่ากับผ่านการปรุงแต่งโดยคุณ David Brooks ผู้เขียนมาแล้วทอดหนึ่ง นี่คือสติว่าด้วย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ” (critical thinking)

แม้จะมีข้อจำกัด การย่อยผลการวิจัยเอามาเขียนเผยแพร่ให้เข้าใจง่าย และอ่านสนุก ดังในบทความนี้ เป็นเรื่องที่มีค่ามากต่อสังคม และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัย (เช่น สกว.) น่าจะพิจารณาหาทาง สนับสนุนการย่อยผลงานวิจัยแบบนี้ในสังคมไทย

อ่านบทความนี้แล้ว ผมเกิดความคิดเรื่องโจทย์วิจัยมากมาย สำหรับตอบคำถามสำคัญๆ เกี่ยวกับสังคมไทย โดยต้องเริ่มต้นที่กระบวนทัศน์ ไม่เชื่อง่าย” ไม่เชื่อการคิดด้วยเหตุผล ว่าจะเป็นจริงในสถานการณ์จริง

เพราะสังคมศาสตร์เป็นเรื่องของความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลง (complex-adaptive)



วิจารณ์ พานิช

๙ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2014 เวลา 12:55 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๒๑. พลังแห่งมนุษย์ พลังแห่งอนาคต

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง Human energy powers the futureใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ดึงดูดความสนใจของผมอย่างแรง แต่เมื่ออ่านเนื้อก็ผิดหวังอย่างแรง เพราะกลายเป็นเรื่อง ปตท. ไม่ใช่เรื่องพลังของมนุษย์ ที่ผมคาดหวัง

จึงเขียนบันทึกนี้ เพื่อสื่อสารความเห็น ว่าพลังแห่งมนุษย์ หรือพลังของความเป็นมนุษย์ (human energy) ทรงพลังกว่าพลังงาน (energy) ทั้งปวง

ดังนั้น ผมจึงให้คุณค่าของการศึกษาสูงมาก เพราะจะเป็นตัวส่งเสริมให้คนทุกคนพัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้เต็มศักยภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาเป็นคนที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ พลังขับเคลื่อน และพลังของการเป็นผู้ให้ ไม่ใช่คนที่เฉื่อยชา หรือเอาแต่ทำตัวเป็นผู้บริโภค หรือผู้รอรับ

การศึกษาที่ถูกต้อง ดำเนินการถูกทาง จะสร้างมนุษย์ที่มีพลังสร้างสรรค์ พลังความดี สำหรับเป็นพลังให้แก่บ้านเมือง ตรงกันข้าม การศึกษาที่เดินผิดทาง อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะทำลายศักยภาพของความเป็นมนุษย์ หรือยิ่งสร้างพลเมืองที่เสื่อม ศีลธรรม ฉ้อฉล และมุ่งแต่จะเอา

พลังของมนุษย์ ยิ่งใหญ่เกินจินตนาการ แต่จะเป็นพลังด้านบวก หรือด้านดี/สร้างสรรค์ ก็ได้ หรือจะเป็นพลังด้านลบ หรือด้านทำลายล้าง ก็ได้

วิกฤติการเมืองในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สอนผมว่าคนเก่งที่โกง เห็นแก่ตัว และบ้าอำนาจ เป็นอันตรายต่อสังคมเพียงไร เป็นโจทย์ว่าการศึกษา และกระบวนการเรียนรู้ ที่เราจะช่วยกันปฏิรูป จะกลับมาเดินถูกทางได้อย่างไร

วิจารณ์ พานิช

๘  ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2014 เวลา 12:57 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๒๐. แผนพัฒนาคน จังหวัดสงขลา

พิมพ์ PDF

ในโต๊ะอาหารเย็น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เลี้ยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่กรุณาไปให้ข้อคิดเห็น ว่า มอ. ควรทำอะไรเพื่อการพัฒนาจังหวัดสงขลา และภาคใต้ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ท่านอดีต รมช. มหาดไทย บัญญัติ จันทน์เสนะ ไปร่วมในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ และให้ความเห็นที่ติดใจผม จนต้องนำมาเขียนบันทึกนี้ คือเรื่องการร่วมกันใน ๑๕ ภาคี ของจังหวัดสงขลา ทำแผนพัฒนาคนของจังหวัด

การพัฒนาคน เป็นยอดของการพัฒนาทั้งปวง นี่คือความเชื่อของผม และผมนำมาใช้กับตนเองว่า การพัฒนาตน คือเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่

