Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เรียนอ่านโดยการรีไซเคิลสมอง

พิมพ์ PDF
กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นใหม่ (cultural evolution) คือการอ่านเขียนตัวอักษรและสัญญลักษณ์ต่างๆ นั้น สมองมนุษย์ไม่ได้มีวิวัฒนาการเตรียมไว้ มนุษย์จึงต้องใช้สมองส่วนเก่า ที่ใช้เพื่อการอื่น เปลี่ยนมาใช้ในกิจกรรมการอ่าน จึงกล่าวได้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน เป็นกระบวนการ รีไซเคิลสมองส่วนหนึ่ง เอามาใช้เพื่อการนี้

เรียนอ่านโดยการรีไซเคิลสมอง

บทความเรื่อง The Brain and the Written World ได้จากการสัมภาษณ์ Stanislas Dehaene โดย Gareth Cook    ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2010    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  ช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของสมอง กับสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ คือตัวอักษร

Stanislas Dehaene เป็นนักวิทยาศาสตร์ดำเนินการทดลองด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ (Experimental Cognitive Psychology) ในฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงมาก    เขาเขียนหนังสือ The Number Sense : How the Mind Creates Mathematics (1999) และ Reading in the Brain : The Science and Evolution of Human Invention(2009)

เขาอธิบายว่า กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นใหม่ (cultural evolution) คือการอ่านเขียนตัวอักษรและสัญญลักษณ์ต่างๆ นั้น   สมองมนุษย์ไม่ได้มีวิวัฒนาการเตรียมไว้    มนุษย์จึงต้องใช้สมองส่วนเก่า ที่ใช้เพื่อการอื่น   เปลี่ยนมาใช้ในกิจกรรมการอ่าน   จึงกล่าวได้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน เป็นกระบวนการ รีไซเคิลสมองส่วนหนึ่ง เอามาใช้เพื่อการนี้

สมองส่วนนี้เขาตั้งชื่อว่า “กล่องอักษร”  (letterbox)   หรือเรียกว่า พื้นที่รับรู้ภาพรูปร่างคำ (visual word – from area)    อยู่ที่สมองซีกซ้ายด้านล่าง    เขาค้นพบสมองส่วนนี้โดยการทดลอง ให้คนอ่านหนังสือ และตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง    แล้วพบว่าสมองส่วนนี้ “สว่าง” ทุกคนและทุกคราวไป

สมองส่วนนี้ใช้รับรู้ภาพ แต่ไม่รู้ว่าเดิมใช้ทำอะไร    แต่เมื่อมนุษย์คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมา     สมองส่วนนี้ก็ถูกฝึกให้เข้าทำหน้าที่   นั่นคือในเด็กที่กำลังหัดอ่าน สมองส่วนนี้กำลังถูกฝึกให้ทำหน้าที่ “กล่องอักษร”

สมองมนุษย์มีพื้นที่จำกัด   เมื่อมนุษย์คิดค้นตัวอักษรขึ้นมา สมองไม่มีที่ว่างเผื่อไว้    ต้องรีไซเคิลสมองส่วน letterbox มาใช้งาน    เพื่อฝึกสมองให้ได้ผลดีที่สุด เราจึงต้องมีวิธี unlearn หน้าที่เดิมของส่วน letterbox   เพื่อให้มา learn หน้าที่ใหม่ได้อย่างดี

ทีนี้ก็มาถึงความรู้ที่ได้จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ว่าสอนอ่านแบบไหนได้ผลดีกว่า   ระหว่างแบบเก่า ที่สอนตัวอักษร และวิธีประสมคำ ที่เรียกว่าวิธี grapheme-phoneme method   กับวิธีเรียนเป็นคำๆ หรือทั้งประโยค (whole-language method) ที่เป็นวิธีสมัยใหม่   คำตอบคือวิธีเรียนตัวอักษรและประสมคำดีกว่าครับ

คำอธิบายคือ วิธีเรียนตัวอักษร และประสมคำ เป็นวิธีฝึกตรงสมองส่วน letterbox   แต่วิธีเรียนเป็นคำหรือประโยค สัญญาณจากสายตาอาจสับสน แล่นไปที่สมองซีกขวา ส่วนที่พ้องกับส่วน letterbox

