Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๗. World Class Researcher ไทย ทำประโยชน์แก่โลก

พิมพ์ PDF

​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๗. World Class Researcher ไทย ทำประโยชน์แก่โลก

บ่ายวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ผมไปรับใช้เพื่อน คือ ศ. ดร. วิชัย บุญแสง ในงาน “การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ” ครั้งที่ ๓ โดยทำหน้าที่ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย เรื่อง “World Class Research ของไทย กับการทำประโยชน์แก่สังคมโลก” โดยมีวิทยากรร่วมอภิปราย ๔ ท่านคือ นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร อดีตเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และผู้ก่อตั้ง IHPP, ศ. ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ๒๕๕๔ และเมธีวิจัยอาวุโส สกว., รศ. ดร. เจริญ นาคะสรรค์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ๒๕๕๓ และรางวัลวิจัยมูลนิธิโทเร ๒๕๕๓, และ นพ. ยศ. ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการ HITAP และเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

ผมได้เรียนรู้ว่านักวิจัยชั้นยอดของประเทศ (และของโลก) ๔ ท่านนี้ สร้างตัวเป็นนักวิจัยชั้นยอด มาอย่างไร โดยขอตั้งข้อสังเกตว่า ทั้ง ๔ ท่านไม่มีใครที่เห็นแก่ตัวจัด หรือหลงตัวจัด ไม่มีคนไหนเลย ที่เห็นแก่เงิน เป็นคนที่ทำงานวิจัย เพราะรักงานนี้ สนุกกับงานนี้

ทุกคนเลือกประเด็นวิจัย และตั้งคำถามวิจัยเก่ง โดยทุกคนคิดมาจากฝ่ายผู้ใช้ผลงานวิจัย คือตั้งโจทย์มาจากฝ่ายผู้ใช้ บางคน (คือ ศ. ดร. สุทธวัฒน์) อุตสาหกรรมอาหารมาถามโจทย์โดยตรง

ทุกคนมีเครือข่ายร่วมงานทั้งในประเทศและในต่างประเทศ โดยบางคนค่อยๆ สร้างตัวขึ้น จากการตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากโจทย์ภายในประเทศ เมื่อเริ่มมีผลงานก็เริ่มติดต่อนักวิจัยในเรื่องนั้น ที่ถือเป็น world authority หาทางร่วมมือ แล้วความร่วมมือก็แน่นแฟ้นและขยายตัวขึ้น พร้อมๆ กับที่ผลงานวิจัยของ นักวิจัยไทยก็ลงพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูงขึ้น และมีผลงานไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ชัดเจนขึ้น

บางคนไปเรียนปริญญาเอกกับคนมีชื่อเสียงในต่างประเทศ แล้วร่วมมือกันทำงานขยายขอบเขต และความลุ่มลึกของงานวิจัย ก่อ impact แก่โลก และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น รวมทั้งร่วมกันสร้างศาสตร์ เพื่อใช้งานวิจัยสร้างคุณประโยชน์แก่โลกเพิ่มขึ้น

ทั้ง ๔ ท่าน มี นศ. ป. เอก และโท เป็นกำลังสำคัญ และสร้างศักยภาพของงานวิจัยด้านนั้นๆ ผ่านการสร้างคน คือบัณฑิต ป. เอก โท และ postdoc คุณหมอวิโรจน์ ผู้อาวุโสที่สุดใน ๔ ท่าน ถึงกับกล่าวว่า เป้าหมายอันดับหนึ่งคือสร้างคน ถือว่าการสร้างนักวิจัยเป็น end ส่วนงานวิจัย/ผลงานวิจัย เป็น means

ทั้ง ๔ ท่าน มีฝ่ายผู้ใช้ผลงานวิจัยเป็นภาคีหลัก โดยที่ “ผู้ใช้” แตกต่างกัน สองท่าน (ดร. เจริญ และ ดร. สุทธวัฒน์) มีภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้ใช้ ส่วน นพ. วิโรจน์ และ นพ. ยศ มี policy maker เป็นผู้ใช้

นพ. วิโรจน์บอกว่า เมื่อมีผลงานวิจัยเชิงนโยบายแล้ว ต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนสู่ฝ่ายผู้กำหนด นโยบาย ท่านพูดถึง policy opportumist, policy entrepreneur คือเมื่อมีผลงานวิจัย ก็ต้องมีปฏิบัติการ เชิงรุกสู่การใช้งานเชิงนโยบาย แต่ นพ. ยศ ผู้เป็นศิษย์ อาวุโสห่างกัน ๒๐ ปี บอกว่าตนมีหน้าที่เสนอผลงานวิจัย ผู้กำหนดนโยบายจะเอาไปใช้หรือไม่ แล้วแต่วิจารณญาณ

