Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ไปเยี่ยมชื่นชมมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่

พิมพ์ PDF

ตามที่เล่าแล้วในบันทึกของวันที่ ๑๙ ก.พ. ๕๗    ว่าในวันที่ ๒๓ - ๒๔ ม.ค. ๕๗ ผมไปร่วมการประชุม วิชาการ “พะเยาวิจัย” ครั้งที่ ๓   ของมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.)     โดยที่การประชุมนี้ เน้นที่การวิจัยเพื่อการพัฒนา พื้นที่    โดยท่านอธิการบดีมีนโยบาย “๑ คณะ  ๑ อำเภอ” (เพื่อนำปัญญาสู่ชุมชน - ปัญญาเพื่อความเข้มแข็ง ของชุมชน) ให้ดำเนินการ    โดยมีทุนสนับสนุน และในงานนี้มีการประกวดผลงานและมอบรางวัลด้วย

สกว. มีโครงการ ABC (Area-Based Collaborative Research) สนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่    ได้โอกาสไป สนับสนุน มพ. เชิงสถาบัน    ให้เกิดการวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่    ในลักษณะของการร่วมลงทุน    โดย มพ. ตั้งสำนักงานจัดการงานวิจัยนี้ เรียกชื่อว่า ABCreative Center  มี ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา เป็นผู้จัดการ สำนักงาน    โปรด สังเกตนะครับ ว่า มพ. มีทั้งนโยบาย  การลงทุน  และระบบการบริหารงาน     เพื่อให้เกิด การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่    และดำเนินการต่อเนื่อง

ดร. สีลาภรณ์บอกว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดคือคน    งานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ มีท่านอธิการบดี (ศ. พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี เป็นหัวขบวน สนับสนุนทั้งการให้นโยบาย งบประมาณ และไปติดตามงานด้วยตนเอง    ผมได้นัดวันกับท่านแล้ว ว่าในวันติดตามงานในพื้นที่ ๒ วัน ของปี ๒๕๕๗ ผมจะขอติดตามไปเยี่ยมชื่นชมด้วย     คือวันที่ ๓ - ๔ พ.ย. ๕๗

คนสำคัญคนที่ ๒ คือ ผศ. ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคุณภาพ    ที่รับนโยบาย ของท่านอธิการบดีมาดำเนินการอย่างเข้มแข็งจริงจัง    มี KM เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง    และส่งไม้ต่อมาที่ ผู้บริหารระดับระดับหน่วยจัดการสนับสนุน คือ ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา

นี่คือสถาบันอุดมศึกษารับใช้สังคม    สนับสนุนการทำงานวิชาการรับใช้สังคม

เช้ามืดวันที่ ๒๓ ม.ค. ระหว่างนั่งรถจากเชียงใหม่ไปพะเยา    ดร. กิตติเล่าให้ผมฟังว่า ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา    สกว. ตกลงความร่วมมือกับ มพ. ลงเงินฝ่ายละ ๑ ล้านบาท เพื่อจัดการงานวิจัย ABC ในจังหวัดพะเยา    มีผลให้เกิดโครงการวิจัย ๓๕ โครงการ  ได้รับเงินสนับสนุน ๑๔ ล้านบาท จากแหล่งต่างๆ    มีอาจารย์เข้าร่วม ๑๖๐ คน (กว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนอาจารย์ที่กำลังทำงานอยู่)     ซึ่งหมายความว่าอาจารย์เหล่านี้ได้พัฒนาขีดความ สามารถด้านการวิจัยไปในตัว

แต่นั่นเป็นเพียงส่วนเดียวของเงินวิจัยที่ มพ. ได้รับ    ก้อนใหญ่กว่ามากคือจากงบประมาณแผ่นดิน ปีละ ๓๕ ล้านบาท

ผมอ่านเอกสารประกอบการประชุม “พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๓ มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม” แล้ว    เห็นความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการงานวิจัยของ มพ.     โดยได้จำแนกงานวิจัย ๒๒๖ โครงการ (จากหลากหลายแหล่งทุน) ออกเป็น ๖ ประเด็น    อ่านแล้วผมเกิดความรู้สึก ๒ อย่าง   (๑)​ สมัยนี้มีทุนวิจัย มากกว่าสมัยผมยังทำหน้าที่อาจารย์ อย่างมากมาย    (๒) เวลามหาวิทยาลัยเสนอเรื่องการวิจัย ยังคงเสนอแบบเดียวกันกับเมื่อ ๔๐ ปีก่อน   ตอนที่ผมไปอยู่ที่ มอ. ใหม่ๆ    คือพูดถึงทุน ถึงชื่อโครงการ    ไม่ค่อยเอ่ยถึงผลงาน หรือ impact ที่เกิดขึ้น

