Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

คำนิยม หนังสือ “พุทธวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต ภาคต้น ชีวิต พระพุทธศาสนา และ วิทยาศาสตร์”

พิมพ์ PDF
หลักการพัฒนาชีวิตมนุษย์ หรือหลักการศึกษา ระบุไว้ชัดเจนมานานแล้ว ว่าต้องเน้นพัฒนาให้เป็นคนเต็มคน มีพัฒนาการทั้งด้านนอกและด้านใน คือไม่เฉพาะมีความรู้ความเข้าใจ ธรรมชาติและโลกภายนอกตัวเท่านั้น ยังต้องเข้าใจชีวิตจิตใจภายในตนเองด้วย

คำนิยม หนังสือ “พุทธวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต ภาคต้น ชีวิต พระพุทธศาสนา และ วิทยาศาสตร์”

 

 

คำนิยม

 

หนังสือ พุทธวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต ภาคต้น  ชีวิต พระพุทธศาสนา และ วิทยาศาสตร์

 

วิจารณ์ พานิช

 

………………

 

ชื่อ พุทธวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต ของหนังสือชุดนี้ (ซึ่งมี ๓ เล่ม) บอกชัดเจนว่า เป็นหนังสือตีความชีวิต ของมนุษย์ ด้วยหลักการของพุทธศาสนา และด้วยวิทยาศาสตร์   หรือเป็นหนังสือที่เชื่อมโยงพุทธศาสนา วิทยาศาตร์ และชีวิต เข้าด้วยกัน   เขียนโดยวิศวกรที่มีใจฝักใฝ่ในพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน   และเป็นผู้ค้นคว้ามาก ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และในด้านพุทธศาสนา

ผมเข้าใจว่า หนังสือชุดนี้เป็นการริเริ่มครั้งแรกในประเทศไทย    ในเล่มแรก ชีวิต พระพุทธศาสนา และ วิทยาศาสตร์ เป็นการรวบรวม ตีความ และเขียนเผยแพร่ ความเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนา วิทยาศาสตร์ และชีวิต อย่างรอบด้านครบถ้วน   โดย จะถือว่าเป็น หนังสือวิทยาศาสตร์ก็ได้ เพราะค่อนเล่มเป็นข้อความรวบรวมและตีความความรู้ความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์     จะถือเป็นหนังสือพุทธศาสนาก็ได้ เพราะมีการอ้างอิงตีความหัวใจของพุทธศาสนา จากมุมมองของปราชญ์ หลากหลายสาขา รวมทั้งปราชญ์ในพระพุทธศาสนายุคปัจจุบันของไทย   แต่ผมมองว่า หัวใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การทำความเข้าใจชีวิตของมนุษย์   ทำความเข้าใจจากมุมมองของพระพุทธศาสนา และจากมุมมองของวิทยาศาสตร์ ประกอบกัน หรือมองอย่างบูรณาการ

หนังสือเล่มนี้ ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าเพียงไร ก็ยิ่งใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายหลักการของพุทธศาสนาอย่างเป็นรูปธรรมได้มากขึ้นเพียงนั้น   และยิ่งยืนยันหลักการของพุทธศาสนา ว่าเป็นแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง และเป็นไปตามหลักธรรมชาติ   ดังข้อสรุปในหน้า ๒๔๘ ของหนังสือว่า “ความสำคัญในการเรียนรู้ตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ การเรียนรู้ความจริงของธรรมชาติและชีวิต”   ซึ่งควรเป็นไปตามข้อความในหน้าสุดท้ายของหนังสือ ที่กล่าวว่า “แม้ธรรมชาติจะมีการกำหนดรูปแบบของชีวิต ไว้พอสมควร    แต่ชีวิตปัจจุบันและอนาคตจะเป็นอย่างไร    ก็อยู่ที่ตัวเราเองเป็นผู้ตัดสินใจ    ดังนั้น  การกระทำในปัจจุบัน จึงมีความสำคัญ    ซึ่งเราควรมีสติรู้ตัวในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา”

