Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ทำความสะอาดโรงเรียน

พิมพ์ PDF

ที่จริงไม่เฉพาะโรงเรียน หน่วยงานอื่นๆ ต่างก็มีความสกปรกโสโครกแฝงอยู่ด้วยเสมอ รวมทั้งโรงพยาบาล ความโสโครกในที่นี้ไม่ใช่ด้านกายภาพ แต่เป็นด้านสังคม และคุณธรรม

เราต้องช่วยกันปกป้อง และกวาดล้างโรงเรียน จากความไม่สะอาดเชิงคุณธรรม เป็นพิเศษ เพราะโรงเรียนต้องฝึกฝนปลูกฝังนักเรียนในด้านคุณธรรม นักเรียนต้องได้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมดี และเห็นตัวอย่างที่คนทำชั่วได้รับโทษ

ความไม่สะอาดอยู่ในระบบ การอาศัยโรงเรียนหากินโดยการโกงกินจากการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องถูกขจัด เพราะไม่ว่าผลประโยชน์ที่มิชอบนี้จะตกที่ใคร บ้านเมืองเสียหายทั้งสิ้น

การเลื่อนวิทยะฐานะครูแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ต้องยกเลิก แทนที่ด้วยผลงานที่สะท้อนการเรียนรู้ บูรณาการ เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้รอบด้าน (พหุปัญญา) ของศิษย์ และการเรียนรู้จากกิจกรรมในห้องเรียน ของตัวครูเอง

ครูบางคนไม่ควรเป็นครู เพราะหากปล่อยให้เป็นจะทำร้ายเด็กด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และสร้างความเสื่อมเสียให้แก่อาชีพครู เกณฑ์คุณสมบัติของครู และของคนที่ควรขจัดไปจากวงการครู ให้ครูดีๆ จำนวนหนึ่งช่วยกันยกร่างได้

คนแบบนี้ควรได้รับการตักเตือนและช่วยเหลือให้กลับตัวกลับใจ ให้เวลาระยะหนึ่ง หากเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ควรให้ออกไปประกอบอาชีพอื่น

ความสะอาดเชิงระบบ ของระบบการศึกษา ควรเลยจากโรงเรียน ไปสู่ระบบ ที่ต้องเป็นระบบที่เรียนรู้ คือต้องมีการเก็บข้อมูล เป็น feedback เพื่อนำไปสู่การปรับตัวเชิงระบบ และที่สำคัญ ไม่ให้การเมืองโสมม เข้ามาตักตวงผลประโยชน์โดยมิชอบ ในลักษณะ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2014 เวลา 21:08 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๔๖. ไม่มีศาสนา หรือไม่มีพระเจ้า

พิมพ์ PDF

นิตยสาร ไทม์ ฉบับวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ (ใส่วันที่ล่วงหน้า ๒ สัปดาห์) ลงบทความในหัวข้อหลัก The Culture  หัวข้อรอง Religion  และหัวข้อเรื่อง Nonbelief System. Atheist “churches” take hold, even the Bible Belt     น่าเสียดายที่ผมค้นบทความนี้ไม่พบ    พบแต่บทความคล้ายๆ กัน บทความนี้

อ่านแล้วเห็นความเคลื่อนไหวแสวงหาด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่แตกต่างจากสังคม สมัย 2-3 พันปีก่อน อย่างมากมาย    ศาสนาที่นับถือกันมากในปัจจุบันเกิดขึ้นในช่วงนั้น    มนุษย์ต้องการ สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ แบบใหม่จริงหรือ     ศาสนาในแนวทางเดิม รูปแบบเดิม หมดสมัย หรือหมดพลัง เสียแล้วหรือ

คนยุคใหม่ที่เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ที่แตกต่างจาก มนุษย์ยุคก่อนๆ จริงหรือ