สองท่านอยู่ในมหาวิทยาลัย ทำงานวิจัยในบริบทของมหาวิทยาลัย อีกสองท่านอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข ในสภาพบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการวิจัย แต่ด้วยความสามารถของแต่ละท่าน และการสนับสนุนจากผู้เห็นคุณค่าหลายคน ช่วยกันส่งเสริมให้ตั้งองค์กร เป็นมูลนิธิขึ้นมาทำงานวิจัย จนเวลานี้ IHPP มีสมาชิก ๘๐ คน HITAP มีสมาชิก ๕๐ คน เลี้ยงตัวโดยการทำงานวิจัย โดยทุนวิจัยมาจาก ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ด้วยชื่อเสียงและผลงาน ที่ยอมรับนับถือไปทั่วโลก นพ. วิโรจน์ ได้รับการทาบทามไปเป็น รองผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แต่หมอวิโรรจน์ตัดสินใจไม่ไป เพราะอยากทำประโยชน์ด้านการวิจัย และอยู่อย่างนี้ทำประโยชน์แก่ประเทศไทย และแก่โลก ได้มากกว่า

แม้ในประเทศไทยระบบสนับสนุนและเอื้อให้ทำวิจัยแบบจริงจัง ไม่แข็งแรง เราก็ยังมีนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่นได้ถึงขนาดนี้ หากระบบและบรรยากาศเอื้อ ก็เชื่อได้ว่า คนไทยจะมีความสามารถทำวิจัยได้ไม่ด้อยกว่าชาติใดในโลก

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 22:03 น.
 

​เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๘. CE กับ Community-based Research

พิมพ์ PDF

เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๘. CE กับ Community-based Research

การทำงาน “พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” (Community – University Engagement หรือเรียกย่อๆ ว่า Community Engagement - CE) ต้องใช้เครื่องมือหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ Community-Based Research

ในการประชุม session แรก ซึ่งแยกเป็น ๓ ห้องย่อยนั้น ผมไม่มีโอกาสฟังเรื่อง Community-Based Research จากผู้เชี่ยวชาญที่เขาเชิญมาจากสหรัฐอเมริกา คือ Prof. Kerry Strand จาก Hood University ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Community-based Research and Higher Education , 2003 แต่คิดว่าเรื่องนี้สำคัญ จึง กลับมาค้นคว้าต่อที่บ้าน และพบว่า สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้บางส่วน ที่นี่

ในหนังสือหน้า ๘ ระบุ Principles of CBR ว่ามี ๓ ประการ (๑) เป็นความร่วมมือ (collaboration) (๒) ใช้ความรู้จากหลายแหล่ง และ (๓) เป็น social action เพื่อ social goals สู่เป้าหมาย social justice

จากการค้นหาด้วย กูเกิ้ล ทำให้ผมพบหนังสือ Civic Engagement in Higher Education : Concepts and Practices, 2009 ซึ่งใหม่กว่าหนังสือของ Kerry Strand และทำให้ผมได้คำที่เกี่ยวกับ Engagement อีกคำหนึ่ง คือ Civic Engagement

ค้นไปเรื่อยๆ พบเอกสาร Core Competencies in Civic Engagement ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการทำงาน Community Engagement

จะเห็นว่า การไปร่วมประชุมวิชาการนั้น ประโยชน์ที่จะได้รับมีหลายทาง ทางหนึ่งคือเป็นการ เปิดประตูให้เราได้ค้นคว้าหาความรู้เรื่องใหม่ๆ อย่างที่ผมกำลังค้นคว้าเรื่อง CBR อยู่นี้

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 21:56 น.
 