หากได้รวบรวมและสรุปองค์ความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว   จะเข้าใจเรื่องกลไกการรับรู้และเรียนรู้ ที่เป็นปรากฏการณ์ในสมอง    ที่ทำให้การปฏิบัติฝึกฝนนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทในสมอง   เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ของมิติด้านการพัฒนาโลก ภายนอก กับมิติด้านการพัฒนาธรรมภายใน ตามรูปที่ ๗ หน้า ๒๓๐     “พุทธวิทยาศาสตร์แห่งชีวิต” ก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น   และเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อความในหน้า ๑๘๔ ว่า “จิตเป็นเพียงสังขตธรรม หรือเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นเพียงปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากการถูกปรุงแต่ง ขึ้นมาตามเหตุปัจจัย”  และ “โลกที่เรารับรู้ว่าจริงนั้น แท้จริงเป็นเพียงมายาของข้อมูลที่ถูกรับรู้   และถูกสมมติสร้างเป็นการรับรู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้” (หน้า ๑๖๑)    องค์ความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์นี้ ส่วนหนึ่งจะอยู่ในหนังสือเล่มที่สองของชุด ธรรมชาติของร่างกาย และ จิต

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมสรุปกับตนเองว่า    โลกเรา หรืออย่างน้อยสังคมไทย ในปัจจุบัน ดำเนินการเชื่อมโยงระหว่างศาสนา กับชีวิตผู้คน ไปในทางที่ผิด    โดยเราแยกการพัฒนาด้านจิตใจ หรือด้านศาสนา   ออกจากการพัฒนาความรู้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ และการดำรงชีวิตที่ดี   การพัฒนาคนแบบแยกส่วน ระหว่างพัฒนาการในทางธรรม (ศาสนา) หรือพัฒนาการด้านใน   กับการพัฒนาความรู้และทักษะในทางโลก หรือพัฒนาการด้านนอก   เป็นความผิดพลาดที่สำคัญยิ่งของการศึกษาไทย   และการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก   เป็นความผิดพลาดที่นำพาอารยธรรมมนุษย์ไปในทางมิจฉาทิฏฐิแห่งความโลภ ความเห็นแก่ตัวจัด  และความรุนแรง   อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่จริง หลักการพัฒนาชีวิตมนุษย์ หรือหลักการศึกษา ระบุไว้ชัดเจนมานานแล้ว    ว่าต้องเน้นพัฒนาให้เป็นคนเต็มคน    มีพัฒนาการทั้งด้านนอกและด้านใน    คือไม่เฉพาะมีความรู้ความเข้าใจ ธรรมชาติและโลกภายนอกตัวเท่านั้น    ยังต้องเข้าใจชีวิตจิตใจภายในตนเองด้วย    นักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยที่ศึกษา (เน้นที่การฝึกปฏิบัติ) และเผยแพร่แนวคิดนี้อย่างกว้างขวางท่านหนึ่งคือ ศาสตราจารย์ อาเธอร์ ซาย้องค์ (Arthur Zajonc) นักฟิสิกส์ที่ฝักใฝ่การพัฒนาจิต   และเวลานี้เป็น president ของ Mind and Life Institute

แต่ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ได้แยกเอาการเรียนรู้เพื่อฝึกฝนจิตใจในทางธรรมออกไป   เหลือเฉพาะการเรียนวิชาทางโลกอยู่ในหลักสูตร   มีผลทำให้คนไทยมีความอ่อนแอทางจิตใจ กระแสวัตถุนิยมเข้าครอบงำโดยง่าย    ท่านพุทธทาสจึงเรียกการศึกษาไทยในปัจจุบัน ว่า “การศึกษาหมาหางด้วน”

ผมขอแสดงความชื่นชม ต่อผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ ดร. รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ (ผู้ที่ผมยังไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว) ที่มีฉันทะและวิริยะในการค้นคว้าและเขียนหนังสือชุดนี้ออกเผยแพร่แก่สังคมไทย   และขอขอบคุณมูลนิธิพัฒนาการเรียนรู้เด็กไทย และบริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด ที่จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือชุดที่มีคุณค่ายิ่งนี้    ขอให้ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ได้มีความสุขจากกุศลกรรมอันยิ่งใหญ่นี้เทอญ

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:17 น.
 

Education 3.0

พิมพ์ PDF
การศึกษาในยุคใด ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในยุคนั้น

Education 3.0

 

by James G. Lengel, Hunter College School of Education, City University of New York

 

To understand education today, we must look back in history. 150 years ago, people worked on the land, outdoors, withhand tools, in small groups. They did not travel far. The work did not change much from generation to generation. Daughters did the same work as their mothers, and their grandmothers, and their mothers before them. With the same tools. They talked as they worked. Same for the sons and fathers and grandfathers. Work groups included both old and young. The technology of work changed slowly. When the tools  broke, the people could fix them. We can call thisWorkplace 1.0.