บทความนี้เอ่ยถึง atheist ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่นับถือพระเจ้า     อ่านแล้วผมบอกตัวเองว่า ผมก็ไม่เชื่อ ในพระเจ้าแบบมีตัวตนอยู่บนสวรรค์ ไม่เชื่อมาแต่เด็ก เพราะถูกปู่และพ่อสอนมาตั้งแต่เด็ก    และเมื่อโตขึ้น จนแก่อย่างนี้ ยิ่งไม่เชื่อแน่นแฟ้นขึ้น

ท่านที่อ่านบันทึกของผมมาอย่างสม่ำเสมอ อาจรู้สึกแปลกใจ     เพราะผมเอ่ยถึงเทวดาดลใจบ่อยมาก     เทวดาในบันทึกของผมหมายถึง intuition หรือปัญญาญาณที่มีอยู่ในตัวคน ในปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอื่น และในปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม     หากเราปฏิบัติหรือฝึกฝนจนเกิดการเรียนรู้เรื่องต่างๆ แบบที่เรียกว่า mastery learning  คือรู้ในระดับอัตโนมัติ     เทวดาดลใจ หรือปัญญาญาณ ก็จะออกมาปฏิบัติการเอง  โดยตัวเราไม่อยู่ในฐานะที่จะบังคับได้     “หนูเปล่านา...เขามาเอง”

เนื่องจากศาสนาคริสต์นับถือพระเจ้า    บทความนี้จึงโมเมเหมาว่าไม่มีพระเจ้าหมายถึงไม่มีศาสนาและโยงศาสนากับวัดหรือโบสถ์     และเสนอข่าวเรื่องราวของ “โบสถ์นอกศาสนา”     ที่ผมตีความว่า มันสนองธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการรวมกลุ่มกันเป็นสังคม  เพราะมนุษย์ต้องการเพื่อน ต้องการสันติ หรือความมั่นคงในจิตใจ

ผมเข้าใจว่า ความต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจเรียกว่า spirituality หรือจิตวิญญาณ ซึ่งเป็น คุณสมบัติที่ฝึกได้    และการศึกษาต้องจัดการฝึกฝนสิ่งนี้ให้แก่เยาวชนทุกคน    รวมทั้งคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องหมั่นฝึกฝนตนเอง  ถือเป็นส่วนหนึ่งของ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

การเรียนรู้บูรณาการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามิติทางจิตวิญญาณรวมอยู่ด้วย

จะเชื่อหรือไม่เชื่อในพระเจ้าไม่สำคัญ     ที่สำคัญคือ ต้องพัฒนาตนเองด้านจิตวิญญาณตั้งแต่เด็กและทำไปตลอดชีวิต

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2014 เวลา 09:44 น.
 

ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่ภูเก็ต

พิมพ์ PDF

วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ ผมเดินทางไปภูเก็ต เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมของโครงการพัฒนาครูด้วยระบบ หนุนนำต่อเนื่องที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า โครงการ Teacher Coachingที่เริ่มฉายแววความสำเร็จเมื่อ ๓ เดือน ที่แล้วตอนเราไปเยี่ยมโครงการที่จันทบุรีมาคราวนี้ที่ภูเก็ต คณะกรรมการชี้ทิศทางผู้บริหารโครงการ รวมทั้งผู้จัดงบประมาณสนับสนุนคือท่านอดีตรองเลขาธิการ สพฐ.อนันต์ ระงับทุกข์ต่างก็มีความสุขกัน ทั่วหน้าเพราะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวครูและในห้องเรียน

กำหนดการของวันที่ ๔ - ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ที่ภูเก็ต อยู่ ที่นี่ (ลิ้งค์ไปยังไฟล์ กำหนดการ)

โครงการนี้ ต้องการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงวิธีพัฒนาครู จากเดิมใช้วิธีจับมาอบรม (Training Mode)เปลี่ยนเป็น ใช้วิธีเรียนรู้จากปฏิบัติการในห้องเรียนที่ตนทำหน้าที่ “สอนแบบไม่สอน” นั่นเอง (Learning Mode)โดยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำหน้าที่ โค้ช