​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๕. INNE Model

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๕. INNE Model

ผมเป็นคนมีบุญ ได้มีโอกาสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องราวดีๆ ในบ้านเมืองหลากหลายด้าน ได้เรียนรู้นวัตกรรมการทำงานที่หลากหลายมาก

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ผมเข้าประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP Fundation) และได้เรียนรู้ว่า HITAP ทำงานโดยใช้ INNE Model (ดูรูป) ซึ่งหมายถึง Individual, Node, Network และ Enabling Environment ทำให้มีพลังมาก ทั้งพลังของสมาชิกเป็นรายคน พลังของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือ Node พลังของการเชื่อมโยงกันเป็น Network และร่วมกันสร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการทำงาน วิจัยด้านประเมินเทคโนโลยี

เมื่อมีโมเดลการทำงานที่ถูกต้อง ก็เท่ากับมีสัมมาทิฐิ เรื่องยากก็กลายเป็นเรื่องง่าย การทำงานของ HITAP จึงอยู่ในสภาพที่ “Make the impossible possible”

ผมได้เรียนรู้ว่า รูปแบบการจัดการและวัฒนธรรมการทำงานในมหาวิทยาลัย ไม่ส่งเสริม NNE ส่งเสริมแค่ I คือการทำงานเฉพาะตัวบุคคล เพราะหลงยึด individualism ว่าจะทำให้ส่งเสริม creativity แต่จริงๆ แล้ว ทำให้ขาดพลังของ collectivity และขาดพลังของความแตกต่างหลากหลาย

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

ติดตามชมภาพประกอบกด link : http://www.gotoknow.org/posts/575559


แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 22:21 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๖. อย่ารับคนอมโรคไปแพร่เชื้อโรคความเลวร้ายในองค์กร

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๓๖. อย่ารับคนอมโรคไปแพร่เชื้อโรคความเลวร้ายในองค์กร

นี่เป็นเรื่องจริง แต่ผมขอไม่เอ่ยถึงบุคคลและองค์กร ขอเล่าสั้นๆ ว่าในทุกองค์กรจะมีคนที่มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำอยู่ด้วยเสมอ และในมหาวิทยาลัยจะไม่มีกลไกขจัดคนแบบนี้ออกไป หลายกรณีคนเหล่านี้ ไม่ค่อยทำงาน บางคนไม่สุจริต

คนเหล่านี้เป็นคนอมโรค คือโรคถ่วงความเจริญ หน่วยงาน/องค์กรใดหลงรับคนแบบนี้เข้าไปก็จะ เดือดร้อน โชคดี ที่หน่วยงานธุรกิจเอกชนจะมีกลไกสลัดคนแบบนี้ออกไปได้ แต่มหาวิทยาลัยไทยไม่มีกลไก รวมทั้งจะมีคนจำนวนหนึ่งที่คอยถือหางคนแบบนี้ ผู้บริหารคนใดเข้าไปจัดการ ก็อาจเจ็บตัว

ทางที่ดีที่สุด คืออย่าหลงรับคนแบบนี้เข้าทำงาน

คนแบบนี้คนหนึ่ง เกษียณอายุราชการจากที่หนึ่ง แล้วหน่วยงานไม่ต่ออายุ ไปสมัครในอีก หน่วยงานหนึ่ง ผมรู้ข่าว รีบไปบอกว่าอย่ารับ หากรับจะไปแพร่เชื้อโรคต่อต้านความเจริญ รวมพวกคน ไม่ทำงาน ขึ้นมาก่อกวนผู้บริหาร และถ่วงความเจริญของหน่วยงาน

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ก.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 22:24 น.
 

​คำชี้แจงของ สกอ. เรื่องการกล่าวหาหน่วยงานเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์

พิมพ์ PDF

คำชี้แจงของ สกอ. เรื่องการกล่าวหาหน่วยงานเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์


ผมเขียนบันทึกเรื่อง กลิ่นตุตุ ที่ สกอ. เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับปรุงการดำเนินการด้านวินัยข้าราชการ มหาวิทยาลัย ในส่วนที่เชื่อมโยงกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์


น่าชื่นชมที่ ทาง สกอ. ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยผมได้ไปให้ปากคำ และ สกอ. ได้มีหนังสือตอบผมมาแล้ว และ “ขอความอนุเคราะห์ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อผดุงไว้ซึ่งระบบ ความชื่อมั่น และภาพลักษณ์ขององค์กร”


ผมจึงนำจดหมายทั้งฉบับมาลง ที่นี่ ตามความประสงค์ของ สกอ.


โดยขอตั้งข้อสังเกตว่าผมไม่เชื่อว่าระบบงานนี้จะสมบูรณ์โดยไม่มีข้อควรปรับปรุง จึงน่าสงสาร ประเทศไทย ที่ สกอ. สนใจแต่ชื่อเสียงภาพลักษณ์ขององค์กร ไม่สนใจทำงานให้ดีขึ้น


วิจารณ์ พานิช

๓๑ ส.ค. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 03 กันยายน 2014 เวลา 22:28 น.
 


หน้า 326 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5610
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8633083

facebook

Twitter


บทความเก่า