 

Now let us look at the schools of those days. The students learned on the land outdoors, in small groups. They did not travel far. They used simple hand tools. Work groups included both old and young. Fathers and grandfathers went to the same school, and learned the same things. We can call this Education 1.0.

 

Education and the workplace matched exactly. The school produced the kinds of citizens needed by the world around it. Someone who could work well in a small group, with hand tools, performing a variety of tasks each day, with a clear view of the world outside, with a small circle of connections.

 

Fifty years later, the workplace changed. People went to work in factories, with mechanical tools. They worked in large groups. But they worked alone at their machine. Everybody did the same thing at the same time, all day long. They were not allowed to talk. They used paper and pencil and sat at desks. They were not very happy. And they were closely supervised. Let us call this Workplace 2.0 This new workplace required a new set of skills, and a new kind of citizen.

 

And so the schools changed to match the needs of the new, industrial economy. Students were formed into large groups, all of the same age. They were closed inside, and worked according to the clock. They used mechanical tools, pencil and paper. They all did the same thing at the same time. They were closely supervised. Let us call this Education 2.0.

 

Again, education matched the workplace. In both places, people worked alone, but in large groups. They used mechanical tools, they did the same thing all day, and had little connection with the world outside.

 

Now let us look at the workplace of today, workplace 3 dot zero, very different from the factory. Most people today work in small groups. They solve problems together. They use digital tools. They present new ideas to each other. Robots do the mechanical work. People with clean hands re-program the robots when things go wrong. They work on problems that no one has ever seen before. They must bring to bear chemistry, mathematics, biology, history and literature to solve the problem. They must gather information from many sources, most of it on the network, arriving in many different formats. They must be multi-taskers. They talk with each other. They use digital tools for communication. They work with a wide circle of people, all over the world. Let us call this Workplace 3.0.

 

Now, let us take our camera into the schools of today to see if education has changed to meet the new economy. What do we see? Students in large groups, using paper and pencil tools. They all do the same thing at the same time. They enjoy few connections with the world outside. They are closely supervised. They do the same thing all day long. They do not talk with each other. They are not happy. What is wrong?

 

Education has not changed to meet the needs of the world around it. Today's workplace demands people who can work in small groups to solve problems, using digital tools, prepared to perform many different tasks during the day, without close supervision, and with a large circle of connections. The schools are not doing this. They have not invented Education 3.0. They are still doing Education 2.0.

 

The question for us today is, "What should Education 3.0 look like?" in order to produce the kinds of citizens we need for today and tomorrow? What is your dream of Education three dot zero?

 

นอกจากบทความข้างบน ยังมีบความเกี่ยวกับหลักการ ๖ ข้อ ของ Education 3.0 เขียนโดย James Lengel เช่นเดียวกัน   อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

561103, education 3.0, James Lengel, การศึกษายุคใหม่, การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:28 น.
 

ปฏิรูปการศึกษา สู่การฝึกพลังจินตนาการของมนุษย์

พิมพ์ PDF
ผมปิ๊งแว้บว่า มิติสำคัญอย่างยิ่ง ของการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือการฝึกพลังจินตนาการ ที่มีมากับความเป็นมนุษย์ แต่การศึกษาแบบที่ยึดถือกันในปัจจุบัน กลับทำลายหรือลดคุณค่าของมันเสีย

ระหว่างนั่งฟังการประชุมโต๊ะกลมกับ Vice President of Education, John Couch จัดโดยบริษัท แอปเปิ้ล วันที่ ๓ ต.ค. ๕๖    ผมปิ๊งแว้บว่า มิติสำคัญอย่างยิ่ง ของการศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑   คือการฝึกพลังจินตนาการ ที่มีมากับความเป็นมนุษย์    แต่การศึกษาแบบที่ยึดถือกันในปัจจุบัน กลับทำลายหรือลดคุณค่าของมันเสีย

ย้ำว่า มนุษย์เรามีความสามารถด้านจินตนาการติดตัวมาทุกคน    และหากได้รับการฝึกฝนจากการศึกษา  จากการเลี้ยงดูของพ่อแม่  และจากการฝึกด้วยตัวเอง    พลังนี้จะงอกงาม สร้างคุณค่าต่อชีวิตอย่างล้นเหลือ

ย้ำอีกที ว่าแม้ผู้สูงอายุ หรือคนแก่อย่างผม ก็ยังต้องฝึกฝนตนเองด้านจินตนาการ   เพราะมันให้พลังชีวิต   ส่งพลังไปยังการทำหน้าที่ต่างๆ ทุกด้าน   เป็นทุนในการดำรงชีวิตที่ดี หรือในการประกอบสัมมาชีพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดซื้อหามา