ผมคิดว่า วัฒนธรรมอย่างหนึ่งขององค์กร ที่จะต้องสร้างขึ้น ไม่ว่าองค์กรเพื่อทำอะไร    คือต้องเน้นคุยกันเรื่องผลงาน และผลกระทบที่เกิดจากผลงานนั้น    ซึ่งหากต้องการเน้นผลงานวิจัยเพื่อชุมชน ก็ต้องหาวิธีวัดที่ชุมชน ทั้งเชิงปริมาณ (รูปธรรม) และคุณภาพ (นามธรรม)

ตอนบ่ายวันที่ ๒๓ ม.ค. ผมถูกกำหนดให้เข้าฟังการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย “พัฒนาคณะเพื่อพัฒนาพื้นที่”    และทำหน้าที่ให้ข้อสังเกตเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้    มีโครงการนำเสนอ ๓ โครงการ คือ

๑. วิทยาศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในตำบลจุน จ. พะเยา โดย ดร. สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์    ผลงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้

๒. การพัฒนารูปแบบการจัดการงานวิจัยรับใช้สังคม โดยเรียนรู้ผ่านศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการใช้ วัสดุเศษเหลือทางการเกษตร ในชุมชนบ้านโซ้ โดย ดร. ศุภลักษณ์​สุมิตสวรรค์  รองคณบดี ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  วิทยาลัยพลังงานและ สิ่งแวดล้อม

๓. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนด้านการป้องกันโรคเบาหวานด้วยวิถีล้านนา  ต. แม่ใส  อ. เมือง โดย ผศ. ดร. ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร  คณะพยาบาลศาสตร์

 

ผมฟังทั้ง ๓ เรื่องแล้ว นึกถึงการไปลงพื้นที่ จ. สตูล ที่เล่าไว้ใน บล็อกนี้เมื่อวันที่ ๗ ก.พ. ๕๗    ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเป้าเดียวกัน คือการออกไปส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมตัวกันใช้ข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาในชีวิต หรือการทำมาหากินของตน

และยังรู้สึกว่า อาจารย์ยังถนัดการออกไป “ช่วยชาวบ้าน” หรือไป “ถ่ายทอดความรู้”    ไม่ใช่ออกไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน    อย่างที่ผมเสนอในปาฐกถาพิเศษในงานตอนเช้า    ซึ่งได้ลง บล็อก แล้วเมื่อวันที่ ๑๙ ก.พ. ๕๗

ผมเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นอีกหลายท่าน    ว่าโครงการที่ได้ออกไปทำในพื้นที่ เหล่านี้ เป็นการเริ่มต้นที่ดี    โดยที่ในขั้นแรกนี้ กิจกรรมยังมีลักษณะเป็นงานพัฒนา     ขั้นตอนต่อไปคือ การฝึกตั้งโจทย์วิจัย    และดำเนินการตอบโจทย์นั้น ควบคู่หรือบูรณาการไปกับงานพัฒนา     ก็จะได้ผลงานวิจัย สายรับใช้สังคม

 

ผมได้เสนอแนะ ๒ ข้อ

๑. เสนอให้มีหน่วยงานทำหน้าที่ออกไปทำเวทีประชาคมกับชาวบ้าน    มีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะ ในการทำเวทีประชาตม และติดต่อสื่อสารกับชาวบ้าน    ภายใต้ความสัมพันธ์แนวราบ    พื่อรับเอาปัญหา และโอกาสพัฒนาของพื้นที่    สำหรับนำมาปรึกษาหารือกันภายใน มหาวิทยาลัย    เพื่อกำหนดโครงการที่จะไปทำร่วมกับชุมชนหรือพื้นที่    โดยที่เจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานนี้ จะช่วยทำงานลดภาระหลายอย่างของอาจารย์ ในการทำงานพัฒนาพื้นที่

๒ เสนอให้ทำ Mapping ข้อมูลของพื้นที่ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการทำงานพัฒนาพื้นที่ ของมหาวิทยาลัย    อย่างที่ สกว. เคยสนับสนุนให้ มรภ. จำนวนเกือบ ๒๐ แห่ง ทำ เมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว   และ มรภ. อุตรดิตถ์ ทำได้ดีที่สุด    เป็นพื้นฐานให้ มรภ. อุตรดิตถ์ มีความเข้มแข็งในการทำงานพัฒนาพื้นที่มาจนปัจจุบัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:14 น.
 