เพิ่มเติมวันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๖

วันที่ ๘ ต.ค. ๕๖ ผมพบครูใหญ่ด้านภาษาศาสตร์ท่านหนึ่งของบ้านเมือง   คือ ศ. ดร. ปราณี กุลละวนิชย์   จึงเล่าเรื่องนี้ และเอาบทความต้นฉบับในหนังสือ The Science of Education ให้ท่านอ่าน    ท่านดีใจมาก ว่าเป็นข้อมูลหลักฐานที่ท่านสังเกตเห็นมานานแล้ว   ว่าเด็กที่เรียนภาษาไทยแบบใหม่ ที่ไม่เรียนผสมตัวสะกด จะอ่านตัวหนังสือที่ซับซ้อนไม่ออก   เช่นนกกาเหว่า เขาจะอ่านว่า นก-กา-เห-ว่า

วันที่ ๙ ต.ค. ๕๖ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนเพลินพัฒนา   ถามครูใหม่ว่า โรงเรียนเพลินพัฒนาสอนภาษาไทยแบบไหน    ได้รับคำตอบว่าใช้ทั้งสองแบบ    คือตอนแรกสอนแบบเรียนเป็นคำๆ    ต่อมาในชั้นสูงขึ้น จึงสอนการประสมคำด้วย

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖ เพิ่มเติม ๑๑ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:49 น.
 

คำนำหนังสือ การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF
การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั้น หลายส่วนแตกต่างแบบตรงกันข้าม กับการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย โดยตัวการที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและพลิกผัน รวมทั้งชุดความรู้ที่เคยเป็นความจริงและใช้ได้ผล ก็จะหมดสภาพไป มีความรู้ชุดใหม่ขึ้นมาแทนที่ เป้าหมายหลักของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จึงไม่ใช่ตัวเนื้อหรือสาระความรู้ แต่เป็นการฝึกฝนทักษะ (และฉันทะ) ของการเรียนรู้ ต่อเนื่องตลอดชีวิต

คำนำหนังสือ การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑

 

คำนำ

หนังสือ การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑

........................

 

หนังสือเล่มนี้ถอดจากคำบรรยายในเวลา ๑ ชั่วโมง   แก่ครูในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้เพื่อวางรากฐานการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   เข้ากับหลักการเรียนรู้แนวใหม่ หรือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑   ซึ่งเมื่อจบการบรรยายแล้ว คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล บอกผมทันทีว่า ต้องถอดคำบรรยายออกพิมพ์เผยแพร่    เธอบอกว่า เป็นการบรรยายหลักการของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ชัดเจน ในเวลาอันสั้น   ควรเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

เนื่องจากการบรรยายครั้งนั้น เน้นการพูดกับครู เน้นบทบาทของครูเป็นหลัก   หนังสือเล่มนี้จึงพุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และเปลี่ยนบทบาทของครู เป็นหลัก

ในหน้า ๒๙ - ๓๓ กล่าวถึงสาระสำคัญ ๗ ประการของการสอนที่ดีในหนังสือ How Learning Works นั้น   บัดนี้ มูลนิธิสยามกัมมาจลได้นำสาระการตีความหนังสือเล่มนี้ พิมพ์เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร สามารถ ดาวน์โหลดฟรีได้ที่http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=880

ที่จริงเรื่องการสร้างการเรียนรู้ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของคนยุคใหม่นั้น   ยังจะต้องมีการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดยั้ง    สาระในหนังสือเล่มนี้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง   แต่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี   ที่ผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จะได้นำไปตีความต่อ และนำไปปฏิบัติหรือทดลองใช้ ให้เหมาะสมต่อแต่ละสภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน และสังคม    อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ และค้นพบวิธีใหม่ๆ ว่าด้วยวิธีจัดการเรียนรู้ที่ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา   ที่ดีกว่าผลสัมฤทธิ์ในปัจจุบันอย่างมากมาย

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั้น หลายส่วนแตกต่างแบบตรงกันข้าม กับการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย    โดยตัวการที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและพลิกผัน    รวมทั้งชุดความรู้ที่เคยเป็นความจริงและใช้ได้ผล ก็จะหมดสภาพไป    มีความรู้ชุดใหม่ขึ้นมาแทนที่   เป้าหมายหลักของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จึงไม่ใช่ตัวเนื้อหรือสาระความรู้    แต่เป็นการฝึกฝนทักษะ (และฉันทะ) ของการเรียนรู้ ต่อเนื่องตลอดชีวิต

ผมขอขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ออกเผยแพร่   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณศศินี ลิ้มพงษ์ และคุณสุจินดา งามวุฒิพร บรรณาธิการ   รวมทั้งคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้ริเริ่มให้จัดทำหนังสือเล่มนี้   คุณงามความดีและบุญกุศลจากผลงานชิ้นนี้ ขอยกให้แก่ท่านทั้งสามนี้ทั้งหมด    และหากท่านผู้อ่านท่านใดอ่านแล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผลดีต่อนักเรียนนักศึกษา   ก็ขอให้ได้รับบุญกุศลยิ่งใหญ่ คือเกิดความสุข ความชุ่มชื่นหัวใจ จากการทำความดีนี้   ผมเชื่อว่าสะเก็ดเล็กๆ ของบุญกุศลเหล่านี้สามารถรวมพลังกัน สร้างคุณค่ายิ่งใหญ่ต่อการเปลี่ยนแปลงวงการศึกษาไทยได้

วิจารณ์ พานิช

............................

download หนังสือได้ ที่นี่

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:54 น.
 

ประเทศไทยกำลังเสื่อมและล้าหลัง

พิมพ์ PDF
รัฐบาลใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นนโยบายที่เรียกได้ว่า ไม่รับผิดชอบต่อการคลัง จึงไม่แน่ใจนักว่า เศรษฐกิจมหภาคจะอยู่นิ่งได้นานแค่ไหน ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ปั่นป่วน ผันผวนมาก อีกทั้งยังประสบภาวะส่งออกลดลง หนี้ครัวเรือน และหนี้ภาครัฐสูงขึ้น

ประเทศไทยกำลังเสื่อมและล้าหลัง

อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๑๗ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 11:10 น.
 

พลวัตของความยากจน

พิมพ์ PDF
เนื้อหาในเล่มนี้ ได้นําเสนอความยากจนของครัวเรือนชาวนาในบริบทเชิงพลวัต โดยอาศัย ข้อมูลการสํารวจครัวเรือนชาวนาในปี 2531 และปี 2552 มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยมีกรอบ แนวคิดว่า คนจนไม่ได้จนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อเวลาผ่านไป คนจนอาจก้าวพ้นปัญหาความ ยากจนที่เคยเผชิญอยู่ได้ แต่ในอีกลักษณะหนึ่งคนที่ไม่ได้เป็นคนจนในเวลาหนึ่งแต่กลับต้องเผชิญกับ ปัญหาความยากจนเมื่อเวลาผ่านไป การสร้างข้อความรู้เพื่อการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ดังกล่าว จะทําให้เข้าใจถึงสาเหตุของการที่บุคคลต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนของครัวเรือน ชาวนาได้ดียิ่งขึ้น

พลวัตของความยากจน

รายงานผลการวิจัยเรื่องพลวัตของความยากจน ซึ่งอ่านหรือดาวน์โหลดได้ ที่นี่ ประกอบกับคำวิจารณ์ ของ ศ. ดร. อารยะ ปรีชาเมตตาที่นี่ ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับความยากจนในประเทศไทยดีมาก   จึงนำมาเผยแพร่ต่อ   จะเห็นว่า ยังมีโอกาสทำงานวิจัยเรื่องความยากจนในสังคมไทยได้อย่างมากมาย

ขอเพิ่มเติมว่า ในวงการระบบสุขภาพไทย    เราเน้นสร้างระบบประกันสุขภาพ ที่ช่วยป้องกันวิกฤติชีวิตหรือความล้มละลายทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากความเจ็บป่วย

วิจารณ์ พานิช

๑ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 11:05 น.
 

รัฐบาลจอมหลอกลวง

พิมพ์ PDF

เนื้อหาการแถลงข่าวชมรมแพทย์ชนบทวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556

ต่อประเด็นการนัดชุมนุมวันที่ 20 พ.ย.56 ว่าทำไมต้องไปชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี

แถลงโดย นายแพทย์ปวิตร วณิชชานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล

รองประธานชมรมแพทย์ชนบท

จากการที่ชมรมแพทย์ชนบทได้นัดชุมนุมใหญ่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นี้ ได้มีคำถามสำคัญที่ชมรมแพทย์ชนบทขอชี้แจงต่อสาธารณะต่อประเด็นคำถามที่ว่า “ทำไมต้องนัดไปชุมนุมแสดงอารยะขัดขืนที่หน้าบ้านายกยิ่งลักษณ์ชินวัตร ทำไมไม่ไปชุมนุมที่กระทรวงสาธารณสุขและการชุมนุมในครั้งนี้ต้องการอะไร”