ทำให้ผมกลับมาไตร่ตรองต่อที่บ้านว่า    ที่จริงของฟรีมีอยู่มากมายในชีวิต    หากเรารู้จักฝึกฝนตนเอง ให้มีพลังที่จะเข้าถึงสิ่งเหล่านั้น   การฝึกฝนตนเองเหล่านั้นแหละที่เรียกว่า “การศึกษาที่แท้”    ผมฝันอยากเห็น ครูเพื่อศิษย์ของไทยจัดการศึกษาที่แท้ ให้แก่ศิษย์    ที่จะมีทุนชีวิต

ของแปลกคือ ทุนอย่างอื่นใช้แล้วหมด    แต่ทุนชีวิตยิ่งใช้ยิ่งงอก (และประสบการณ์ของผมบอกว่า ยิ่งใช้-เรียนรู้ แล้วแบ่งปัน จะยิ่งงอกมากขึ้นไปอีก)

การฝึกพลังจินตนาการ ต้องไม่ใช่ฝึกฝันเฟื่อง    ต้องฝึกฝันแล้วลงมือทำ เพื่อให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์    ว่าจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร    มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะใช้นำไปสู่ความสำเร็จ    หากทำไม่สำเร็จ ได้รับข้อเรียนรู้อะไรบ้าง

จินตนาการแบบฝันเฟื่องเพื่อโอ้อวดว่าตนคิดเก่ง    ไม่ใช่จินตนาการในความหมายของบันทึกนี้   และการเรียนรู้ที่นักเรียน/นักศึกษา มีเป้าหมายเพื่อโอ้อวดว่าตนเรียนเก่งเหนือคนอื่น    ไม่ใช่การศึกษาแบบที่พึงประสงค์ในยุคนี้    เพราะมันไม่ส่งเสริมให้ผู้นั้นเรียนรู้เป็นทีม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ    และไม่ส่งเสริมให้เจ้าตัวเรียนสู่เป้าหมาย “รู้จริง” (mastery learning)

โปรดสังเกตว่า เป้าหมายของการเป็นคนเรียนเก่ง    กับเป้าหมายเรียนแล้วรู้จริง เป็นคนละสิ่งกัน

และจินตนาการแบบฝันเฟื่อง  กับฝันเพื่อลงมือปฏิบัติ ก็เป็นคนละสิ่ง    ให้ผลต่อการเรียนรู้แบบรู้จริงแตกต่างกันเหมือนฟ้ากับดิน

มนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็นคนที่มีดีแตกต่างจากคนอื่น    ต้องเรียนรู้เพื่อฝึกให้ส่วนที่เป็น “เพชร” ของตนได้รับการเจียระไนออกมา    โดยที่หลักการศึกษาสมัยใหม่บอกว่า คนเราเป็น “เพชร” ทุกคน    แต่แตกต่างกัน

การศึกษาที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าจินตนาการ กล้าเอาไปทดลองทำ    จะช่วยให้เขาเผยส่วนที่เป็น “เพชร” ของเขาออกมา    เอามาเจียระไนด้วยการฝึกฝนต่อเนื่อง    จนกลายเป็น “ความแตกต่าง” ที่ตนมี เพื่อการทำมาหากิน เพื่อการดำรงชีวิต ที่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ต่อสังคม

คนที่ค้น “เพชร” ของตนพบ    จะเป็นคนที่มั่นใจตนเอง  เคารพตนเอง    และพร้อมที่จะเคารพผู้อื่น เคารพความแตกต่าง    นี่คือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของการเป็นมนุษย์แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีความสุขในชีวิต

John couch เริ่มการบรรยายด้วย quote จาก Albert Einstein ว่า " Every body is a genius. But if you judge a fish by its ability to climb a tree, it will live its whole life believing that it is stupid."

ในตอนหนึ่งของการบรรยาย เขาบอกว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ เรียนแบบ feel-imagine-do-share โดยเขาอ้าง Dale's Cone of Experience ซึ่งคล้ายคลึงกับ Learning Pyramid มาก

 

วิจารณ์ พานิช

๓ ต.ค. ๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:38 น.
 