แรงบันดาลใจ

พิมพ์ PDF

 

ผมได้อ่านบทความของ ดร.จันทวรรณ ใน gotoknow ที่บ่นว่าระบบการศึกษาไทยทำให้ผ ู้เรียนขาดการใฝ่รู้ ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความคิดเห็นดังนี้

ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของแรงบันดาลใจ ปัจจุบันนี้แตกต่างจากสมัยก่อน ความรู้สามารถค้นหาได้จากหลายแหล่ง หลายช่องทาง ดังนั้นถ้าอาจารย์คิดว่าจะป้อนความรู้ให้นักศึกษาตามที่อาจารย์อยากจะป้อน และอยากให้นักศึกษาทำการบ้านตามที่อาจารย์อยากให้เป็น ผลจึงออกมาตามที่อาจารย์บ่นมา นักศึกษาแต่ละคนจะมีแรงบันดาลใจไม่เหมือนกัน อาจารย์สมัยนี้จึงต้องเปลี่ยนวิธีสอน ต้องหันมาศึกษานักศึกษาแต่ละคนว่าแรงบันดาลใจของเขาอยู่ที่ไหน และปรับการสอนให้เขาเกิดแรงบันดาลใจ หลังจากนักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ เขาจะวิ่งเข้าไปค้นคว้าหาความรู้ที่สามารถหาได้จากหลายช่องทาง คนไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่จะป้อนอะไรลงไปก็รับไว้หมด แต่คนจะเลือกรับเฉพาะสิ่งที่เขาเกิดแรงบันดาลใจในสิ่งที่ป้อนเข้าไปให้เขาหลังจากนั้นจึงจะเกิดการใฝ่รู้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 มีนาคม 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 12:34 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๓. ร่างที่ไร้วิญญาณ

พิมพ์ PDF

ในวงเฮฮาของกรรมการชุดหนึ่ง     ผมได้เรียนรู้ ว่า ในการทำงานบางอย่างให้ได้ผลดี    ผู้นั้นต้องสามารถเป็น “ร่างที่ไร้วิญญาณ”    ไม่รู้สึกรู้สากับความถูกต้องชั่วดี    ขออย่างเดียวให้ตนได้ประโยชน์ เป็นใช้ได้

มีผู้บริหารระดับสูง (ซี ๑๑) เล่าว่า ในการบริหารราชการนั้น เมื่อได้งบประมาณ    ก็จะมี “เอเย่นต์” มาติดต่อรับดำเนินการ    เอเย่นต์นี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นพรรคไหน ก็เป็นเอเย่นต์คนเดิมหรือกลุ่มเดิม    คล้ายๆ เป็นอาชีพหรือผู้ชำนาญการ ในการใช้งบประมาณ และหักเงินทอน    หรือในสมัยก่อนเรียกว่า ค่าหัวคิว

การตั้งงบประมาณหลายส่วน กำหนดแผนไว้แล้วล่วงหน้า ว่าจะมีเอเย่นต์ไปดำเนินการอย่างไร    มีส่วนเงินทอนมากน้อยแค่ไหน

ผู้ใหญ่ท่านนั้นเล่าว่า เอเย่นต์ บอกว่า ไม่ว่าพรรคไหน ก็ใช้บริการของเขาทั้งนั้น    เขาไม่มีพรรค ไม่ฝักใฝ่การเมือง    ผมแถมว่า เขาประกอบอาชีพสูบเงินภาษีของเรา ไปเข้ากระเป๋านักการเมือง

เขาเป็น แดร็กคิวล่าร์ แห่งศตวรรษที่ ๒๑   ไม่ดูดเลือด แต่ดูดเงิน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ม.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:01 น.
 

กองข้าวพังครืน

พิมพ์ PDF

กองข้าวพังครืน

หิวจัดมาจากไหน

กินมากไปไม่ระวัง

กองข้าวถึงคราวพัง

ส่งเสียงดังอยู่ครางครืน

รวมข้าวจากชาวนา

เห็นแววตาเขาเต็มตื้น

ความหวังว่ายั่งยืน

ผ่านค่ำคืนจะฟื้นตน

กอดใบประทวนแน่น

ต้องคับแค้นแผนไร้ผล

หลายเดือนเหมือนบัดดล

ลำบากลำบนทนดูใบ

คับแค้นแสนคับขัน

คงถึงขั้นคั้นคอใคร

คงคาบไม่ยอมคาย

มีคราบไคลใครค้างคา

เครียดขึงจนถึงคลั่ง

คล้ายคราวครั้งถูกเข่นฆ่า

เฉือนเนื้อเอาเกลือทา

ยังดีกว่ามาหลอกกัน

กองข้าวคราวถล่ม

ค่อยค่อยล้มเลียงเลื่อนลั่น

ทับใครอยู่ในนั้น

ดูเถิดท่านผู้สร้างกรรม

 

กองข้าวทับใคร?