ดร. สีลาภรณ์ รองผู้อำนวยการ สกว. บอกว่า ที่ครูเล่าให้คณะที่ไปเยือนฟังนั้นท่านสรุปว่าเป็นการโค้ช โดยให้ feedbackไม่ใช่ไป “สอนวิธีสอน”

ที่โรงเรียน กะทู้วิทยา และโรงเรียนเกาะสิเหร่ เราไปเห็นกิจกรรมในห้องเรียนที่ครูเปลี่ยนบทบาท จาก “ผู้สอน”ไปเป็น “ผู้ออกแบบการเรียนรู้”“ผู้ตั้งคำถาม”“โค้ช”และ “ผู้ให้ feedback” แก่นักเรียน

เราได้เห็นกิจกรรมในห้องเรียนที่เป็น Active หรือ Activity-Based Learning ที่โรงเรียนทั้งสองได้เห็น แววตาท่าทางของเด็กนักเรียนที่เรียนอย่างสนุกและได้เห็นแววตา และเรื่องเล่าที่สะท้อนความภูมิใจของตัวครูเมื่อครูมาคุยกับคณะที่ไปดูงานในตอนหลัง

ที่โรงเรียนเกาะสิเหร่ (โรงเรียนประถมขยายโอกาส) ในตอนบ่าย เราไปเห็นการพัฒนา “ทักษะในห้องเรียน” ของครูที่มีวิธี “warm up” เข้าสู่ชั้นเรียนแล้วจึงมีโจทย์ กิจกรรม ให้นักเรียนเรียนโดยการลงมือทำเป็นกลุ่มครูวิริยา สุวรรณวัฒน์ warm up สมองเด็กชั้น ม. ๓ ในวิชาการคิดวิเคราะห์ โดยให้ระดมความคิดกันว่า ความขี้เกียจมีประโยชน์อย่างไรมีโทษ อย่างไรอย่างไหนมีประโยชน์มากกว่าเสียดาย ที่ผมไม่ได้อยู่สังเกตการณ์ต่อว่าครูวิริยาให้เด็กทำอะไรต่อเพราะต้องไปดูอีกห้องหนึ่ง

ที่ห้องชั้น ม. ๒ โรงเรียนเดียวกันผมไปเห็นครูมาลัย เตบจิตรwarm up โดยให้นักเรียนแต่ละคน เขียนคำบอก ๕ คำแล้วให้นักเรียนเอาสมุดคำตอบไปแลกกันกับเพื่อต่างกลุ่ม เพื่อตรวจคำตอบโดยปรึกษา กันในกลุ่ม แล้วหาตัวแทนกลุ่มละ ๑ คนไปเขียนคำตอบที่สะกดการันต์ถูกต้องบนกระดานและปรึกษากัน ว่าถูกต้องไหมแล้วนักเรียนจึงตรวจผลงาน และหาคนที่เขียนถูกทั้งหมด ๕ คำพบว่ามี ๒ คนครูชวน นักเรียนปรบมือชื่นชมครูเฉลยว่าคำทั้ง ๕ เป็น “คำยืม”คือเป็นคำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาอื่น

แล้วครูแจกกระดาษที่ตนเตรียมข้อความที่ค้นจาก อินเทอร์เน็ตให้นักเรียนค้นหาคำภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยจากข้อความนั้นผมจึงได้เห็นวิธีออกแบบการสอนที่ถือได้ว่าสุดยอดจึงถามครูมาลัยว่า ท่านสอนแบบนี้มากี่ปีแล้วได้คำตอบว่าสอนเป็นปีแรกเพราะเดิมสอนชั้น ป.๑

นี่คือ การออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนจากหลายกิจกรรมในหนึ่งคาบเรียนและแต่ละกิจกรรม เป็นการเรียนแบบ Activity-Based ทั้งหมดนักเรียนได้เรียนจากการฝึกคิดหรือค้นด้วยตนเองเพราะทุกคนมี พจนานุกรมภาษาอังกฤษ-ไทยอยู่ในมือและได้ปรึกษากับเพื่อนๆ ในกลุ่มและสรุปในชั้นเรียนทั้งชั้น