มิติใหม่ของการเรียนรู้

พิมพ์ PDF

บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว

 

เขาบอกว่ามิติใหม่นี้มี ๕ ด้าน ที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่

 

New Learners นักศึกษาในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง หากมองจากมุมของโลกเทคโนโลยี เพื่อการติดต่อสื่อสาร (และการเรียนรู้)    เขาบอกว่าคนที่เข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ส่วนใหญ่เกิดปี ค.ศ. 1995   ซึ่งในช่วงชีวิตได้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ ตามลำดับดังนี้   เกิด Google เมื่ออายุ ๓ ขวบ, เกิด iPod เมื่อายุ ๖ ขวบ, เกิด Facebook เมื่ออายุ ๙ ขวบ, เกิด Twitter เมื่ออายุ ๑๑ ขวบ, เกิด iPhone เมื่ออายุ ๑๒ ขวบ, เกิด App เมื่ออายุ ๑๓ ขวบ, และเกิด iPad เมื่ออายุ ๑๕

 

สภาพเช่นนี้บอกเราว่า เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนรุ่นก่อนเรียน   และการศึกษาต้องเตรียมเขาออกไปเผชิญโลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และคาดไม่ได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร    การเรียนรู้ต้องสนุก ท้าทาย และให้คุณค่าอย่างชัดเจน นักเรียนจึงจะเรียน

 

New Connections เวลานี้โลกเป็นโลกแห่งการเชื่อมต่อ   นักเรียน/นักศึกษาอยู่กับการเชื่อมต่อวันละ ๒๔ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๗ วัน   ICT ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยี แต่ได้กลายเป็นระบบนิเวศในชีวิตของเด็ก   หรือได้เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของชีวิตเด็กโดยสิ้นเชิง    โดยที่ปัจจุบันเนื้อความรู้หาง่าย จาก connection   เกิดระบบนิเวศที่ความรู้มาก และสับสน ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด   หรืออันไหนถูกในสถานการณ์ไหน    อีกอันหนึ่งถูกในสถานการณ์ที่แตกต่าง อย่างไร

 

New Content เนื้อหาความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มในยุคปัจจุบัน คือเนื้อหาที่มีบริบทแนบอยู่ด้วย    พลัง ไอซีที ได้ทำให้สามารถเสนอเนื้อหาที่มีบริบทได้หลากหลายช่องทาง    เช่นของ แอ๊ปเปิ้ล มี iTunes U 600,000 รายการ, iBooks 1.8 ล้านรายการ, Learning App 65,000 รายการ

 

เขาอวด iBook เล่มแรกสำหรับการศึกษาชื่อ E.O. Wilson’s Life on Earth ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ฟรี ที่นี่

 

เขาบอกว่า ด้วยพลังของ iBook Author software นักเรียนสามารถพิมพ์หนังสือขายผ่านช่องทาง iTune โดยได้รับค่าลิขสิทธิ์ร้อยละ ๗๐

 

New Communities เป็นชุมชนเรียนรู้ในชั้นเรียน   และกระจายออกไปนอกชั้นเรียน และทั่วโลก    เปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ได้มากกว่าที่เราคิด   ด้วยพลังสนับสนุนจาก ไอซีที

 

แน่นอนครับ  เขาต้องยกตัวอย่างว่า iPad เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิด New learning communities อย่างไร   และผมคิดว่า นี่คือโอกาสที่วงการศึกษาทั่วโลกจะหาทางร่วมมือกับบริษัท ไอซีที พัฒนารูปแบบที่เหมาะสม ต่อประเทศของตน   ผมฝันอยากให้ท่านเลขาธิการ กกอ. ท่านใหม่ รศ. ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ จับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

New Challenges แน่นอนว่า ความท้าทายใหม่มีขึ้นได้ตลอดไปไม่สิ้นสุด    แต่ที่เขาเอามาบอกเราคือ Challenge Based Learning ที่ Apple พัฒนาเทคโนโลยีและ learning platform ขึ้นมาช่วยทำให้เกิด collaborative learning ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก   ที่การเรียนรู้เป็นจุดบรรจบหรือ synergy กันระหว่าง content – community – context

 

ผมได้เรียนรู้ทฤษฎีหรือมุมมอง SAMR ในการใช้ ไอซีที เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้    ที่เรียกว่า Transformative Learning และ TPCK ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักเทคโนโลยีใช้มองความรู้และการเรียนรู้    เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี (และธุรกิจของตน) ให้สนอง New Learners   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสร้าง Pedagogocal process ที่ตรงใจผู้เรียน ที่แตกต่างกัน    และจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ    โดยเป้าหมายในยุคต่อไปคือ Targeted / Individualized Pedagogy  ซึ่งเป็นคำที่เลียนแบบ Targeted / Individualized Therapy    ต่อไปการเรียนรู้จะมี ICT ช่วยให้เป็นการเรียนแบบ “จัดให้เหมาะสมกับแต่ละคน” (tailor-made)    แต่จะยังคงใช้พลังการเรียนรู้เป็นทีม คือ Learning Community ไว้