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:18 น.
 

การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21

พิมพ์ PDF

สรุปผลการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ

เรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21

วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง

…………………………………………………………………….

 

บทนำ

ปัจจุบันการจัดการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เนื่องจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การจัดการศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนตามกระแสสังคมที่จะมุ่งกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มีความคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างพยาบาลมออาชีพตามความคาดหวังของสังคมในอนาคต

 

การศึกษาคืออะไร (พูลสุข หิคานนท์ 2557)

การศึกษาคือ

-          กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ

-          การสร้างความรู้ ทักษะ ทัศนคติ พฤติกรรมที่ดีต่อผู้เรียน

-          การสร้างคุณค่าให้กับบุคคล

-          การยกระดับสติปัญญาความคิด

-          ความใฝ่เรียน พัฒนาตนเอง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์

-          ความศรัทธาในความรู้

ซึ่งการจัดกรศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับปรัชญา สาขาประสบการณ์นิยม (Pracmatism)

แนวคิดเกี่ยวกับ Self Directed Learning

โนว์(Knowes, 1975) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาด้วยตนเอง ดังนี้

-          ผู้ริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ผู้ที่รอรับความรู้จากผูอื่น เรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมาย มีแรงจูงใจและยังใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้สูงกว่าการได้รับความรู้จากผู้อื่น

-          การเรียนผู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ ที่เมื่อเป็นผู้ใหญ่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

-          นวัตกรรมใหม่ รูปแบบกิจกรรมใหม่ๆการเรียนแบบอิสระ จะเป็นรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเองมากขึ้น

-          การเรียนรู้เพื่อตนเองเป็นลักษณะของการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด ของมนุษย์ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และทวีมากขึ้นตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของมนุษย์

แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนจากประสบการณ์และความสนใจเพื่อจะตอบสนองความต้องการของตนเอง และรู้ว่าสนใจในสิ่งใด ประสบการณ์คือแหล่งเรียนรู้อันมีค่าของการศึกษาผู้ใหญ่ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์ หรือใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาให้เกิดประโยชน์ ครุจึงเป็นผู้สนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ความเชื่อแนวทางจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ดังนี้

  1. ความต้องการ (Need to Know) ผู้ใหญ่มีความต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่จะนำความรู้มาทำอะไรต่อไป
  2. ผู้เรียนมีหลักการของตนเอง ผู้ใหญ่ต้องการกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
  3. ประสบการณ์ ควรจัดให้มีการเสนอประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย การแก้ปัญหา กรณีศึกษาให้กลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  4. ความพร้อมที่จะเรียน โดยการแนะแนว การให้คำปรึกษา การกระตุ้นให้เห็นความก้าวหน้าในงานและชีวิต เป็นต้น
  5. การจัดการเรียน เน้นแนวทางพัฒนางานเพื่อแก้ปัญหาจากการทำงาน
  6. แรงจูงใจ จากการได้งานที่ดีกว่าเงินเดือนสูงกว่า

การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ(ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557)

จากการที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ปี ค.ศ.2010-2013 มีการจัดการศึกษา Transformative Education ต้องให้นักศึกษามีความสามารถในศตวรรษที่ 21แนวคิดและการจัดการเรียนการสอนจึงปรับเปลี่ยน เป็นการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แนวคิดและการประเมินผล เน้น Outcome- Base ,Competency –Baseevaluation

Transformative Education เป็นทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการของการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องราวต่างๆ โดยแบ่งการปรับเปลี่ยนออกเป็น 3 ด้าน หรือ มิติ ดังนี้

ด้านจิตวิทยา การปรับเปลี่ยนความเข้าใจในตน

ด้านความเชื่อ การปรับเปลี่ยนระบบสร้างความเชื่อ

ด้านพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงในวิถีการใช้ชีวิต

Transformative Education จะพัฒนาให้บุคคลนั้นๆสามารถสร้างสรรค์ความคิดต่างๆได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ถูกชี้นำ ความเชื่อ ความรู้สึก หรือการตัดสินใจของผู้อื่นเป็นหลัก แต่ยังเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่นประกอบการพิจารณา โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์