ห้องเรียนทั้งสอง มีนักเรียนชั้นละ ๒๓ คนเท่ากัน มาสอบถามภายหลัง พบว่าแทบไม่มีเด็กท้องถิ่น ของภูเก็ตเลยเกือบทั้งหมดมาจากที่อื่นทั่วทั้งประเทศโดยติดตามพ่อแม่มาอยู่ที่นี่บางคนเป็นพม่าก็มี

ที่โรงเรียนกะทู้วิทยา (โรงเรียนมัธยม) ในตอนเช้า ผมตื่นตาตื่นใจที่โรงเรียนมีชุด กล้อง CCTV ต่อกับกระดานอัจฉริยะและชุดบันทึกเหตุการณ์ในชั้นเรียน ราคาชุดละ ๑ ล้านบาทท่านผู้อำนวยการ โรงเรียนบอกว่า มี ๓ เครื่อง

ท่านประธานคณะกรรมการโรงเรียนกะทู้วิทยา มารายงานตัวกับผมตอนรับประทานอาหารเที่ยง ว่า เป็นคนไชยา และเป็นลูกศิษย์ “ครูหริ” ที่โรงเรียนพุทธนิคมเพราะท่านทราบว่าผมนามสกุลพานิช เป็นหลานท่านพุทธทาสครูหริ คือครูศิริ พานิช ผู้ล่วงลับ

ท่านเล่าว่า เดิมโรงเรียนกะทู้วิทยาจัดเป็นโรงเรียนที่รองรับ “เด็กเหลือเลือก”คือสอบแข่งขันเข้า โรงเรียนอื่นไม่ได้ จึงมาเรียนที่โรงเรียนนี้แต่เวลานี้ไม่ใช่มีการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนในช่วง ๖ - ๗ ปีมานี้ จนมีเด็กสอบชิงทุนไปต่างประเทศได้ทุกปีการได้คุยสบายๆ กับคนนอกที่ไม่ใช่ครูหรือผู้อำนวยการโรงเรียน ทำให้ผมได้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของโรงเรียนของการศึกษาและสภาพสังคมในพื้นที่

ที่โรงเรียนกะทู้วิทยา เราได้ชมห้องเรียน ๓ ห้องคือห้องวิทยาศาสตร์ห้องคอมพิวเตอร์ (แท็ปเล็ต)และห้องภาษาอังกฤษทุกห้องไฮเทคหมดสภาพห้องเรียน การแต่งกายของเด็กและเครื่องไฮเทค ของโรงเรียนนี้ ดีกว่าของโรงเรียนเกาะสิเหร่อย่างเทียบกันไม่ติด แต่ผมกลับติดใจวิธีสอนของครูที่โรงเรียน เกาะสิเหร่มากกว่า ว่าใช้ความสามารถของครูมากกว่าส่วนที่กะทู้วิทยา เน้นใช้เทคโนโลยีช่วยแบบที่ หลายส่วนผมคิดว่าไม่จำเป็นและการเน้นเทคโนโลยีราคาแพงเช่นนี้ ผมสงสัยว่าเป็นผลของการหาช่องทาง คอร์รัปชั่นในวงการเมืองและการศึกษาที่ควรกวาดล้างออกไป ผมไม่คิดว่า เราควรพัฒนาการศึกษาไทยแบบ บ้าเทคโนโลยีถึงขนาดนี้

อย่างไรก็ตามครูของทั้งสองโรงเรียนเล่าให้เราฟังตรงกันว่าครูเปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับการทำหน้าที่ ครู