 

การซักถามนำไปสู่ปัญหาโลกแตกในสังคมไทย คือจะเปลี่ยนอย่างไร    คำตอบก็เป็นคำตอบมาตรฐาน คือ Visionary Leadership ที่จัดการให้เกิดความเป็นเจ้าของการเปลี่ยนแปลง(ownership)    ซึ่งจะมีกรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน UAE   อยู่ในบันทึกต่อไป

 

ประเด็นประทับใจยิ่งของผม คือวิธีมองการเรียนรู้ และเทคโนโลยี เป็นระบบนิเวศ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:42 น.
 

กรณีตัวอย่าง เปลี่ยนโฉมการเรียนรู้ สู่ Mobile Learning ที่ UAE

พิมพ์ PDF

บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ Jace Hargis   ต่อจากการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว    โดยที่ John Couch เล่าหลักการ ของ TPCK & SAMR    ส่วน Jace Hargis เล่าการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง

 

เป็นการเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นราวสายฟ้าแลบ ที่ Higher Colleges of Technology ประเทศ สาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE)    ในเวลาเพียง ๑ ปี ก็มีผลมาเล่าให้เราฟัง

 

เป็นเรื่องราวของ change management ของการจัดการเรียนรู้    ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็วรุนแรง    โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใส่ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์   รวมทั้งมีทรัพยากร และร่วมมือกับ Apple ในการประยุกต์ใช้ TPCK & SAMR ตามแนวของ Apple    โดยเขา import ตัว Jace มาจากสหรัฐอเมริกามาทำหน้าที่ College Director เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้โดยเฉพาะ

 

นักศึกษาทุกคนได้รับแจก iPad คนละเครื่อง   สำหรับเป็นเครื่องมือ mobile learning & connected learning   เรื่องราวการเริ่มโครงการ อ่านได้ ที่นี่

 

โดยมีแนวทางและเครื่องมือของการทำงานคือ

  • Engagement  ตัวอาจารย์ และนักศึกษา
  • Progressive environment
  • TPCK & SAMR

 

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการจัดการ เขาจัดการโดย iPD Model (PD = Project Development)    ซึ่งประกอบด้วย

  • iChampions   สร้าง critical mass ของอาจารย์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    พบกันทั้ง online & offline
  • iCelebrate   เป็น non-conference meeting เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ interact กัน โดยนำเสนอคนละ ๑๕ นาที    จัดปีละ ๒ ครั้ง    ครั้งละ ๘๐๐ คน    จากสถานที่หลายที่ สื่อสารกันผ่าน   Videoconference   ฟังแล้วผมนึกถึงกิจกรรม KM    อ่านรายงานเรื่อง iCelebrate ได้ ที่นี่
  • iCommunicate   ผ่านทาง http://ipads.hct.ac.ae/
  • iSoTL  ส่งเสริมกิจกรรม Scholarship of Teaching and Learning ดังจะเห็นผลงานตีพิมพ์ดังกล่าวข้างล่าง

 

เขาบอกว่า ในส่วนของอาจารย์ สิ่งที่อาจารย์ได้อย่างชัดเจนคือ collaborative PD   ซึ่งก็คือ PLC ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้อย่างเป็นทางการนั่นเอง

 

ส่วนสำคัญด้านนักศึกษาที่เขาเรียนรู้คือ   ต้องเปลี่ยนมุมมองของนักศึกษาต่อการเรียนรู้ (Change student perception on learning.)   ว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นคุณต่อนักศึกษามากกว่าการเรียนแบบ Passive Learning.

 

ในเวลาเพียง ๑ ปี มีผลงานวิชาการด้านการเรียนการสอนตีพิมพ์ใน peer-reviewed journal ถึง ๙ เรื่อง     ด้วยความสนใจวารสารเหล่านี้ ผมจึงจดชื่อมาดังนี้

 

เขาบอกว่า ยังมีงานข้างหน้ามากมาย    ได้แก่

  • Content creation system
  • Formative assessment
  • Context creator
  • Gamification
  • Learning analytics
  • Communty analysis

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:45 น.
 


หน้า 378 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8628997

facebook

Twitter


บทความเก่า