กระบวนการหลัก Transformative Education

  1. สังเกตเหตุการณ์ที่พบเห็นที่มีความแตกต่างกันและพิจารณาหาข้อสรุป
  2. พิจารณาเชิงวิพากษ์ของเหตุและผลของข้อสรุปที่แตกต่างกันนั้น หมั่นตั้งคำถามเพราะอะไร เกิดอะไร เชื่อมโยงอย่างไร โดยพิจารณาจากเหตุที่ตนเองคิด และพิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมุมมองหลากหลาย
  3. หาข้อสรุปจากเหตุผลต่างๆแล้วนำมาปรับแนวคิดข้อสรุปเดิมของตนซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม
  4. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กระบวนการคุย ซักถาม ชวนหาคำตอบ โดยการเปลี่ยนมุมมองเป็นมุมมองของผู้รับบริการ แล้วราจะทำงานกับเขาอย่างไร
  5. กระบวนการตอบคำถามใช้ Reflection ทั้ง Self Reflection และGroup Reflection
  6. นอกจากนี้ยังอาจใช้ Interactive IT มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูล

แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอน

แนวคิดการสอนในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้

  1. Authentic Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นสถานการณ์จริง ทั้งในห้องเรียนและเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ
  2. Internal Motivation ความสนุกสนานจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เพราะเกิดจากแรงจูงใจภายใน
  3. Mental Model Building เป็นวิธีทำให้เกิดการเรียนรู้จากการประสมประสานความคิด ความจริง ความสัมพันธ์ของสิ่งหรือเรื่องราวต่างๆข้อสรุปแม้กระทั่งความเข้าใจผิดที่เคยเกิดขึ้นจากสิ่งนั้นๆ

หลักการสอนให้น้อยลง แต่เรียนรู้มากขึ้น “Teach Less Learn More”

  1. Multiple Intelligence นักศึกษาแต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นสาระหนึ่งๆควรจัดให้มีการเรียนรู้มากกว่า 1 วิธีหรือรูปแบบ
  2. Social Learning การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย และการกระตุ้นให้มีการทำการสะเท้อนความคิดเห็น(Reflection)และร่วมกันวิพากษ์ วิจารณ์กรณีต่างๆที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
  3. Technology – assisted Learning การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการเรียนรู้
  4. Learning by Doing การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการของสาระต่างๆดีขึ้น

หลักการประเมิน ประเมินตามผลลัพธ์ที่เป็นลักษณะที่พึงประสงค์

  1. Competency –Base

-  OSCE

- Standardized Patients

Simulation Lab.

2.  Emphasis on Formative Evaluation

3.  Portfolio

ห้องเรียนกลับทาง (เดชรัต สุขกำเนิด 2557)

องค์ประกอบการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย

 

ในการถกแต่ละครั้ง ต้องครอบคลุมองค์ประกอบทั้งสามด้าน จะเริ่มจากด้านไหนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้แต่ละครั้ง หากเริ่มจากประสบการณ์โดยตรงของนักศึกษา นักศึกษาจะมีส่วนร่วมมากขึ้น ชีวิตผู้คนที่ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ความเหนื่อยยาก หรือจุดพลิกผันในชีวิตของผู้คน ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ โดยเฉพาะเครื่องมือ เช่น เกมจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดความสามารถในการเรียนรู้ และตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง การโน้มน้าว การจูงใจแล้วนำประสบการณ์ของการเล่นเกมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์จริง แล้วจึงเชื่อมโยงสู่หลักการ

เมื่อถึงท้ายชั่วโมง การสรุปเป้าหมายการเรียนรูแต่ละครั้งเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สอนจะต้องสรุป และทวนย้ำถึงเป้าหมายของการกลับทางการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการสรุป เพื่อให้ผู้เรียนมั่นใจว่า สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ผู้สอนต้องชี้ให้เห็นถึงโอกาสของการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ

เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ (จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557)

พยาบาลมืออาชีพ

คำถามเราต้องการอะไรจากจัดการศึกษา

ครูมืออาชีพ

ผู้เรียน ศต. 21

 

ติดตามของท่าน ดร จันทวรรณ จาก GotoKnow

บทสรุป

ดังนั้นในฐานะผู้จัดการเรียนการสอนพยาบาลต้องมีการปรับตัว พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยความเป็นอาจารย์พยาบาลมืออาชีพในอนาคต

 

เอกสารอ้างอิง

จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557 เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

เดชรัต สุขกำเนิด 2557 เมื่อห้องเรียนกลับทางการเรียนรู้ของผมไม่อึดอัดต่อไป เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

พูลสุข หิงคานนท์ 2557 Innovation for Transformative Learning in Educatio เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557 การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:23 น.
 


หน้า 376 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629586

facebook

Twitter


บทความเก่า