ตอนเย็นที่โรงเรียนเกาะสิเหร่ ผมทำหน้าที่เป็น Fa ของการประชุม ยุให้ครูลุกขึ้นมาพูดเล่าว่าตน เปลี่ยนแปลงวิธีทำหน้าที่ครูของตนเองอย่างไรที่ประทับใจที่สุดคือครูวิภาวดี โรงเรียนบ้านบางเทาลุกขึ้นมาร้องขอให้คืนครูสู่ห้องเรียนโดยเล่าว่า ตนเป็นครูมาแล้ว ๘ ปี เวลานี้เป็นหัวหน้าวิชาการของโรงเรียนในเวลา ๘ ชั่วโมงที่ทำงานที่โรงเรียนมีโอกาสเข้าสอนในชั้นเรียนเพียง ๓ ชั่วโมงอีก ๕ ชั่วโมงต้องทำงานธุรการ สารพัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรายงานโครงการต่างๆ ที่สั่งเข้ามาจากหลากหลายทาง

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าต้องมีการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาของประเทศเอาโครงสร้างที่ รกรุงรังและไร้ประโยชน์ต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและครูออกไป

เช้าวันที่ ๕ สิงหาคมที่ห้องอาหารของ โบ๊ท ลากูน รีสอร์ทผมฟังอาจารย์ทีมงานของ มรภ. ลำปาง เล่าประสบการณ์เข้าไปทำงานโครงการนี้ที่โรงเรียนอย่างสนุกสนานและได้ความรู้เรื่องสภาพของโรงเรียน

ท่านเล่าว่าเมื่อเข้าไปชักชวนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นครั้งแรกครูต่างก็แสดงท่าทีปั้นปึ่งไม่ต้อนรับพูดเสียงสะบัดๆ ว่า “มาทำไมที่นี่งานมากจะตายอยู่แล้ว”คือครูกลัวอาจารย์ราชภัฏเอางานมาเพิ่มให้ทางทีมงานของ มรภ. แจ้งให้ทราบว่าม๊โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและเห็นว่าน่าจะให้โอกาส โรงเรียนนี้แต่ถ้าไม่อยากเข้าร่วมก็ไม่เป็นไรจะได้ให้โอกาสโรงเรียนอื่นจะโทรศัพท์มาถามการตัดสินใจ ใน ๒ วันข้างหน้าซึ่งทางโรงเรียนตอบรับหลังจากนั้นอีกเพียง ๒ เดือน เมื่อถามความพอใจที่ได้เข้าโครงการครูต่างก็ยิ้มแย้ม แสดงความพอใจกันถ้วนหน้าและเมื่อมีการสอบ NT ก็ได้ผลที่สูงกว่าเดิมมากมาย

ผมได้เรียนรู้ว่ามีการย้ายผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อยมากและผู้อำนวยการท่านใหม่มักจะไม่สนใจ ไม่สนับสนุนโครงการที่ผู้อำนวยการท่านเก่าทำไว้ถือว่าไม่ใช่โครงการของตนผมนึกในใจว่าโรคติดต่อ ของนักการเมืองต่างพรรค ระบาดเข้าไปในโรงเรียนด้วยโรคนี้เราเรียกว่า โรค NIH (Not Initiated Here) Syndrome

ผมได้เรียนรู้วัฒนธรรมแบบฟอร์มในวงการศึกษาเมื่อถามบทบาทของ ศน. (ศึกษานิเทศก์) ซึ่งมีอยู่เขตการศึกษาละเป็นสิบคนคำพูดที่ ศน. มักจะพูดอย่างมีไมตรีก็คือจะให้ช่วยเก็บข้อมูลอะไร ก็ขอให้บอก ยินดีทำให้ขอให้ส่งแบบฟอร์มมาก็แล้วกัน

เรื่อง ศน. นี้ผมคิดว่า หากยังคิดในกระบวนทัศน์ผู้ให้คำแนะนำแบบ “ผู้รู้” มากกว่า แบบ “ผู้ไม่รู้”ศน. ท่านนั้นก็ถือว่าตกยุค หมดหนทางก้าวหน้าเพราะในยุคนี้ ต้องมีท่าทีของ “ผู้ร่วมเรียนรู้” มากกว่าและนี่คือท่าทีของทีม TC ที่เราแนะนำ

วิจารณ์ พานิช

๕ ส.ค. ๕๗

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2014 เวลา 09:51 น.
 