ต่อไปนี้คือจินตนาการเป้าหมายและแนวทาง ของการดำเนินการพัฒนาคน ของจังหวัดใดก็ได้

พัฒนาคนในทุก sector และทุกช่วงอายุ ซึ่งหมายความว่า รวมทั้งชาวบ้านธรรมดาๆ ด้วย

เน้นการพัฒนาจากการลงมือทำหรือการปฏิบัติ เน้นการรวมกลุ่มกันเรียนรู้จากการปฏิบัติ (interactive learning through action) เน้นเอาความรู้ปฏิบัติ (tacit knowledge) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อยกระดับความรู้ ผ่านการปฏิบัติ เป็นวงจรไม่รู้จบ โดยกิจกรรมทั้งหมด ทำในชุมชนภูมิลำเนาของผู้นั้น/กลุ่มนั้น อาจมีการไปดูงานนอกพื้นที่บ้าง และอาจมีวิทยากร/นักวิชาการจากภายนอกมาใช้ความรู้เชิงทฤษฎี ร่วมตีความปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ

เน้นเด็กและเยาวชนด้วย โดยเน้นการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือกิจกรรมจิตอาสา หรือกิจกรรมเชิงธุรกิจ

หน่วยงาน/องค์กรสนับสนุน เน้นการสนับสนุน “คุณอำนวย” จัดกระบวนการเรียนรู้ แบบแลกเลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

มีวงเรียนรู้/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางข้างต้นกระจายไปทั่วทุกหมู่บ้าน โดยอาจมีหมู่บ้านละหลายวง เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั้งจังหวัด

มีมหกรรมประจำปี

วิจารณ์ พานิช

๗ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม 2014 เวลา 15:58 น.
 

ร่าง Road Map iHDC

พิมพ์ PDF

ประชุมกลุ่มย่อยพิจารณา

ร่าง Road Map

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุ


วันที่ 13 สิงหาคม 2557 ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาร่าง Road Map ของ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ นำเสนอโดย คุณวิบูลย์ จุง ผู้จัดทำร่าง โดยมี รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล คุณธวัชชัย แสงห้าว และ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ร่วมแสดงความคิดเห็นและปรับความเข้าใจให้ตรงกัน โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
1. Vision's iHDC (ศบม) 
2.DNA : Core Value,Core Purpose,Core Prohibition
3.องค์กร และ บุคคล บนเวทีของ iHDC (ศบม) Who's iHDC ใคร ได้และเสียอะไร ....
4.Who's our Network บทสรุปความสัมพันธ์
5.Frame Work สมมติฐาน ตอบสนองต่อประสิทธิภาพขององคืกร และบุคคล
6.แนวทางการดำเนินการ

สรุปเห็นตรงกันว่า ร่าง Road Map ฉบับแรกประกอบด้วย
1.จัดการองค์กร จัดทำแผนกลยุทธ์ 5 ปี วางแนวทางการสร้างแบรนด์ มีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ เฉพาะ สร้างพันธมิตร และเครือข่าย
2.สร้างกระแส .....อย่างต่อเนื่อง
3.ดำเนินกิจกรรมหารายได้เพื่อสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศ
4.รวบรวมฐานข้อมูล องค์กร และ บุคลากร
5.สร้างและพัฒนา เครื่องมือบ่งชี้ศักยภาพขององค์กร และบุคลากร
6.สร้าง / พัฒนา /ดำเนินการ/ผลักดัน ให้มีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือสังคม
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 สิงหาคม 2014 เวลา 22:27 น.
 

Rood Map มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

สวัสดีท่านสมาชิกและผู้ติดตามอ่านบทความในเวปไซด์ของ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุกท่าน

วันนี้เป็นวันที่ผมดีใจมาก เนื่องจากผมและเพื่อนๆ ร่วมกันจัดตั้ง "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" ตั้งแต่ปี 2551 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัมนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคบริการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางให้กับสมาชิก ที่เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการและองค์กร สถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคคลากรในภาคบริการ มีความเข้มแข็งพร้อมในการแข่งขัน และดำรงอยู่ได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และการเจริญเติบโตของประเทศในอนาคต ศูนย์ฯเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลในวันที่ 22 ตุลาคม 2551 และทำการเปิดตัวในวันที่ 25 พฤศจิการยน 2551 โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายวีรชัย วงศ์บุญสิน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามผล กระทบ AEC ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ในเวลานั้น) และนายธวัชชัย  แสงห้าว จากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เปิดตัวด้วยโครงการเสวนาเรื่อง "คน......ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs" ด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ณ.ห้อง Activity Hall ชั้น 1 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

หลังจากการเปิดตัวศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และได้จัดกิจกรรมใหญ่ๆหลายกิจกรรมด้วยกัน มีทั้งกิจกรรมภายในประเทศ และกิจกรรมระหว่างประเทศ ศูนย์บรูณาการพัฒนามนุษย์เป็นที่รู้จักและมีเครือข่ายมากขึ้น กรรมการจึงมีมติว่าควรจัดตั้งเป็นนิติบุคคล และได้มีการดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์"