นายแพทย์ปวิตร วณิชชานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล รองประธานชมรมแพทย์ชนบทได้แถลงข่าวแจ้งว่า “การนัดชุมนุมครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการขับเคลื่อนคัดค้านนโยบาย P4P และขอเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่เอา รมต.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เมื่อ5 เดือนที่แล้วมา เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้ดื้อรั้นผลักดันนโยบายเก็บแต้มแลกเงินด้วยการใช้มาตรการ P4P, ยกเลิกระเบียบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย, การพยายามยึดแทรกแซงและฮุบ สปสช., การปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น แต่ในครั้งนั้นรัฐบาลได้ทูตและส่งเทียบมาเชิญ ขอให้มีการเจรจากันที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 6 มิถุนายน 2556 โดยมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นคนกลาง จากการเจรจาก็ทำให้ได้ข้อตกลง ที่มีการนำเข้ารับทราบเป็นมติ ครม.ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จังหวัดกำแพงเพชรในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 โดยให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตามข้อตกลงให้เสร็จใน 60 วันและในช่วงสามสี่เดือนนี้ กระทรวงยังเดินหน้านโยบายที่ผิดพลาด การบรรจุวิชาชีพนักเรียนทุนให้เป็นข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม และการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ที่มีกฎกติกาจากส่วนกลางที่คนทำงานดีกลับไม่ได้บรรจุ รวมทั้งการที่กระทรวงสาธารณสุขมีแนวทางในการฮุบงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาจัดสรรเองด้วย MOC ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งทุกนโยบายล้วนมีปัญหา สร้างความแตกแยกและความปั่นป่วนจนเจ้าหน้าที่ไม่เป็นอันทำงานทั้งสิ้น”

นายแพทย์ปวิตร  กล่าวเสริมว่า “บัดนี้เวลาได้ล่วงเลยไปแล้วกว่า 160 วันแล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้รักษาสัจจะ ไม่เคารพมติการเจรจา ไม่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี แพทย์ชนบทจึงมีความเห็นร่วมกันในการทวงสัจจะที่กระทรวงสาธารณสุขละเลย และเนื่องจากข้อตกลงนี้เป็นมติ ครม. เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อการไม่รักษาสัจจะของ รมต.ประดิษฐและปลัดณรงค์ สหเมธาพัฒน์ นายกรัฐมนตรีผู้ดำริให้มีการเจรจา จึงควรได้รับรู้ว่า รมต.ประดิษฐและปลัดณรงค์สมคบกันไม่ดำเนินการตามมติ ครม.ใหม่ ประกอบกับทำเนียบรัฐบาลเป็นเขตหวงห้ามการชุมนุมตาม พรบ.ความมั่นคง การมาชุมนุมที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ตามที่เคยมีการนัดหมายไว้แล้วยกเลิกไป จึงมีความชอบธรรมและเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการแสดงเจตนารมย์ในครั้งนี้ส่วนการที่ไม่ไปที่กระทรวงสาธารณสุขนั้น เพราะไม่มีประโยชน์ใดที่จะไปเรียกร้องให้ดำเนินการตามมติ ครม.ใหม่ จากคนที่ดื้อด้านไม่ทำตามมติ ครม.เอง ไม่มีประโยชน์ในการไปแสดงออกหรือพูดคุยกับคนที่ไม่มีสัจจะ เพราะแม้จะรับปากแต่เราก็ไม่เชื่ออีกต่อไป”

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ปวิตร กล่าวทิ้งท้ายว่า “ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองที่มีความขัดแย้งสูงยิ่ง และหลายท่านแสดงความห่วงกังวลมาด้วยความหวังดี ชมรมแพทย์ชนบทเข้าใจดีว่า การชุมนุมยืดเยื้อมีความเสี่ยงสูงและยากต่อการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นการชุมนุมที่หน้าบ้านนายกรัฐมนตรี จึงจะเป็นการชุมนุมด้วยสันติที่ไม่ยืดเยื้อ ไม่ค้างคืน และเมื่อประกาศเจตนารมณ์เสร็จสิ้น สมาชิกแพทย์ชนบทและสมาชิกโรงพยาบาลชุมชนใครจะเดินทางไปเข้าร่วมการชุมนุมแสดงอารยะขัดขืนที่เวทีอื่นใดก็เป็นเสรีภาพส่วนบุคคล”

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 11:13 น.
 


หน้า 379 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8629594

facebook

Twitter


บทความเก่า