เทคนิคกระบวนการ Active Learning

พิมพ์ PDF

รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ นำเอาสาระจากบันทึกชุด “ประเมินเพื่อมอบอำนาจ” ของผม ไปแยกเอาส่วนที่เป็นเทคนิคกระบวนการของ Active Learning นำไปทำเป็นหนังสือ ชื่อ “เทคนิคกระบวนการ : จากการประเมินสู่พัฒนาการเรียนรู้” ผมจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 08:12 น.
 

Global Competitiveness 2014-2015

พิมพ์ PDF

Global Competitiveness 2014 - 2015

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆทั่วโลก (Global Competitiveness) โดย World Economic Forum (WEF) ประจำปี ค.ศ.2014-2015 ได้มีการประกาศที่เว็บไซต์ www.weforum.org ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2557 มีประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ 144 ประเทศ ปรากฏผลที่น่าสนใจ ดังนี้

World Top 10 (with score 7 as maximum)

1 Switzerland (5.70) 2 Singapore (5.65) 3 United States (5.54) 4 Finland (5.50) 5 Germany (5.49) 6 Japan (5.47) 7 Hong Kong SAR (5.46) 8 Netherlands (5.45) 9 United Kingdom (5.41) 10 Sweden (5.41)

World Ranks of ASEAN Countries (with score 7 as maximum)

2 Singapore (5.65) 20 Malaysia (5.16) 31 Thailand (4.66) 34 Indonesia (4.57) 52 Philippines (4.40) 68 Vietnam (4.23) 93 Lao PDR (3.91) 95 Cambodia (3.89) 134 Myanmar (3.24)

ในการคิดน้ำหนักคะแนนสำหรับการคำนวณค่าดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Index) นั้น WEF ให้ตามขั้นตอนพัฒนา (State of Development) และรายได้ของประเทศ เป็น 5 ระดับ ดังนี้

GDP per capita (US$) thresholds (17,000)

Weight for basic requirements (60%, 40-60%, 40%, 20-40%, 20%) => “Basic Weight”

Weight for efficiency enhancers (35%, 35-50%, 50%, 50%, 50%) => “Efficiency Weight”

Weight for innovation and sophistication factors (5%, 5-10%, 10%, 10-30%, 30%) => “Innovation Weight”

ประเทศในกลุ่มอาเซียน มี 9 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันโดย WEF ในปี ค.ศ. 2014-2015 (ยกประเทศ Brunei Darussalam ไม่ได้รับการจัดอันดับเนื่องจากไม่มีข้อมูลเพียงพอ)

การคิดน้ำหนักคะแนนสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนตามเกณฑ์ GDP ของ WEF จึงเป็นดังนี้

ประเทศขั้นตอนพัฒนา 1 (GDP<2,000 US$) ได้แก่ Cambodia, Lao PDR, Myanmar และ Vietnam น้ำหนักการคิดคะแนนเป็นดังนี้

Basic Weight 60%, Efficiency Weight 35%, Innovation Weight 5%

ประเทศขั้นตอนพัฒนา 1-2 (GDP 2,000-2,999 US$) ได้แก่ Philippines น้ำหนักการคิดคะแนนเป็นดังนี้

Basic Weight 44.2%, Efficiency Weight 46.9%, Innovation Weight 9.0%

ประเทศขั้นตอนพัฒนา 2 (GDP 3,000-8999 US$) ได้แก่ Indonesia และ Thailand น้ำหนักการคิดคะแนนเป็นดังนี้

Basic Weight 40%, Efficiency Weight 50%, Innovation Weight 10%

ประเทศขั้นตอนพัฒนา 2-3 (GDP 9,000-17,000 US$) ได้แก่ Malaysia น้ำหนักการคิดคะแนนเป็นดังนี้

Basic Weight 36.1%, Efficiency Weight 50%, Innovation Weight 13.9%

ประเทศขั้นตอนพัฒนา 3 (GDP >17,000 US$) ได้แก่ Singapore น้ำหนักการคิดคะแนนเป็นดังนี้

Basic Weight 20%, Efficiency Weight 50%, Innovation Weight 30%

สำหรับตัวชี้วัดหลักที่เปรียบเสมือนเสาหลัก (pillars) ในการพิจารณาให้น้ำหนักคะแนนและจัดอันดับโดย WEF ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

1st Pillar : Institutions (12 indicators, e.g. Public trust in politicians; Strength of investor protection. etc.)