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัมนามนุษย์ ได้รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 ทะเบียนเลขที่ กท ๒๒๕๙ โดยมีทุนจดทะเบียน สองแสนสามหมื่นบาท จากการบริจาค ของผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิฯ จำนวน 23 คน บริจาคคนละ หนึ่งหมื่นบาท ตามรายชื่อดังนี้

1.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.ดร.อนุชา เล็กสกุลดิรก

3.นายกิตติ คุมภีระ

4.นสพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย

5.นายธวัชชัย แสงห้าว

6.ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา

7.นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

8.นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

9.ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน

10.รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล

11.นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์

12.นายสยาม เศรษฐบุตร

13.นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล

14.นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล

15.นายวิสูตร เทศสมบูรณ์

16.นายกรพชร สุขเสริม

17.นายทำนอง ดาศรี

18.นายชนินท์ ธำรงวิทวัสพงศ์

19.ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ

20.นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์

21.ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี

22.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ประชุมคณะกรรมการ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 (สามารถติดตามอ่านได้จากหัวข้อรายงานการประชุม บนเวปไซด์หน้าแรก ด้านซ้ายมือ) ระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี  มูลนิธิฯ ยังไม่ได้มีการเปิดตัวและดำเนินการใดๆอย่างเป็นทางการ  ผมในฐานะกรรมการและเลขาธิการ ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการให้เป็นผู้จัดหาคณะทำงาน โดยมี กรรมการหลายท่านให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อจัดทำแผน Road Map ของมูลนิธิฯ และคัดเลือกผู้มีจิตอาสาเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน กิจกรรมหลักที่มูลนิธิทำอย่างต่อเนื่องได้แก่การบริหารจัดการเวปไซด์ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ http://www.thaiihdc.org) ปัจจุบันมีผู้เข้าชมเวปจำนวนเจ็ดแสนกว่าราย (นับจากจำนวน IP ที่เข้าเยี่ยมชมเวปไซด์ในแต่ละวัน หนึ่ง IP คิดเป็นหนึ่งครั้งต่อวันไม่ว่า IP นั้นจะเข้าออกเวปไซด์กี่ครั้งต่อวันก็ตาม)

ผมใช้เวลาเกือบ 2 ปี ในการจัดทำ Road Map ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์  พร้อมๆกับการหาคณะทำงาน และเครือข่าย แต่ก็ไม่พบคนที่จะสามารถช่วยผมจัดทำ Road Map ได้ จนมาเจอคุณวิบูลย์ จุง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2557 ใช้เวลาอธิบายถึงที่มาที่ไปของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นคุณวิบูลย์รับอาสาจัดทำ Road Map ให้ผมแต่ต้องเป็นหลังวันที่ 6 สิงหาคม จึงจะเริ่มทำให้ผมได้ เนื่องจากคุณวิบูลย์ติดภาระกิจอยู่  วันที่ 9 สิงหาคม ได้รับร่าง Road Map จากคุณวิบูลย์ที่ส่งมาให้ทาง e-mail  ผมได้อ่านและพิจารณาร่างที่คุณวิบูลย์จัดทำให้ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมูลนิธิทุกประการ  จะไม่ให้ผมดีใจได้อย่างไรในเมื่อผมใช้เวลาร่วม 2 ปี ในการหาผู้มาช่วยผมจัดทำ Road Map ใช้เวลาอธิบายกับคนหลายๆคนนับครั้งและเวลาที่เสียไปเป็นจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน แต่คุณวิบูลย์ฟังผมอธิบายแค่ไม่ถึง 2 ชั่วโมง และสามารถใช้เวลาในการจัดทำร่าง Road Map ให้ผมได้ภายใน 2 วัน สุดยอดจริงๆครับ

วันที่ 13 สิงหาคม 2557 ผมนัดประชุมกรรมการที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาร่าง Road Map ของคุณวิบูลย์ เพื่อปรับแต่งให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น หลังจากนั้นจะประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาการดำเนินงานของคณะทำงานให้เป็นไปตาม Road Map เมื่อได้คณะทำงานเรียบร้อยแล้ว จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการผู้ก่อตั้งเพื่อขออนุมัติแผนงานและแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ แทนคณะกรรมการผู้ก่อตั้ง โดยคณะทำงานชุดที่จะได้รับการแต่งตั้งนี้จะมีวาระ 2 ปีเต็ม

จึงขอประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและท่านผู้ติดตาม ได้รับทราบในเบื้องต้น มีความคืบหน้าอย่างไรจะเรียนให้ทราบต่อไป

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

กรรมการเลขาธิการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัมนามนุษย์

10 สิงหาคม 2557

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม 2014 เวลา 20:12 น.
 


หน้า 330 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632632

facebook

Twitter


บทความเก่า