2nd Pillar : Infrastructure (9 indicators, e.g. Quality of overall infrastructure; Quality of electricity supply, etc.)

3rd Pillar : Macroeconomic environment (5 indicators, e.g. Inflation, annual % change; General government debt, %GDP, etc.)

4th Pillar : Health and primary education (10 indicators, e.g. Infant mortality, deaths/1,000 live births; Quality of primary education, etc.)

5th Pillar : Higher education and training (8 indicators, e.g. Quality of the education system; Availability of research and training services, etc.)

6th Pillar : Goods market efficiency (16 indicators, e.g. Agricultural policy costs; Degree of customer orientation, etc.)

7th Pillar : Labor and market efficiency (10 indicators, e.g. Cooperation in labor-employer relations; Redundancy costs, weeks of salary, etc.)

8th Pillar : Financial and market development (8 indicators, e.g. Availability of financial services; Legal rights index, etc.)

9th Pillar : Technological readiness (7 indicators, e.g. Availability of latest technologies; FDI and technology transfer, etc.)

10th Pillar : Market size (4 indicators, e.g. Domestic market size index; Exports as a percentage of GDP, etc.)

11th Pillar : Business sophistication (9 indicators, e.g. Local supplier quantity; State of cluster development, etc.)

12th Pillar : Innovation (7 indicators, e.g. Quality of scientific research institutions; Availability of scientists and engineers, etc.)

ถ้าพิจารณาดูอันดับของประเทศในกลุ่มอาเซียน ระหว่างปี ค.ศ. 2013-2014 เปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน ปรากฏผลดังนี้ Singapore 2=>2, Malaysia 24=>20, Thailand 37=>31, Indonesia 38=>34, Philippines 59=>52, Vietnam 70=>68, Lao PDR 81=>93, Cambodia 88=>95และ Myanmar 139=>134 โดยสรุป ประเทศที่อันดับดีขึ้นในปีนี้มี 5 ประเทศ คือ Malaysia, Thailand, Indonesia, Philippines และ Vietnamโดย Singapore ยังรักษาอันดับที่ 2 ไว้ได้เหมือนเดิม

อนึ่ง ในส่วนของดัชนีที่ผู้อยู่ในวงการศึกษาสนใจกันมากนั้น หากจะยกมาพิจารณาดูเฉพาะ Health and primary education เป็นตัวแทนของด้าน Basic Requirements อันดับ (รวมทั้งคะแนน) สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นดังนี้

3 Singapore (6.7) 33 Malaysia (6.3) 61 Vietnam (5.9) 66 Thailand (5.8) 74 Indonesia (5.7) 90 Lao PDR (5.4) 91 Cambodia (5.4) 92 Philippines (5.4) 117 Myanmar (4.6)

ในขณะที่อันดับ (รวมทั้งคะแนน) เฉพาะ Higher education and training เป็นตัวแทนของด้าน Efficiency enhancers เป็นดังนี้

2 Singapore (6.1) 46 Malaysia (4.8) 59 Thailand (4.6) 61 Indonesia (4.5) 64 Philippines (4.4) 96 Vietnam (3.7) 110 Lao PDR (3.3) 123 Cambodia (2.9) 135 Myanmar (2.4)

ทั้งนี้รายละเอียดของการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆทั่วโลกโดย WEF ปรากฏอยู่ในรายงาน The Global Competitiveness Report 2014-2015 (565 หน้า) ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถ download ได้ที่ web link ของ WEF ที่

http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2014-15.pdf

ผมขอส่งอีเมลเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัยตามที่อาจารย์จะเห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

มงคล รายะนาคร

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2014 เวลา 08:34 น.
 


หน้า 321 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8632334

facebook

Twitter


บทความเก่า